10 อันดับประเทศประชากรมากที่สุดในโลก

สังคม
10 ก.ค. 66
18:29
90,492
Logo Thai PBS
10 อันดับประเทศประชากรมากที่สุดในโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทะลุ 8,000 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยจนสหประชาชาติตั้งชื่อให้วันที่ 15 พ.ย.2565 ว่า "วันแปดพันล้าน" (The 8,000 day) มีการตั้งคำถามว่า จำนวนนี้เป็นจำนวนที่ มากเกินไปหรือไม่ ? หรือยังน้อยเกินไปอีก ? อัตราเติบโตของประชากรโลกเร็วเกินไปหรือยังช้าอยู่ ?

คำถามเหล่านี้ไม่ควรเป็นคำถาม

จำนวน 8,000 ล้าน คือ สิ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์มนุษยชาติในด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สุขภาพ การเกษตร และ การศึกษา ที่ควรต้องตั้งคำถามว่า บนความก้าวหน้าของประวัติศาสตร์มนุษยชาติเช่นนี้ ประเทศที่เป็นเจ้าของประชากรจำนวนมาก มีนโยบาย แนวทางปฏิบัติต่อประชากรในประเทศ อย่างไร ?  

ครอบครัวชาวอินเดีย

ครอบครัวชาวอินเดีย

ครอบครัวชาวอินเดีย

ถึงแม้อินเดียจะแซงจีน แชมป์ประชากรมากที่สุดในโลกมาอย่างยาวนานได้แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อินเดียจะภาคภูมิใจต่อสิ่งนี้สักเท่าไหร่ อินเดียต้องออกนโยบายควบคุมประชากรอย่างเร่งด่วน แม้อัตราการเกิดของประชากรอินเดียจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่แล้วก็ตาม 

อัตราการเกิดของประชากรอินเดียปี 2565 อยู่ที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 1 คน ให้กำเนิดลูกได้ 2 คน
ส่วนของจีนอยู่ที่ 1 : 1.3 คน ขณะที่ UN ตั้งค่าไว้ที่ 1 : 2.2 คน  

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพประชากรในประเทศอย่างมาก หลายประเทศต้องพบกับอัตราประชากรวัยเจริญพันธุ์ที่ลดลง ประชากรสูงวัยและอายุยืนมากขึ้น หากไม่เตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ โอกาสที่ระบบเศรษฐกิจ คุณภาพประชากร จะลดลง และอัตราอาชญากรรมในสังคมเพิ่มขึ้น 

ในวันที่ 11 ก.ค. ของทุกปี คือวันประชากรโลก ไทยพีบีเอสออนไลน์รวบรวม 10 อันดับประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก อัปเดต ณ วันที่ 10 ก.ค.2566 รวมถึงสถานการณ์ข้อมูลประชากรแต่ละประเทศในปัจจุบัน 

1. อินเดีย 1,428 ล้านคน

อัตราการเติบโตของ ประชากรอินเดีย ลดลงอย่างมาก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง เว็บไซต์ Worldometer คาดการณ์ว่า อินเดียจะมีจำนวนประชากรสูงสุดที่ 1,650 ล้านคน ภายในปี 2603 หรืออีกไม่เกิน 40 ปีข้างหน้า 

2. จีน 1,425 ล้านคน

ขนาดของประชากรจีนเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองมาอย่างยาวนาน หลังจากจำนวนประชากรจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ทำให้รัฐบาลจีนต้องประกาศ "นโยบายลูกคนเดียว" เพื่อจำกัดการเติบโตของประชากร มีการให้รางวัลคู่สามีภรรยาที่ตกลงจะมีลูกคนเดียวด้วยโบนัสเงินสดและระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น จนจีนสามารถลดอัตราการเกิดของเด็กได้ถึง 1.3 คนต่อแม่ 1 คน

ครอบครัวคนจีน

ครอบครัวคนจีน

ครอบครัวคนจีน

แต่นโยบายนี้ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างกังวลว่าอัตราการเกิดต่ำของจีน ประกอบกับจำนวนประชากรสูงอายุ จะทำลายการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตของจีนได้ 

3. สหรัฐอเมริกา 340 ล้านคน    

สหรัฐฯ มีความแตกต่างจากอินเดียและจีน เพราะมีการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องแบบที่ไม่สามารถคาดการณ์ถึงอัตราที่ลดลงได้ คาดการณ์ว่าในปี 2610 สหรัฐฯ จะมีประชากรมากกว่า 400 ล้านคน สาเหตุไม่ได้มาจากอัตราการเกิด แต่มาจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน

4. อินโดนีเซีย 277 ล้านคน

หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่า ในปี 2556 ว่า ประชากรของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายในเวลาเพียง 40 ปี

จาก 119 ล้านคนในปี 2514 เป็นเกือบ 240 ล้านคนในปี 2553 สำนักงานสถิติกลางคาดการณ์ว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้า (ปี 2593) คาดว่าประชากรของประเทศจะสูงขึ้นเป็น 317 ล้านคน จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย คุกคามการเติบโตและการพัฒนาที่ช้าลง 

5. ปากีสถาน 240 ล้านคน 

ระหว่างปี 2541-2560 อัตราการเติบโตของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 มีจำนวนผู้หญิงปากีสถานน้อยมากที่ถูกคุมกำเนิด จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นสร้างความล้มเหลวต่อระบบสาธารณสุขและระบบการศึกษามาก และยังส่งผลให้มีคนตกงานอีกหลายล้านคน คาดการณ์ว่าหากปากีสถานยังเพิ่มจำนวนประชากรด้วยอัตราเช่นนี้ จะใช้เวลาอีกเพียง 25 ปีเท่านั้น จะแซงหน้าอินโดนีเซีย ด้วยจำนวนประชากร 331 ล้านคน

6. ไนจีเรีย 223 ล้านคน

ไนจีเรียนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ณ ปัจจุบัน อัตราการเกิดอยู่ที่ 3.7 ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงกว่ามาตรฐานมาก กองสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ เคยคาดการณ์ว่า ด้วยอัตราการเกิดของไนจีเรียเช่นนี้ จะทำให้ประชากรไนจีเรียแซงหน้าสหรัฐฯ ด้วยจำนวน 380 ล้านคน ขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2590

ตลาดเมืองลากอส ไนจีเรีย

ตลาดเมืองลากอส ไนจีเรีย

ตลาดเมืองลากอส ไนจีเรีย

รัฐบาลไนจีเรียพยายามอย่างมากที่จะลดจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีการเสนอการคุมกำเนิดฟรีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ให้เงินทุนกับครอบครัวขนาดเล็กเป็นหลักประกันในอนาคต

7. บราซิล 216 ล้านคน 

อัตราการเพิ่มประชากรบราซิลลดลงอย่างมากตั้งแต่ปี 2494 อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.02 และในปี 2562 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.72 สาเหตุมาจากเพศหญิงในบราซิลจำนวนมากถูกต้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่มีเวลาครอบครัว มีการประเมินว่าแนวโน้มอัตราการเกิดที่ลดลงเช่นนี้ จะทำให้สังคมบราซิลเผชิญกับผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นตามมา

8. บังกลาเทศ 172 ล้านคน

ช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดของบังกลาเทศอยู่ที่ร้อยละ 3.23 แต่ลดลงจนเหลือร้อยละ 1 หรือแม่ 1 คนจะให้กำเนิดลุกเพียง 1 คนตลอดช่วงชีวิต เหตุผลคือ มีการใช้การคุมกำเนิดมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ บังกลาเทศยังมีอัตราการแต่งงานในเด็ก วัยรุ่นที่สูงอยู่ ประชากรที่แต่งงานอายุน้อยที่สุดอยู่ที่อายุ 15 ปี มากถึงร้อยละ 34 ขณะที่หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไปที่แต่งงานมีเพียงร้อยละ 5 

9. รัสเซีย 144 ล้านคน

เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 15 ปี (พ.ศ.2536-2551) ประชากรรัสเซีย มีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จาก 148 ล้านคน เป็น 143 คน ในช่วงนั้น รัสเซียมีอัตราการเกิดต่ำที่และอัตราการเสียชีวิตสูงผิดปกติ ปัจจุบันรัสเซียถือเป็นอีกประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำมาก อยู่ที่ร้อยละ 1.58 วลาดิเมียร์ ปูติน ปธน.รัสเซียต้องเปิดแผนขยายจำนวนประชากร โดยลดการอพยพและเพิ่มอัตราการเกิดให้สูงขึ้น สร้างแรงจูงใจจ่ายเงิน 10,000 ดอลลาร์สำหรับแม่ที่มีลูกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป

ครอบครัวรัสเซียอพยพออกจากประเทศ

ครอบครัวรัสเซียอพยพออกจากประเทศ

ครอบครัวรัสเซียอพยพออกจากประเทศ

10. เม็กซิโก 128 ล้านคน

ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรเม็กซิโกอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการแต่งงานลดลงและจำนวนการหย่าร้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในเม็กซิโกอยู่ที่ร้อยละ 0.58 นั่นหมายถึง เม็กซิโกมีอัตราการเติบโตของประชากรที่ช้าและจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของผู้สูงวัยเม็กซิโกอยู่ที่ 60 ปี

เหล่านี้คือปัจจัยภายในที่รัฐต้องจัดการกับประชากรในประเทศตน แต่ขณะเดียวกันยังมีข้อโต้เถียงอีกมากถึงการใช้ทรัพยากรโลกที่หากว่ากันตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้วนั้น 

มนุษย์ทุกคนบนโลกควรเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติบนโลกอย่างเท่าเทียมกัน

Population Media Center แสดงความกังวลถึงเรื่องนี้ว่า จำนวนประชากรที่ทะลุ 8,000 ล้านคนขณะนี้ ทำให้หลายคนไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกได้อย่างแน่นอน ชาวอเมริกันมีอัตราบริโภคที่มากกว่าปริมาณทรัพยากรบนโลกกว่า 5 เท่า ขณะที่ประชากรทั่วไปมีอัตราการบริโภคเพียง 2 เท่า 

จำนวนประชากรมากเกินไป

จำนวนประชากรมากเกินไป

จำนวนประชากรมากเกินไป

แต่นั่นก็ยังถือว่ามากอยู่ดี

เมื่อใช้คำว่า "ประชากรมากเกินไป" (Over-Population) หมายถึงสถานการณ์ที่โลกไม่สามารถสร้างทรัพยากรให้พอเพียงต่อการใช้โดยประชากรโลกในแต่ละปีได้

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2513 และเพิ่มขึ้นทุกปี สร้างความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ หนทางแก้ไขคือจำเป็นต้องเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของ "ประชากรมากเกินไป" และ "การบริโภคมากเกินไป" สิ่งเหล่านี้ต่างส่งผลกระทบ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปจนถึงความไม่สงบทางสังคมและการเมือง

3 เหตุผลของการมีประชากรมากเกินไป

  1. อัตราการเสียชีวิตลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักและสำคัญที่สุด ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เป็นเพราะอายุขัยเฉลี่ยของคนในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปี 2443 อายุเฉลี่ย 30 ปี ปัจจุบัน 60 ปี

  2. การบังคับใช้การคุมกำเนิดที่ไม่ได้ผล UN ระบุว่าผู้หญิงบนโลกยังมีความรู้เรื่องการใช้ยาคุมกำเนิดน้อยมาก มีผู้หญิงราว 214 ล้านคนบนโลกที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ยาคุมกำเนิด แต่มีมากถึงร้อยละ 44 ที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ

  3. ผู้หญิงเข้าไม่ถึงการศึกษาที่ดีพอ ปัจจุบัน มีเด็กผู้หญิงประมาณ 130 ล้านคนทั่วโลกไม่ได้เรียนหนังสือ และ เด็กผู้หญิงวัยประถม ประมาณ 15 ล้านคน ไม่เคยเรียนการอ่านและเขียน เมื่อเทียบกับเด็กผู้ชาย 10 ล้านคน หากการศึกษาของผู้หญิงเพิ่มขึ้น จะสามารถชะลอหรือลดภาวะเสี่ยงลง และเพิ่มโอกาสดีให้เด็กผู้หญิงได้
ผู้หญิงควรได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น

ผู้หญิงควรได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น

ผู้หญิงควรได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น

3 ผลกระทบของการมีประชากรมากเกินไป

  1. ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ การเพิ่มขึ้นของประชากรจะนำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง มลพิษและการปล่อยมลพิษพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น การศึกษาของ Wynes and Nicholas (2017) ครอบครัวที่มีลูกน้อยลง 1 คน สามารถลดการปล่อย CO2 เทียบเท่า 58.6 ตัน/ปี ในประเทศที่พัฒนาแล้ว

  2. ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น เพราะความขาดแคลนด้านทรัพยากรจะกระตุ้นให้เกิดการแก่งแย่งทรัพยากร เช่น สงครามแย่งชิงทรัพยากรน้ำ ที่ดิน และ พลังงาน ในตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่นๆ

  3. ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติและโรคระบาด เพราะมนุษย์กำลังทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และสัมผัสสัตว์ป่าเป็นประจำ เชื้อโรคที่มีต้นกำเนิดในสัตว์หรือแมลงจะส่งต่อไปยังมนุษย์ได้ เช่น โควิด-19, ไวรัสซิกา, อีโบลา เป็นต้น
การขาดแคลนทรัพยากรโลก

การขาดแคลนทรัพยากรโลก

การขาดแคลนทรัพยากรโลก

อ่านข่าวเพิ่ม : 

วันที่ 11 กรกฎาคม "วันประชากรโลก"

อัปเดตครึ่งปีหลัง! ปฏิทินวันจ่ายเงินเดือน ขรก. เงินบำนาญ เงินเดือนทหาร ออกวันไหน?

วันหยุดเดือนกรกฎาคม 2566 เช็กวันหยุดยาว วันหยุดธนาคาร วันพระ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง