เช็กจุดอันตรายและแนวทางระงับเหตุฉุกเฉิน ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน

สังคม
30 มิ.ย. 66
12:24
8,916
Logo Thai PBS
เช็กจุดอันตรายและแนวทางระงับเหตุฉุกเฉิน ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เมื่อสิ่งที่คนคิดว่าอำนวยความสะดวก กลับก่ออุบัติเหตุให้คนที่ใช้ ดังกรณีอุบัติเหตุทางเลื่อนกับผู้โดยสารในสนามบินดอนเมือง แต่จะไม่ใช้ทางเลื่อนเลยก็คงยาก สิ่งที่ต้องทำคือต้องตระหนักให้มาก ว่าจุดอันตรายและวิธีระงับเหตุ อยู่ที่ไหน และทำอย่างไร

ย้อนโศกนาฏกรรมดังเมื่อปี 2558 เมื่อหญิงชาวจีนตกช่องบันไดเลื่อน และถูกดูดจนเสียชีวิต ขณะที่กำลังก้าวลงบนพื้นทางเดินที่เชื่อมติดกับตัวบันไดเลื่อนพัง 

รศ.ดร.สิริวัฒน์ ไชยชนะ เลขาธิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้วิเคราะห์ถึงเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะตัวบันไดเลื่อนไม่ได้เป็นอะไร แต่ปัญหาอยู่ที่แผ่นเหยียบแผ่นที่ 2 ไม่ได้ถูกช่างขันน็อตให้เรียบร้อย

เมื่อคนมาเหยียบจึงตกลงไปด้านล่าง ซึ่งตรงกับหัวฟันเฟืองที่ใช้ขับเคลื่อนขั้นบันไดซึ่งถือเป็นส่วนที่อันตรายที่สุด

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า บันไดเลื่อน ทางเลื่อน ทุกที่จะอันตรายไปเสียหมด แต่ผู้ใช้บันไดเลื่อนต้องตระหนัก ไม่ประมาท มีสติตลอดเวลา เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ซ้ำรอย

ในส่วนของผู้ให้บริการ ผู้ควบคุมสถานที่ อย่างวิศวกรประจำสถานที่ ช่าง รวมถึงเจ้าหน้าที่อาคารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้มาใช้บริการเป็นสำคัญ และควรแจ้งให้ผู้โดยสาร หรือ ผู้ใช้บริการบันไดเลื่อนทั่วไปตามอาคารสูงต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้ได้รู้ว่าทางอาคารไม่ได้ละเลยเรื่องความปลอดภัย เช่น การแปะป้ายวันตรวจเช็กตามวงรอบให้เห็นชัดเจน

นอกจากนั้น ทางเจ้าของอาคารควรสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการรู้จักปุ่มหยุดบันไดเลื่อนฉุกเฉิน ที่จะอยู่ตรงบริเวณใต้ราวมือจับตรงหัวบันได และย้ำว่าต้องใช้ด้วยวิจารณญาณ และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจริงๆ 

ทุกคนต้องรู้ว่าปุ่มหยุดฉุกเฉินอยู่ตรงไหน และใช้เมื่อเกิดเหตุจำเป็นเท่านั้น

ส่วนบริเวณต้นและปลาย บันไดเลื่อน-ทางเลื่อน ควรจัดให้เป็นบริเวณ Safe Zone ไม่มีสิ่งของกีดขวาง และห้ามจัดกิจกรรมใดๆ บริเวณทางขึ้น-ลงบันไดเลื่อนอย่างเด็ดขาด เมื่อถึงปลายบันไดเลื่อน ก็ควรก้าวเท้าเดินออกไปทันที ความห่างอย่างน้อย 1-2 เมตรจากบันไดเลื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้คนด้านหลังมาชนและเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้   

เว็บไซต์ ช่างมันส์ อธิบาย การทำงานของบันไดเลื่อนและทางเลื่อน มีหลักการทำงานและมีองค์ประกอบเหมือนกัน คือ

องค์ประกอบบันไดเลื่อน

องค์ประกอบบันไดเลื่อน

องค์ประกอบบันไดเลื่อน

  1. ห้องเครื่อง (Machine Room) จะอยู่ด้านปลายทั้งสองด้านของบันไดเลื่อน ประกอบด้วยเฟือง ที่ขับสายพานให้หมุนไป และมีมอเตอร์ที่ทำให้เฟืองเคลื่อนที่ ซึ่งมอเตอร์จะอยู่ทางด้านบนของบันไดเลื่อน โดยที่ส่วนของมอเตอร์ และเฟืองนั้นจะอยู่ใต้แผ่นเหล็ก ที่รับน้ำหนักได้มาก เช่น อาจมากถึง 500 กก./ตร.ม. และมีแผ่นเหล็กวางพาดอยู่บนโครงสร้างอีกที คล้ายๆ กับฝาปิดท่อระบายน้ำ

  2. โครงสร้างของบันไดเลื่อน เป็นตัวรับน้ำหนักของขั้นบันไดและตัวบันไดเลื่อน รวมถึงน้ำหนักของผู้โดยสารที่ใช้บันไดเลื่อน

  3. รางเลื่อน ชุดโซ่ และขั้นบันได ส่วนนี้จะเป็นเหมือนขั้นบันได เวลาอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนที่ ผู้สัญจรก็สามารถเดินบนขั้นบันไดเหล่านี้ได้ แต่ต่างจากขั้นบันไดปกติ ตรงที่จะมีฟันในแต่ละขั้นทำให้ขั้นเหล่านี้เคลื่อนอยู่ในทางของมัน

  4. ราวจับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารจับ จะเคลื่อนไปพร้อมๆ กับส่วนของบันได 

ที่มา : ช่างมันส์, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

อ่านข่าวเพิ่ม : 

สนามบินดอนเมืองหยุดใช้ "ทางเลื่อน" ทั้งหมด-เร่งสอบสาเหตุอุบัติเหตุ

ใช้ “ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน” อย่างไร ให้ปลอดภัย?

"สนามบินดอนเมือง" ติดโผอันตรายลำดับที่ 26 ของโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง