จับอินเดีย ลอบนำ "เขี้ยวหมู" ย้อมแมวขายเป็น "เขี้ยวเสือ" ของขลัง

สังคม
13 มิ.ย. 66
10:36
894
Logo Thai PBS
จับอินเดีย ลอบนำ "เขี้ยวหมู" ย้อมแมวขายเป็น "เขี้ยวเสือ" ของขลัง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปศุสัตว์-ด่านตรวจสุวรรณภูมิ จับชาวอินเดียคาสนามบิน พบลอบน้ำเข้า "เขี้ยวหมู" หนัก 140 กก.และหนังโค สารภาพนำมาทำเครื่องรางของขลังย้อมแมวคนซื้อว่าเป็น "เขี้ยวเสือ" ถูกจับข้อหาลอบนำซากสัตว์เข้าไทย

วันนี้ (13 มิ.ย.2566) นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายสัตวแพทย์ชุติพนธ์ ศิริมงคลรัตน์ ผอ.กองสารวัตรและกักกันและนายสัตวแพทย์ยุทธนา โสภี หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบความผิดปกติของกระเป๋า 6 ใบที่มากับเที่ยวบิน ซึ่งมีต้นทางจากประเทศอินเดีย

โดยลักษณะของกระเป๋ามีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก จึงขอเปิดตรวจค้นและพบการลักลอบนำซากสัตว์ประกอบด้วย หนังโค 60 กิโลกรัม และเขี้ยวหมูจำนวน 140 กิโลกรัม น้ำหนักรวม 200 กิโลกรัม

ชาวอินเดียเจ้าของกระเป๋า สารภาพว่าลักลอบนำเข้า มาทำเป็นเครื่องประดับ และเครื่องรางของขลัง ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าทำมาจากเขี้ยวเสือหรือหนังเสือ
ชาวอินเดีย ลอบนำเขี้ยวหมู น้ำหนัก 140 กก.อ้างมาย้อมแมวขายเป็นเขี้ยวเสือ เครื่องรางของขลัง

ชาวอินเดีย ลอบนำเขี้ยวหมู น้ำหนัก 140 กก.อ้างมาย้อมแมวขายเป็นเขี้ยวเสือ เครื่องรางของขลัง

ชาวอินเดีย ลอบนำเขี้ยวหมู น้ำหนัก 140 กก.อ้างมาย้อมแมวขายเป็นเขี้ยวเสือ เครื่องรางของขลัง

โดยเจ้าหน้าที่นำตัวเจ้าของกระเป๋าส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 มาตรา 31 มีโทษตามมาตรา 68 ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนของกลางทั้งหมดได้ยึดไว้ทำลายเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจปนเปื้อนมากับซากสัตว์ดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ยึดหนังโค 60 กิโลกรัมที่ชาวอินเดียลอบขนผิดพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์

เจ้าหน้าที่ยึดหนังโค 60 กิโลกรัมที่ชาวอินเดียลอบขนผิดพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์

เจ้าหน้าที่ยึดหนังโค 60 กิโลกรัมที่ชาวอินเดียลอบขนผิดพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าสัตว์มีชีวิต หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรอย่างเข้มงวด และต่อเนื่องในทุกช่องทาง เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคระบาดสัตว์ ซึ่งซากสัตว์ดังกล่าวอาจเป็นพาหะของโรคปาก และเท้าเปื่อย โรคลัมปีสกิน และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภารกิจ “บีเกิล” นักสืบ 4 ขาสารวัตรจับกลิ่น

รู้จัก “บีเกิล” 4 ขาเพื่อนซี้ทีมปราบสารวัตรจับกลิ่น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง