ม.กาฬสินธุ์ สถาบันการศึกษารับใช้ชุมชน เร่งบูรณาการแก้ภัยแล้ง

ภูมิภาค
20 มิ.ย. 66
20:44
422
Logo Thai PBS
ม.กาฬสินธุ์ สถาบันการศึกษารับใช้ชุมชน เร่งบูรณาการแก้ภัยแล้ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ทุกคนจะพ้นความจนได้ ถ้ามีความพยายาม ซึ่งผลของการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาด้วยงานวิจัยในพื้นที่
ถ้าจะพูดว่าความจนจะหมดไป ก็คงไม่หมดไปแน่นอน แต่จะดีขึ้นเป็นลำดับ

และเชื่อว่าคนที่หลุดพ้นจากกับดักความยากจนแล้ว โดยธรรมชาติของมนุษย์ จะไม่อยากที่จะกลับไปจนอีก แม้จะมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ลงพื้นที่ทำงานวิจัยเป็นแกนกลางประสานงานขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่เพราะตระหนักว่าสถาบันการศึกษาต้องรับใช้ชุมชน กิจกรรมที่ทำก็เพื่อให้ประชาชนอยู่กับชุมชนให้ได้ ทุกครั้งที่มีการประชุมกับชุมชน จะให้ความสำคัญชุมชนในการขับเคลื่อนขบวนการพัฒนาในชุมชนกันเอง ซึ่งอาจจะเป็นความยิ่งใหญ่ที่ประชาชนไม่ได้รับมาก่อน หลายครั้งที่มีปัญหา ชาวบ้านจะขวนขวาย ซึ่งไม่ได้ยินสิ่งที่พูด แต่ลึกๆ แล้ว ต้องเข้าใจว่าชาวบ้านก็คือคนธรรมดา

บอกกับชาวบ้านโดยตลอด ว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่กับคุณตลอด
คุณต้องอยู่ให้ได้เพื่อตัวเอง

อ่านข่าว : พลิกฟื้นพื้นที่รกร้าง สู่โรงเรียนปลูกผักแก้จน

รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

บ่อบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์รับมือภัยแล้ง

สำหรับการจัดการภัยแล้ง เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ให้ความสำคัญ มีการบูรณาการร่วมกันในหลายหน่วยงานเพื่อรับมือกับภัยแล้ง เบื้องต้นชุมชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายมีการแก้ปัญหาเบื้องต้นไป ด้วยการขุดเจาะบ่อบาดาลชุมชน เพื่อใช้น้ำจากใต้พื้นดิน

อย่างพื้นที่ อ.นามน ไม่มีแหล่งน้ำ การขุดเจาะบ่อบาดาลจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น สร้างระบบขึ้นมา เป็นระบบบริหารจัดการ ด้วยการใช้บ่อบาดาลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดการน้ำใต้ดิน เพื่อใช้การปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งมีการวิเคราะห์จะเพียงพอต่อ 1 ชุมชน ในการใช้น้ำใต้ดินในการจัดการ เพียงแต่ต้องเข้าไปเสริมในระบบการจัดกาความสามารถลงสู่แปลงได้

อ่านข่าว : บพท.จับมือ ม.กาฬสินธุ์ แก้จนลดเหลื่อมล้ำใช้ข้อมูลจริงสร้างงาน-เสริมแกร่งฐานราก

ผศ.ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผศ.ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผศ.ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

เปลี่ยนหมุดหมายผลิตบัณฑิตควบคู่การพัฒนากำลังคน

ผศ.ดร.วิชยุทธ จันทะรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ระบุว่า มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ไม่ได้ทำโครงการแก้ปัญหาความยากจนเพราะเป็นงานวิจัย แต่ทำงานแก้จนเพราะเป็น สิ่งที่ต้องทำให้ประเทศชาติพัฒนาขึ้น

ทางมหาวิทยาลัยเปลี่ยนหมุดหมายจากการผลิตบัณฑิตอย่างเดียว
มาเป็นการพัฒนากำลังคน เพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในสังคม

ดังนั้นการทำงานแก้จนจึงเป็นงานโดยการเชื่อมโยงไปในทุกมิติ เป็นการพัฒนาองค์รวม ไม่ใช่แค่การต่อยอดงานวิจัย 

โรงเรียนรกร้างกว่า 10 ปี

โรงเรียนรกร้างกว่า 10 ปี

โรงเรียนรกร้างกว่า 10 ปี

 กระบวนการในการแก้ไขปัญหาความยากจน

1. การลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น เพราะฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนกับการทำงานกับการพัฒนาสังคมเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด

2. การแก้ปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้นโดยภาพของจังหวัด เช่นปัญหาเด็กลดน้อยลง และมีสถาบันการศึกษาที่ต้องปิดตัวลงตามจำนวนเด็กที่ลดลง ก็เข้าไปแก้ปัญหานำสถาบันการศึกษาโรงเรียนที่ยุบไปแล้ว ไปสร้างประโยชน์ โดยทำเป็นพื้นที่โมเดลของคนจน และขยายต่อไปเป็นในอนาคตเป็นเฟรช มาร์เก็ต ของชุมชน

สิ่งสำคัญของกระบวนการแก้ความยากจน

1 กลไกความร่วมมือ ภาคประชาสังคมภาคีเครือข่าย โดยต้องมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้ประสาน
2กระบวนแก้ปัญหาทุกมิติ เป็นการแก้ปัญหาไม่ใช่มิติใดมิติหนึ่ง
3 สร้างความยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

บพท.จับมือ ม.กาฬสินธุ์ แก้จนลดเหลื่อมล้ำใช้ข้อมูลจริงสร้างงาน-เสริมแกร่งฐานราก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง