"จักรวาลส่วยในสังคมไทย" เปิดขบวนการจ่ายเงินลับ

อาชญากรรม
13 มิ.ย. 66
16:32
772
Logo Thai PBS
"จักรวาลส่วยในสังคมไทย" เปิดขบวนการจ่ายเงินลับ
ไทยพีบีเอส จัดรายการพิเศษ "จักรวาลส่วยในสังคมไทย" ร่วมพูดคุย 7 คน เพื่อหาทางออกกับปัญหาที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน

วันนี้ (13 มิ.ย.2566) ไทยพีบีเอส จัดรายการพิเศษ "จักรวาลส่วยในสังคมไทย" โดยมีผู้ร่วมพูดคุย 7 คน ได้แก่ รศ.ดร.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล, พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร ที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย, นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช., นายจีระศักดิ์ น้อยก่ำ ประธานชมรมเครือข่ายผู้ค้าลอตเตอรีรายย่อย จ.เลย, พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) รักษาราชการแทนผู้บังคับการตำรวจทางหลวง และ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

ปัญหาส่วยอยู่คู่สังคมไทยมานาน

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปัญหาส่วยมีจริงและไม่ใช่เพิ่งมี ไม่ใช่มาเกิดเมื่อนายวิโรจน์ ลักขณาอดิสร ออกมาแฉ จากผลการศึกษา ปัญหาส่วยเป็นปัญหาที่อยู่คู่สังคมไทยมา 30-40 ปีแล้ว

นอกจากนี้ จากการการศึกษา ส่วยรูปแบบสติกเกอร์ในปัจจุบันมีการพัฒนามาแล้ว จากการจ่ายสินบนในการบรรทุกน้ำหนักเกิน อาจพัฒนามาเป็นพวงกุญแจ การเปิดไฟกระพริบ การให้เลขทะเบียนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปล่อยผ่าน แต่ด้วยการที่การขนส่งต้องการความรวดเร็ว ฉะนั้นส่วยสติกเกอร์จึงไม่ต้องเข้าไปในด่าน ไม่ต้องชะลอรถ เพราะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นรูปแบบที่แพร่หลาย คือ สติกเกอร์ เพราะเห็นได้ง่าย รวมถึงพวงกุญแจที่วางไว้หน้ารถเพื่อให้รู้กันระหว่างผู้จ่ายส่วยและผู้รับส่วย

รศ.อังคณาวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาส่วย คือ ปัญหาการคอร์รัปชันรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็มีความหวังว่าจะแก้ไขได้ เพียงแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน และภาครัฐที่จริงใจแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน หรือปัญหาคอร์รัปชัน ไม่ได้มีเพียงในไทย แต่ต่างประเทศก็มี ซึ่งมีความมั่นใจว่าแก้ไขได้อย่างแน่นอน วิธีการคือการนำเทคโนโลยีในการตรวจชั่งน้ำหนักแบบเท่าเทียมมาใช้

ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินกับส่วยต้องแยกออกจากกัน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา มีปัญหาบรรทุกน้ำหนักเกิน แก้ไขโดยเพิ่มโทษให้ผู้ที่บรรทุกน้ำหนักเกิน เพราะที่ผ่านมาโทษปรับไม่สูงมาก คนจึงรู้สึกว่าคุ้มที่จะกระทำผิดและสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า ฉะนั้นจึงมีการแก้โทษและทำให้ได้ผล เพราะไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

ต้องดูว่าปัญหาคืออะไร การที่จะไปเพิ่มโทษของการบรรทุกน้ำหนักเกินนั้นจะแก้ปัญหาส่วยได้หรือไม่ คำตอบคือแก้ปัญหาส่วยและแก้ปัญหาการทุจริตไม่ได้ เพราะการลงโทษทางอาญาอยู่ขั้นตอนท้ายสุดของกระบวนการยุติธรรม

รศ.อังคณาวดี ยังกล่าวว่า กรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินจะต้องตรวจชั่งน้ำหนัก จึงจะรู้ว่าฝ่าฝืนและบรรทุกน้ำหนักเกิน จากนั้นจะถูกส่งให้พนักงานสอบสวน อัยการและศาล จึงจะถูกลงโทษทางอาญา โดยโทษทางอาญาอยู่ปลายกระบวนการ ซึ่งการจ่ายส่วยทำให้เขาไม่ถูกชั่งน้ำหนักตั้งแต่แรก โอกาสที่จะถูกลงโทษทางอาญาสูงนั้นแทบไม่มีหรือมีน้อยมาก การแก้ไขปัญหาทุจริตต้องแก้ที่ต้นตอของปัญหาคือ การจ่ายส่วย

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว

แก้ปัญหาน้ำหนักเกิน ต้องใช้เทคโนโลยี

วิธีการแก้ปัญหาคือ การใช้เทคโนโลยี หากเปลี่ยนเป็นระบบให้รถบรรทุกถูกชั่งโดยระบบชั่งอัตโนมัติ เก็บข้อมูลน้ำหนักบรรทุก วัน เวลา สถานที่ในการกระทำผิด โดยข้อมูลจะถูกเก็บเข้าระบบ ไม่สามารถแก้ไขได้ ระบบจะแยกผู้ที่บรรทุกน้ำหนักเกินกับผู้ที่ปฏิบัติถูกต้อง ผู้กระทำผิดจึงจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ฉะนั้นคนขับจะรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นในการจ่ายส่วย เพราะที่ผ่านมาจ่ายส่วยเพราะจะได้ไม่ต้องชั่งน้ำหนัก

หากทุกคนชั่งน้ำหนักโดยเครื่องมือที่ไม่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ต้องยอมรับว่าระบบตรวจชั่งไม่เคยเปลี่ยนใช้มาหลายสิบปี ปัจจุบันมีเครื่องตรวจชั่งที่ราคาไม่สูง หากไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินด้วยและการจ่ายส่วยด้วยมาตรการที่นำมาแก้ไขปัญหาจะต้องแก้ไขปัญหาทั้ง 2 อย่างไปพร้อมกัน เช่น กระทรวงคมนาคม เคยแก้ปัญหาโดยใช้ทรักเลน (ช่องทางเดินรถเฉพาะรถบรรทุก) ซึ่งแก้ปัญหารถน้ำหนักเกินได้ แต่แก้ปัญหาส่วยไม่ได้ หรือการเพิ่มด่านชั่งน้ำหนัก โดยสามารถแก้ไขปัญหาน้ำหนักเกินได้ในบางสถานการณ์ แต่แก้ไขปัญหาส่วยไม่ได้

ปัญหาส่วยอยู่ในสังคมไทยมานาน จะต้องใช้หลายมาตรการในการแก้ไขปัญหา ทั้งการตรวจชั่งโดยเครื่องชั่งอัตโนมัติจะเป็นการปิดโอกาสทุจริตของเจ้าหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมาระบบเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ตรวจช่างน้ำหนัก ฉะนั้นต้องแก้ไขโดยใช้หลายมาตรการ

อ่านข่าว : "วิโรจน์" ชงออก กม.ป้องผู้ชี้เบาะแสทุจริต-เอาผิดตายยกรัง

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว ระบุ ปัญหาส่วยมีจริง

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว ระบุ ปัญหาส่วยมีจริง

รศ.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว ระบุ ปัญหาส่วยมีจริง

แนะใช้ Bridge Wim (B-Wim) แก้ปัญหาน้ำหนักเกิน

รศ.อังคณาวดี ยังกล่าวว่า ความเสียหายจากส่วยรถบรรทุก นอกจากจะมีความเสียหายของผู้ประกอบการทำตามกฎหมายที่บรรทุกตามพิกัดที่กำหนด และคนที่จ่ายส่วยสามารถบรรทุกโดยไม่มีขีดจำกัด

มูลค่าของส่วยที่เป็นเงินสะพัด ประมาณการน่าจะอยู่ที่หลักหมื่นล้าน ตัวเลขอาจไม่ชัดเจน เพราะไม่มีหน่วยงานไหนจัดเก็บข้อมูลเรื่องนี้ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ รัฐต้องนำภาษีซึ่งเป็นงบประมาณจากประชาชนปีละหมื่นล้านมาใช้ซ่อมแซมถนน จริง ๆ แล้ว ภาษีในการซ่อมแซมถนนเป็นสิ่งที่รัฐไม่ควรเสีย ซึ่งเราเสียมา 20-30 ปีแล้ว มูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท

"รัฐสูญเสียประโยชน์และโอกาสที่จะใช้งบประมาณก้อนโตในการพัฒนาประเทศ ทั้งการศึกษาและสาธารณสุข ทุกวันนี้ประชาชนต้องแบกรับภาระซ่อมแซมถนน โดยมีคนบางกลุ่มได้ประโยชน์คือผู้ประกอบการที่จ่ายส่วยและผู้ที่รับส่วย"

รศ.อังคณาวดี ยังกล่าวว่า ส่วยมีทั้งผู้ให้และผู้รับ ผู้ที่เกี่ยวข้องมีเจ้าหน้าที่ในหลายส่วน ส่วนผู้ประกอบการโดยสภาพแล้วควรเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะส่วยที่มีการฝักรากลึกในสังคม ผู้ประกอบการจะถูกผลักให้เข้าสู่การจ่ายส่วย เพราะผู้ประกอบการจะบรรทุกได้โดยไม่มีขีดจำกัด โดยผู้ประกอบการที่จ่ายส่วยสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ หรือ 90-100 ตัน ขณะที่ผู้ที่ทำตามกฎหมายบรรทุกน้ำหนักได้ 50.5 ตันเท่านั้น ซึ่งต้นทุนในการขนส่งไม่เท่ากัน หากอยากอยู่ในธุรกิจนี้ต่อไปก็ต้องหาวิธีแข่งขันกับคนอื่นให้ได้ต่อไป

ฉะนั้น การบรรทุกน้ำหนักเกินและการจ่ายส่วย คือมูลเหตุจูงใจทางธุรกิจทั้งนั้น ตรงกับการวิจัยในหลายประเทศ หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาส่วยได้ ผู้ประกอบการน้ำดีที่เคารพกฎหมายก็จะต้องออกจากตลาดนี้ไป เพราะแข่งขันไม่ได้ และถูกบังคับโดยระบบว่าต้องเข้าไปสู่ระบบนี้ ซึ่งจะทำให้มันใหญ่โตไปเรื่อยๆ

ปัญหาส่วยไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ แต่ต้องใช้ความจริงใจแก้ปัญหา และใช้มาตรการที่บังคับอย่างจริงจัง

ขณะที่มาตรฐานการสร้างถนนของไทยนั้นเหมือนสหรัฐอเมริกา (Asto) โดยถนนมีจุดคุ้มทุนภายในกี่ปี หากบรรทุกน้ำหนักมากไปก็จะทำให้ถนนเสียหาย ดังที่เห็นว่าเราซ่อมถนนบ่อยขึ้นทุกปี เพราะไปบรรทุกน้ำหนักเกินจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งงบประมาณซ่อมก็มหาศาล

รวมถึงการแก้ไขปัญหา ที่ได้มีการเสนอนั้นอาจไม่ได้แก้ที่ตรงสาเหตุ เช่น การสร้างด่านถาวร โดยด่าน 1 ด่าน มีค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดิน การสร้างอาคาร การติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ราว 50 ล้านบาท ต่อ 1 ด่าน รวมถึงยังมีค่าดำเนินการที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ 24 ชม. ค่าน้ำค่าไฟ ปีละหลายล้านบาท ซึ่งเมื่อมีการจ่ายส่วยรถรรทุกน้ำหนักเกินก็จะไม่เข้าด่าน ฉะนั้นคือการสูญเสียงบประมาณโดยที่ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรเลย

ขณะที่การใช้เทคโนโลยี มีเครื่องมือคือ Weigh in motion (Wim) และ Bridge Wim (B-Wim) ซึ่งเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักรถบรรทุกในขณะที่ยังเคลื่อนที่ จะทำให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยมาก โดยเฉพาะ Bridge Wim (B-Wim) ที่มีความคลาดเคลื่อนประมาณร้อยละ 10 โดยมีค่าใช้จ่ายติดตั้งตัวละประมาณ 10 ล้านบาท และค่าดูแลปีละ 100,000-200,000 บาท และไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐดูแล สามารถติดตั้งไว้ใต้สะพาน มีความแม่นยำสูงกว่า เพราะมีเรื่องความเร็วของรถ และการเปิดผิวถนนก็อาจจะกระทบต่อการจราจร รวมถึงน้ำท่วม

Bridge Wim (B-Wim) จะได้เปรียบกว่า โดยการติดไว้ใต้สะพาน รถบรรทุกอาจไม่รู้ รวมถึงการติดกล้อง และชั่งน้ำหนักลงเพลาว่าเกินหรือไม่ รวมถึงวัน เวลา สถานที่ โดยไม่ต้องเอาเจ้าหน้าที่ไปเกี่ยวข้อง ซึ่งจะปิดช่องทุจริตได้ แต่ต้องใช้หลายมาตรการประกอบกัน ซึ่งเรามองในส่วนของการตรวจชั่ง

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

"วิโรจน์" เรียกร้องคืนระบบยุติธรรมในราชการ

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า การออกมาตรวจสอบส่วยรถบรรทุก ไม่ได้เป็นการพุ่งชนอะไร แค่ใช้ตรรกะของมนุษย์ปกติในการตั้งคำถาม ว่า เหตุใดรถที่ติดสติกเกอร์ไม่ต้องเข้าด่านชั่ง วิ่งขวาได้ แบกน้ำหนักได้เยอะ แต่คนที่ถูกถามก็ได้แต่ยิ้ม ก้มหน้าก้มตา

นายวิโรจน์ ยังตั้งคำถามถึงปัญหาที่มายาวนานมากกว่า 9 ปี ทั้งที่ดูไม่มีอะไรมาก เชื่อว่าเป็นเพราะคุณธรรมในระบบราชการหายไป กลายเป็นระบบวิ่งเต้น ซื้อตำแหน่ง และตั๋ว ฝากตั้งแต่ระบบบนลงมา เรื่องส่วย คอร์รัปชัน ไม่มีทางแก้ได้ด้วยการปราบ แต่ต้องสร้างระบบคุณธรรมในระบบราชการ ต้องไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง วิ่งเต้น และไม่จำเป็นต้องเพิ่มโทษผู้กระทำผิด เพราะกฎหมายที่มีอยู่เพียงพอแล้ว

"คอร์รัปชันยังมี เพราะมีต้นทุนที่ต้องซื้อตำแหน่ง ยกตัวอย่างผู้กำกับสถานีตำรวจ จ่ายหลักสิบล้านบาท เอาระบบคุณธรรมกลับมาให้ได้ ต้นทุนของผู้บังคับบัญชาลดลง"

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

นายวิโรจน์ ยังกล่าวว่า ต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความภาคภูมิใจในการทำหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่ถูกเรียกมาแจกเป้าส่วยให้ไปทำ เพราะหลายคนไม่รับก็ไม่ได้ อาจถูกเพ่งเล็ง หรือสั่งย้าย รวมทั้งเสนอให้ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ แก้ปัญหาส่วย

เอาระบบคุณธรรมคืนสู่ระบบการแต่งตั้งโยกย้าย ลดกฎหมาย นำเทคโนโลยีมาใช้

นอกจากนี้ เห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่มากพอแล้ว และให้อำนาจเจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจมากเกินไป จึงต้องแก้เนื้อหาสาระที่ซับซ้อน ซ้ำซ้อน ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรีดไถ

ยกตัวอย่าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.การขนส่งทางบก อีกทั้งมีบทกำหนดโทษเกินสัดส่วน ยกตัวอย่างรถบรรทุกเกิน 100 กิโลกรัม พนักงานสอบสวนสั่งริบรถได้ หรืออายัดรถ จึงต้องจ่าย 70,000 บาท เปลี่ยนสำนวนจากพนักงานขับรถ เป็นเช่ารถมาขับ เจ้าของรถนำรถกลับไปวิ่งได้

นายวิโรจน์ กล่าวว่า เรื่องของกฎหมายส่วนใหญ่รัฐอยู่ในฐานะผู้ปกครอง เอื้อต่อการใช้อำนาจของข้าราชการ จึงเสนอให้สมาคมต่าง ๆ ทำงานควบคู่ แก้ไขปรับเปลี่ยนกฎหมาย โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้กฎหมาย

ศรชัย ชูวิเชียร

ศรชัย ชูวิเชียร

ศรชัย ชูวิเชียร

แจ้งเบาะแส ร้องเรียนจะได้รับการคุ้มครอง  

นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ปัญหาส่วยต้องย้อนกลับไปดูว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจในการปฎิบัติหน้าที่อย่างไร ปัจจุบันสังคมส่วยเกิดขึ้นมากมาย นั้นเพราะมีเจ้าหน้าที่ไปใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ผู้ถูกกล่าวหามีทั้งถูกลงโทษทางด้านวินัย ปลดออก ไล่ออก ในส่วนของอาญาส่งอัยการ ส่งฟ้องศาล และมีจำนวนหลายร้อยคนที่จะต้องหลบหนีไป

ความเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ แทนที่จะเกษียณอย่างสง่าผ่าเผย สมศักดิ์ศรีกลายเป็นต้องหลบๆ ซ่อนๆ หมดศักดิ์ศรี วันนี้ท่านอาจจะได้รับเงินรับทอง ใช้จ่ายสะดวกสบาย แต่เมื่อมีการร้องเรียน พยานหลักฐานชัด คณะกรรมการชี้มูลความผิด ชีวิตก็ไปต่อไม่ได้

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องทำให้ถูกต้อง ในส่วนการเรียกเก็บส่วยตัวเลขเรียกรับเงินอาจไม่ชัดเจน แต่มีการส่งต่อไปให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง และไม่ชัดว่ามีการส่งต่อถึงขั้นรัฐมนตรีหรือไม่

สำหรับบุคคลที่ไปให้ข้อมูล หากถูกข่มขู่คุกคามจะได้รับการคุ้มครองจาก ปปช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นมีกระบวนการในการคุ้มครองพยานและทำอย่างเข้มข้น ขณะเดียวกันหากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐถูกกลั่นแกล้ง โยกย้าย ไม่ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แจ้งมาที่ ปปช. จะช่วยดูแลให้ ยืนยันว่าร้องเรียนได้ และจะได้รับการคุ้มครองหากมีการร้องขอ

ดร.มานะ นิมิตรมงคล

ดร.มานะ นิมิตรมงคล

ดร.มานะ นิมิตรมงคล

ส่วยเอาชนะได้ถ้าคนไทยไม่ยอม

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงหนทางในการแสวงหาทางออกปัญหาส่วยในไทย ว่าทุกวันนี้ปัญหาส่วยไม่ใช่เรื่องเฉพาะ ตำรวจ พ่อค้าที่โดนรีดไถ แต่เป็นเรื่องของทุกคน ถ้าประชาชนจะปล่อยให้ เฉพาะตำรวจไปจัดการกันเอง จะแก้ไม่ได้

ปัจจุบันมี "ส่วยสีดำ" ได้แก่ หวย บ่อน ซ่อง ยาเสพติด แรงงานเถื่อน มูลค่าเงินหมุนเวียนรวมๆ 170,000-180,000 ล้านบาท ถ้ารวมกับส่วยรถบรรทุก ก็เป็นเกือบ 200,000 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้คือบ่อนทำลายบ้านเมือง ระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของ ข้าราชการที่ดีๆ ที่อยู่ในระบบ

ทางแก้ไขต้องเริ่มที่หน่วยงานที่ดูแล

  1. แก้ที่ขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ เมื่อจับได้แล้ว ลำดับขั้นตอนการดำเนินคดี การลงโทษ มีลำดับขั้นตอนอย่างไรบ้าง
  2. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ส่วย คนเหล่านี้จะต้องได้รับการลงโทษ โดยเฉพาะการลงโทษที่หัวหน้าหน่วยงาน เพื่อให้ตระหนักในการบังคับบัญชามากขึ้น
  3. ใช้มาตรการของ ป.ป.ช. ดำเนินการทางวินัยและปกครอง ต่อไปนี้ถ้าประชาชนหรือผู้ประกอบการไม่ยอม ออกมาให้ข้อมูลต่างๆ ก็ต้องให้การปกป้องเสียงเหล่านี้

"จรูญเกียรติ" ชี้แก้ปัญหา "ส่วย" ต้องแก้ที่กฎหมาย

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) รักษาราชการแทนผู้บังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวถึงกรณีเซ็นคำสั่งโยกย้ายตำรวจทางหลวงที่ต้องสงสัยว่าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีส่วยสติกเกอร์รถบรรทุก จำนวน 40 นาย เป็นขั้นตอนแรกที่ได้พบว่า มีมูล มีผู้อ้างถึง บางคนมีการให้การเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ซึ่งจะเข้าสู่การดำเนินคดีต่อไป ซึ่งทาง ป.ป.ป. จะรวบรวมพยานหลักฐาน และชี้มูลความผิด

ส่วนที่มีคนพาดพิงถึง ยืนยันว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ ต้องสอบสวน ทั้งผู้ให้ ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ให้การ แต่เจ้าหน้าที่มีวิธีทางปกครองในการสอบสวน ยืนยันว่าในจำนวนทั้ง 40 คน มีคนถูกดำเนินคดีแน่นอน แต่ไม่สามารถระบุจำนวนได้ ส่วนที่เหลือคงเป็นเรื่องของนโยบายว่าไม่ให้กลับไปยังตำแหน่งเดิม ต้องขยับขยายออกไปนอกหน่วย จะไม่มีการเลี้ยงแน่นอน ส่วนคนที่ย้ายไปเองนั้นยืนยันว่าไม่มีการกลับมา

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ กล่าวถึงทาแก้ไขปัญหา ว่า โดยส่วนตัวมองว่า ต้องแก้ที่กฎหมาย เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม

ต้องแก้กฎหมายให้ผู้ประกอบการอยู่รอดด้วย ช่วงภาวะเศรษฐกิจน้ำมันแพง ข้าวของแพง การประกอบธุรกิจไม่คุ้ม ยิ่งคนที่ไม่มีทุนจะอยู่ไม่รอด

โดยได้ตั้งชุดสอบสวนเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูล ได้รายละเอียด ทั้งนี้ยอมรับว่าเรื่องส่วยตำรวจทางหลวงปฏิเสธความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวไม่ได้ เพราะตำรวจทางหลวงมีทั่วประเทศ ได้พบเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องกฎหมาย บางครั้งอาจเข้าไปยุ่งกับเรื่องนั้น ส่วนที่มีคนพาดพิงถึง ไม่ได้นิ่งนอนใจ ต้องสอบสวน ทั้งผู้ให้ ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว

ไม่หนักใจสอบ "ส่วย" ยืนยันไม่รังแกใคร

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ระบุว่า ละครเรื่องนี้ยังไม่จบ อย่าเพิ่งไปตีตนก่อนไข้ ตำรวจดีๆ มีเยอะ ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย ส่วนที่ไม่ดีต้องกำจัดไป นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้นไป ถ้าตำรวจไม่ดีมากๆ สำนักงานตำรวจอยู่ไม่ได้ ต้องมีคนดีมากกว่าไม่ดี ต้องยอมรับจุดนี้ตำรวจมีอุดมการณ์ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน ถ้าตำรวจโกงทั้งหมด คงเป็นข้าราชการที่ดีไม่ได้ ในส่วนที่ไม่ดีถูกออกไปปีละหลาย 100 คน ต้องแบ่งแยกว่าคนละส่วนคน ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมกับตำรวจทั่วประเทศ

ปัญหาส่วยเกิดจากความละโมบโลภมาก ละกิเลสไม่ได้ ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสื่อมเสีย แต่ทั้งหมดก็มีบทลงโทษอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ในส่วนของ ป.ป.ป. หลายคดีที่เคยจับกุมเป็นการใช้ยาแรงเพื่อกระตุ้นเตือนสังคม ว่าคนมีอำนาจยังต้องถูกดำเนินคดี และมีพยานหลักฐานถ้าคนมีอำนาจหลุดพ้นการดำเนินคดี กระบวนยุติธรรมไปไม่ได้ ต้องมีการยกเครื่องกันยกใหญ่ อยากให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอให้อย่าเหมารวมว่าไม่ดีทั้งหมด

พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ยังกล่าวว่า การรับหน้าที่ตรวจสอบเรื่องส่วย ยืนยันไม่มีอะไรน่าหนักใจ เป็นการทำหน้าที่ในขอบเขตของกฎหมายที่กำหนดและไม่ได้ไปรังแกใครจะใหญ่กว่านี้หรือจะเป็นรัฐมนตรี หรือจะเป็นอะไร ก็จะจับให้ดู และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่จะดำเนินการยกระดับอย่างเข้มข้นไปเรื่อยๆ ซึ่งวันนี้ทั่วประเทศก็สามารถจับไปประมาณ 5-6 คน ซึ่งพรุ่งนี้จะมีการแถลงข่าวต่อไป

พร้อมบอกนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าเดินมาถูกทางแล้ว และต้องช่วยกัน เพราะถ้ากำลังเจ้าหน้าที่อย่างเดียวที่ต้องบังคับใช้กฎหมายยังต้องทำต่ออีกเยอะ ต้องมีคนจุดประกาย อยากให้ประชาชน ไม่ทน ไม่ยอม กับการทุจริตเรื่องนี้ ซึ่งคนที่ได้รับผลกระทบให้มาพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้ดำเนินการ และการันตีความปลอดภัย เพื่อตัวท่านเอง และเพื่อสังคม

"พ.ต.อ.วิรุตม์" มองพฤติกรรม "ส่วยสติกเกอร์" เป็นแก๊งอั้งยี่

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร ที่ปรึกษาสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจ่ายส่วยมีมานานไม่ต่ำกว่า 50 ปี ส่วนส่วยสติกเกอร์มีมากว่า 30 ปี ซึ่งเหตุผลที่ต้องมีสติกเกอร์ เนื่องจากมีการเก็บส่วยเยอะและกว้างขวางจนเริ่มเกิดความสับสน จึงต้องมีสติกเกอร์เพื่อให้ตำรวจรู้ว่าจ่ายแล้ว เคลียร์แล้ว หรือวิ่งสายสั้น วิ่งสายยาว มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ จนไปถึงสติกเกอร์พรีเมียมที่บรรทุกได้ไม่จำกัดและวิ่งได้ทั่วไทย

สติกเกอร์ ข้อเท็จจริงของพฤติกรรมคือแก๊งอั้งยี่ เป็นองค์กรอาชญากรรม และมีตำรวจเกี่ยวข้อง 99%

พ.ต.อ.วิรุตม์ ระบุอีกว่า ผู้ที่สามารถแก้ปัญหาส่วยสติกเกอร์ได้มีเพียงนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เท่านั้น เพราะทั้ง 2 คนคุมตำรวจ ขณะที่วิธีจัดการต้องสอบสวนโดยไม่ชักช้าและลงโทษ แต่ขณะนี้การสอบสวนยังไม่เริ่ม ยังเป็นการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการประวิงการสอบสวน

แต่ขณะเดียวกันการสอบสวนอาจไปไม่ถึงตัวการใหญ่ เพราะส่วยคือสินบนแปรรูป แม้ตำรวจยศจ่าหรือดาบเก็บเป็นส่วย แต่เมื่อส่งไปให้นายพลหรือนายพันก็จะแปรรูปไป โดยมีการโอนเข้าบัญชีของบุคคลอื่น

การแต่งตั้งตำรวจ ไม่ได้แต่งตั้งไปปราบอะไร แต่แต่งตั้งไปเก็บเงิน ถ้าเก็บได้ไม่เข้าเป้า เมื่อถึงวาระก็โดนย้าย
พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร

พ.ต.อ.วิรุตม์ ย้ำว่า หากจะปราบปลวก ต้องจัดการพญาปลวก มันถึงจะหาย แต่ต้องหาให้เจอ โดยนายกฯ ต้องสั่งการ และอย่าให้ตำรวจสอบสวน แต่ต้องส่งไปให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการสืบสวนและมีมติรับเป็นคดีพิเศษ เพราะเรื่องส่วยรถบรรทุกมีตำรวจผู้ใหญ่เกี่ยวข้อง เข้าเงื่อนไขเป็นคดีพิเศษได้แล้ว ทั้งนี้เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ทั้งหมด หากตระหนักว่าเป็นปัญหา

นอกจากนี้ พ.ต.อ.วิรุตม์ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาในระยะยาว โดยต้องแก้ไข ป.วิอาญา เพิ่มเติม ปฏิรูปอำนาจในการสอบสวน พนักงานอัยการต้องเข้าตรวจสอบการสอบสวนคดีสำคัญอย่างคดีนี้ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย

อีกทั้งต้องโอนตำรวจทางหลวงไปสังกัดกรมทางหลวง และมีอำนาจสอบสวนคู่ขนาน ซึ่งการโอนตำรวจทางหลวงไปสังกัดกรมทางหลวง เป็นมติสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อปี 2558 นอกจากนี้ต้องเปลี่ยนระบบโครงสร้างตำรวจ ไปสังกัดจังหวัด และให้บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดในการดูแล

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ย้าย 42 ตำรวจทางหลวง เอี่ยวส่วยสติกเกอร์

"วิโรจน์" ส่งหลักฐาน "ส่วยสติกเกอร์" ให้ จเรตำรวจ ตรวจสอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง