โจทย์ที่ไม่มีคำตอบ ผลักดันเด็กชาติพันธุ์ 126 คน ที่ จ.อ่างทอง กลับประเทศ

ภูมิภาค
8 ก.ค. 66
14:34
615
Logo Thai PBS
โจทย์ที่ไม่มีคำตอบ ผลักดันเด็กชาติพันธุ์ 126 คน ที่ จ.อ่างทอง กลับประเทศ
นับเป็นกรณีศึกษาอย่างยิ่ง กรณีผลักดันเด็ก 126 คน กลับประเทศต้นทาง ผ่านทาง จ.เชียงราย เรื่องนี้เกิดคำถามขึ้นมากมายถึง "สิทธิเด็ก" โดยเฉพาะด้านการศึกษา ที่มีกฎหมายคุ้มครอง

การดำเนินคดี กับผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กรณีนำเด็กข้ามชาติจาก จ.เชียงราย เข้ามาเรียน

พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผยระหว่างนำเด็ก 126 คน เตรียมผลักดันเด็กออกนอกประเทศตามระเบียบ สตม. และต้องส่งคืนให้ผู้ปกครองที่แท้จริงเท่านั้น

คำถามที่ตามมาคือ หลักฐานอะไรเป็นสิ่งยืนยันว่า ใครคือพ่อแม่ ผู้ปกครองที่แท้จริง ซึ่งกรณีส่งกลับ ผู้ว่าฯ เชียงราย ประสานประเทศต้นทางเพื่อรับกลับ ซึ่งหากพิสูจน์ไม่ได้มีการพูดถึงการตรวจดีเอ็นเอ

ระหว่างกระบวนการผลักดันออกนอกประเทศ เนื่องจากทั้ง 26 คน ยังเป็นเด็กอายุ 7-17 ปี และออกระบบการศึกษามานับเดือน จึงต้องมีหน่วยงานด้านเด็กเข้ามาร่วมด้วยในการจัดหาที่พัก

เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมาย พร้อมผลักดันเด็ก 126 คน ที่หลบหนีเข้าเมืองมาเรียนที่ จ.อ่างทอง

เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมาย พร้อมผลักดันเด็ก 126 คน ที่หลบหนีเข้าเมืองมาเรียนที่ จ.อ่างทอง

เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมาย พร้อมผลักดันเด็ก 126 คน ที่หลบหนีเข้าเมืองมาเรียนที่ จ.อ่างทอง

นางเตือนใจ คงสมบัติ รองอธิบดีกรมการเด็กและเยาวชน ระบุว่า เด็กทั้งหมดอยู่ในความดูแลของ ตม. แต่เมื่อเด็กอยู่ในห้องกักขังไม่ได้ จึงต้องฝากเด็กไปไว้ในสถานที่ต่างๆ ชั่วคราว 5 แห่ง โดย พม.จะเป็นผู้ดูแล จนกว่าจะประสานผู้ปกครองที่แท้จริงได้

นายพจน์ จงสร้างสรรค์ หรือ ครูพจน์ ผู้ดูแลเด็กมูลนิธิบ้านครูน้ำ ระบุว่า เด็กทั้ง 18 คน ที่รับไว้ ได้ประสานโรงเรียนให้เด็กได้เข้าเรียนทั้งหมด เด็กอายุต่ำสุด 7 ขวบ นอกนั้นอายุ 10-13 ปี แต่ยังเรียนอยู่ชั้น ป.1 และ ป.2 ยังสื่อสารภาษาไทยไม่ดีมาก

ส่วนผู้ปกครองเด็กตอนนี้ติดต่อได่เพียง 1 คน นอกนั้นยังติดต่อไม่ได้ ดังนั้นการส่งเด็กกลับต้องมองในแง่สิทธิของเด็ก ถ้าเด็กอยากเรียนก็ต้องได้เรียนและถูกคุ้มครอง

ด้าน นายวีระ อยู่รัมย์ ผอ.ศูนย์การเรียนไร้ส้มวิทยา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารทางทะเบียน มองว่า อยากให้แยกคนนำพาเข้าเมือง กับอนาคตการศึกษาเด็ก 126 คน ออกจากกัน ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก มี พ.ร.บ.การศึกษาคุ้มครอง ไม่ว่าเด็กจะไม่มีเอกสาร หรือไร้สัญชาติก็ตาม

นายสันติพงษ์ มูลฟอง ผู้จัดการเครือข่ายสถานะบุคคล ระบุว่า กรณีนี้ต้องมองเด็กมีภูมิลำเนาในประเทศไทย เด็กควรได้รับการคุ้มครอง ต้องมองถึงความปลอดภัยของเด็กสูงสุด

ผมไม่เห็นด้วยกับกระบวนการผลักดันเด็ก ถ้าไม่มีกระบวนการที่ดีพอ โดยเฉพาะการติดตามพ่อแม่ของเด็กมารับ และเด็กต้องหยุดเรียนกว่า 1 เดือน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็กและต้องหาที่เรียนใหม่

นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ สว.เชียงราย มองการผลักดันเด็กกลับประเทศต้นทาง เด็กเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เด็กต้องได้รับการศึกษาที่ดีในประเทศไทย แต่วิธีการอาจไม่ถูกต้อง

นางศรีประภา เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองการผลักดันเด็ก เป็นสิ่งต้องห้ามในจารีตระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหากรู้ว่าการส่งกลับประเทศที่มีสงคราม การนำเด็กกลับไปอาจทำให้สู่ภาวะอันตราย เด็กบางคนติดต่อพ่อแม่ยังไม่ได้ บางคนไม่มีพอแม่ผู้ปกครอง สิ่งที่ต้องทำทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก และ พ.ร.บ.การศึกษา ก็คุ้มครองเด็กเหล่านี้ด้วย

นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม และนักเคลื่อนไหวด้านผู้ลี้ภัย และสิทธิมนุษยชน มองปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากกฎหมายที่มีสถานะเท่าเทียบกัน พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมือง กับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก แต่ละหน่วยถือกฎหมายคนละฉบับกัน สะท้อนให้เห็นช่องว่างในทางกฎหมาย ซึ่ง ตม.จะต้องดูกฎหมายอื่นประกอบด้วย เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก

หากมองกรณีนี้ กฎหมายระหว่างประเทศ จารีตปฏิบัติจะไม่ส่งเด็กกลับ หรือผลักดันกลับ เด็กอาจเผชิญความไม่ปลอดภัย กรณีเด็ก 126 คน ต้องทบทวนการปฏิบัติ ถ้าไม่ทบทวนอาจทำให้ฝ่ายความมั่งคงเกิดปัญหา

ปัจจุบันเด็กที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนในประเทศไทยมีกว่า 80,000 คน กระทรวงศึกษาธิการ ใส่ในระบบอักษรภาษาอังกฤษ ตัว G ไม่มีเลขประจำตัว เป็นเด็กไรัรัฐ หรือเป็นกลุ่มทั่วไป ไม่มีหลักฐานแสดงตัวเด็กเหล่านี้ อาศัยมากสุด จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก ชลบุรี กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร

โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง