"รอยเลื่อนสะกาย" มีโอกาสแผ่นดินไหวแรง 7.5 ในอดีตเขย่า 668 ครั้งขนาด 2.9-7.0

ภัยพิบัติ
20 มิ.ย. 66
17:18
1,774
Logo Thai PBS
 "รอยเลื่อนสะกาย" มีโอกาสแผ่นดินไหวแรง 7.5 ในอดีตเขย่า 668 ครั้งขนาด 2.9-7.0
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรธรณี ระบุในช่วง 5-10 ปี "รอยเลื่อนสะกาย" มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวแรงสุดถึง 7.5 สถิติรอบ 50 ปีตั้งแต่ 2516-2566 เขย่า 668 ครั้งขนาด 2.9-7.0 แรงสุดเมื่อวันที่ 5 ส.ค.2534 เร่งสำรวจอาคารเก่า 100 แห่งสร้างก่อนปี 2550

วันนี้ (20 มิ.ย.2566) นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี แถลงความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.0 เมื่อเวลา 08.40 น.ที่ระดับความลึก 10 กม.บริเวณตอนเหนือของทะเลอันดามัน ประเทศเมียนมา ห่างจาก กทม. 490 กม. พบว่าเกิดจากการเคลื่อนตัวของแนวรอยเลื่อนสะกาย ในเมียนมา ตามแนวระนาบแบบเหลื่อมขวา ซึ่งมีอัตราการเคลื่อนตัวประมาณ 2 ซม.ต่อปี

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวอีกว่า สำหรับรอยเลื่อนสะกาย เคยก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2473 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7.3 และทำให้มีผู้เสียชีวิตในเมียนมามากกว่า 500 คน

ในรอบ 50 ปีช่วง 2516-2566 เกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนสะกาย ทั้งหมด 668 ครั้ง ขนาด 2.9-7.0 ครั้งใหญ่สุดรอบ 50 ปีขนาด 7.0 เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2534 ที่เมือง Mogok ในมัณฑะเลย์

อ่านข่าวเพิ่ม รู้จัก "สะกาย" รอยเลื่อนต้นเหตุแผ่นดินไหว 8.0 ในอดีตมีพลังแรงสุด

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงความคืบหน้าแผ่นดินไหว 6.0

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงความคืบหน้าแผ่นดินไหว 6.0

อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงความคืบหน้าแผ่นดินไหว 6.0

รอยเลื่อนสะกายมีโอกาสแผ่นดินไหวขนาด 7.5 

นางอรนุช สำหรับกรณีที่คนกทม.นนทบุรี และปทุมธานี โดยเฉพาะตึกสูงตั้งแต่ชั้น 10 ขึ้นไปจะรับรู้แรงสั่นสะเทือน เนื่อง กทม.ตั้งอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อน (ดินเหนียวกรุงเทพ) สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้นได้อีก 3-4 เท่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวระยะไกล ทำให้คนบนตึกสูงรับรู้ถึงการสั่นไหว

นอกจากนี้สำหรับแผ่นดินไหวในทะเลขนาด 6.0 ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่ในอนาคต 5-10 ปีรอยเลื่อนสะกายอาจทำแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ได้อีก เพราะยังเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง

แผ่นดินไหวขนาด 7.5 จะเสี่ยงระดับ 4 ทำให้แค่ปูนแตกร้าว แต่จะไม่กระทบโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ เพราะอาคารส่วนใหญ่จะใช้ค่าความเร่งในการออกแบบอาคารที่สูงกว่า 

นายธนิต ใจสะอาด หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ขณะนี้มีการกำหนดให้อาคารในกทม.ต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว โดยกำหนดความรุนแรงสูงกว่าความเสี่ยงที่กำหนด เนื่องจากดินอ่อนในกทม.ที่มีการขยายคลื่นความเร่งแผ่นดินไหว ดังนั้นถ้าออกแบบตามที่กฎหมายกำหนดจะมีความปลอดภัย อาจจะร้าวเสียหายแต่ไม่ถึงกับพังลงมาทั้งหลัง

ส่วนอาคารเก่าในกทม.ก่อสร้างก่อนปี 2550 ที่กฎหมายกำหนด ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เก็บข้อมูลว่ามีกี่แห่ง แต่เท่าที่ทราบมีอยู่ประมาณ 100 แห่งที่เข่าข่าย 

อ่านข่าวเพิ่ม เปิดสถิติ 10 ครั้งหลังสุดแผ่นดินไหวในไทย "ภาคเหนือ" บ่อยสุด

ธนิต ใจสะอาด หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุอาคารสร้างหลังปี 2550 กำหนดให้อาคารในกทม.ต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว

ธนิต ใจสะอาด หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุอาคารสร้างหลังปี 2550 กำหนดให้อาคารในกทม.ต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว

ธนิต ใจสะอาด หน.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุอาคารสร้างหลังปี 2550 กำหนดให้อาคารในกทม.ต้องออกแบบรองรับแผ่นดินไหว

ชี้โอกาสเกิดสึนามิแนวรอยเลื่อนมีน้อย

สำหรับโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนสะกาย บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร ที่เฝ้าระวังกันว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหวขนาดนี้ อาจเกิดสึนามิกระทบต่อจังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามันนั้น โอกาสเกิดสึนามิน้อยมาก

เนื่องจากแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับรอยเลื่อน Sagaing Fault ในทะเลอันดามัน รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนว N-S แผ่นดินไหวมีกลไกแบบ Strike-slip moment จึงมีโอกาสทำให้เกิดสึนามิน้อยมาก ๆ ถึงไม่มีโอกาสเลย เพราะเป็นรอยเลื่อนแบบ Strike-slip moment และแผ่นดินไหวสูงสุดที่เคยเกิดคือ 6.8

ขณะเดียวกัน แผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับรอยเลื่อน Andaman Back-Arc Spreading Center และ Transform fault รอยเลื่อนเหล่านี้อยู่ทิศตะวันออกของหมู่เกาะ Andaman islands เนื่องจากบริเวณนี้สัมพันธ์กับการเกิดแอ่งในทะเลอันดามัน แผ่นดินไหวในบริเวณนี้จึงมีกลไกแบบ Normal และ Strike-slip moment

อ่านข่าวเพื่ม ระทึก! แผ่นดินไหวเมียนมาขนาด 6.0 ตึกสูงกทม.-นนทบุรี สั่นไหว​

ส่วนโอกาสเกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวในบริเวณที่เกิดแอ่งใหม่ (Back-Arc Spreading zone) นี้มีไม่มากนัก ถึงแม้รอยเลื่อนจะเป็นแบบ normal moment แต่ขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่เคยเกิดคือขนาด 5.6 หากเกิดสึนามิน่าจะเป็น Local tsunami ไม่ส่งผลกระทบกับประเทศไทย

ขณะที่โอกาสเกิดสึนามิจากแผ่นดินไหวในบริเวณ Transform fault ที่มีแนวการวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ มีโอกาสน้อยมาก ๆ ถึงไม่มีโอกาสเลย เพราะเป็นรอยเลื่อนแบบ Strike-slip moment และขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่เคยเกิดคือ ขนาด 6.5

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"LINE ALERT" เพื่อนบนไลน์แจ้งเตือนภัยพิบัติ-แผ่นดินไหวทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง