ป้องกัน "ไฟไหม้" ความรู้เบื้องต้นที่ทุกคนต้องรู้

ไลฟ์สไตล์
23 มิ.ย. 66
13:33
6,535
Logo Thai PBS
ป้องกัน "ไฟไหม้" ความรู้เบื้องต้นที่ทุกคนต้องรู้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"อัคคีภัย" เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและสร้างความเสียหายตามขนาดของไฟที่ไหม้ การซ้อมดับไฟและอพยพเมื่อไฟไหม้ เป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องเรียนรู้ นอกจากช่วยเหลือตนเองให้ปลอดภัยได้แล้ว ยังสามารถช่วยผู้อื่นและระงับเหตุไม่ให้ลุกลามไปได้

สามเหลี่ยมแห่งไฟ

ปัจจัยหลัก 3 สิ่งที่ก่อให้เกิดไฟ ได้แก่ เชื้อเพลิง, ออกซิเจน, ความร้อน หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไป "ไฟ" จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

หลักการดับไฟคือการตัดปัจจัยตัวใดตัวหนึ่งออกไป

วิธีการดับไฟทำได้ 4 วิธี 

  1. การกำจัดเชื้อเพลิง คือทำให้เชื้อเพลิงเหลืออยู่ในบริเวณที่เกิดไฟน้อยที่สุด 
    - นำเชื้อเพลิงออกไปจากบริเวณเกิดอัคคีภัย
    - ถ้านำเชื้อเพลิงออกไปไม่ได้ ให้ใช้สิ่งของหรือสารอื่น มาเคลือบผิวของเชื้อเพลิงเอาไว้ เช่น การใช้ผงเคมี โฟม น้ำละลายด้วยผงซักฟอก ฉีดลงบนผิววัสดุที่ไฟไหม้อยู่
  2. การทำให้อับอากาศ เป็นการปิดกั้นออกซิเจนไม่ให้ไปรวมตัวกับไอของเชื้อเพลิง 
    - ฉีดน้ำหรือสารปกคลุมไปคลุมผิวเชื้อเพลิงหรือฉีดแก๊สเฉื่อย เช่น ไนโตรเจน หรือ คาร์บอนไดออกไซค์ ไปปกคลุมบริเวณเพลิงไหม้ เพื่อให้จำนวนออกซิเจนมีปริมาณลดลงจนสันดาปไม่ได้อีกต่อไป
  3. การลดความร้อน เมื่อทำให้อุณหภูมิของเชื้อเพลิงลดลงต่ำกว่าจุดวาบไฟ แม้จะมีเชื้อเพลิงและออกซิเจนผสมกันอยู่ก็ไม่เกิดการสันดาป ไฟก็จะสงบลง
    - ให้ใช้น้ำทำการดับไฟ เป็นวิธีทำให้เชื้อเพลิงเย็นตัวลง
    -ในกรณีที่เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันหรือแก๊ส ให้ใช้สารเคมีแทนน้ำลดความร้อนของเชื้อเพลิง
  4. การตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฮาลอน (HALON) เมื่อฉีดใส่ไฟ มันจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังในการใช้ เพราะอาจจะทำให้ผู้ใช้ขาดอากาศหายใจได้ สารเคมีดังกล่าว ได้แก่ พวกไฮโดรคาร์บอน ประกอบกับ ฮาโลเจน (Halogented-Hydrocarbon) เช่น HALON 1211, HALON 1301 

การดับไฟให้มีประสิทธิภาพ ควรทราบประเภทของไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงต่างๆ เพื่อที่จะสามารถใช้สารดับเพลิงได้อย่างถูกต้องและเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าไปดับไฟ

วิธีการดับไฟ

วิธีการดับไฟ

วิธีการดับไฟ

4 ประเภทของไฟ

  • ไฟประเภท A ได้แก่ ไฟที่ลุกไหม้จากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ กระดาษ เสื้อผ้า พลาสติก ฝ้าย หญ้า ฯลฯ วิธีดับไฟประเภทนี้คือ ลดความร้อน (Cooling) โดยใช้น้ำ
  • ไฟประเภท B ได้แก่ ไฟที่ลุกไหม้จากวัตถุเชื้อเพลิงเหลว และ ก๊าซ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ วิธีดับไฟประเภทประเภทนี้คือ กำจัดออกซิเจน โดยใช้ผงเคมีแห้ง ใช้ฟองโฟม
  • ไฟประเภท C ได้แก่ ไฟที่ลุกไหม้จากอุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้า วิธีดับไฟประเภทนี้คือ ตัดกระแสไฟฟ้า แล้วใช้ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์หรือน้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มี CFC ไล่ออกซิเจนออกไป
  • ไฟประเภท D สารเคมีติดไฟ เช่น ผงแมกนีเซียมเซอร์โครเมียม ไททาเนียม ผงอลูมิเนียม วิธีดับไฟประเภทนี้คือ ทำให้อับอากาศหรือใช้สารเคมีเฉพาะ (ห้ามใช้น้ำเป็นอันขาด) 

ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับไฟได้หลายประเภท วิธีการใช้ต้องดูที่ถังว่ามีป้าย A-B หรือ B-C หรือแม้แต่ A-B-C เพื่อนำไปดับไฟได้มีประสิทธิภามากที่สุด

ประเภทของถังดับเพลิง ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง 

  1. ผงเคมีแห้ง เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดันให้ผง เคมีออกจากถัง
  2. ฮาลอน (Halon) เป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซ ใช้ดับไฟได้ทุกประเภทของไฟ เมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรงบริเวณที่ฉีด ทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ สามารถดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆ เท่านั้น
  3. น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิงประเภท A เท่านั้น
  4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ประเภท B และ C แต่สามารถดับไฟได้ดีแค่ระยะ 1-2 เมตร

 

วิธีเช็กถังดับเพลิง

วิธีเช็กถังดับเพลิง

ขั้นตอนการใช้งานถังดับเพลิง

  1. เข้าหาไฟในทิศทางเหนือลม ห่างจากฐานของไฟ 2-3 เมตร
  2. ดึงสลักนิรภัยบนหัวถังดับเพลิงออก
  3. ยกหัวฉีดชี้ไปที่ "ฐาน" ของไฟ ทำมุม 45 องศา 
  4. กดไกถังดับเพลิง เพื่อเปิดวาล์ว ให้น้ำยา หรือ ก๊าซ ที่อยู่ตัวถังพุ่งออกมา
  5. ส่ายหัวฉีดให้น้ำยาพ่นออกไปทั่วๆ ฐานของไฟ จนกว่าไฟจะดับ
ดึง - ปลด - กด - ส่าย 

ข้อควรระวังในการดับไฟที่เกิดจาก น้ำมัน และ ไฟฟ้า ให้ฉีดน้ำยาดับไฟจากปลายของไฟไปหาฐานของไฟ ส่วนกรณีที่ไฟเกิดจากกระแสไฟฟ้า ให้ตัดกระแสไฟก่อนดับไฟ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง