"จรวดนิวเคลียร์ฟิวชัน" ลดเวลาการเดินทางไป "ดาวอังคาร" ลงครึ่งหนึ่ง

Logo Thai PBS
"จรวดนิวเคลียร์ฟิวชัน" ลดเวลาการเดินทางไป "ดาวอังคาร" ลงครึ่งหนึ่ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
บริษัทสตาร์ตอัปจากสหราชอาณาจักร กำลังสร้างจรวดฟิวชันที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปฏิวัติการเดินทางในอวกาศให้ลดระยะเวลาในการเดินทางไปดาวอังคารลงครึ่งหนึ่ง

ถึงดาวอังคารจะอยู่ห่างจากโลกแสนไกล แต่อย่างไรมนุษย์อวกาศก็จะไปให้ถึง.. ซีอีโอของบริษัทสตาร์ตอัปด้านการบินและอวกาศผู้สร้างจรวดนิวเคลียร์ฟิวชันจากอังกฤษ กล่าวว่า ในธุรกิจยานอวกาศที่กำลังเติบโต มวลมนุษยชาติมีความต้องการการขับเคลื่อนที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจรวดนิวเคลียร์ฟิวชันนั้นมีความสามารถในการขับเคลื่อนมากขึ้นเป็น 1,000 เท่าของเครื่องขับดันไอออนแบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

เทคโนโลยีจรวดนิวเคลียร์ฟิวชันมีศักยภาพในการปฏิวัติการเดินทางในอากาศ ทั้งในแง่ของความเร็วและการใช้เชื้อเพลิง ซึ่งนิวเคลียร์ฟิวชันเป็นปฏิกิริยาที่ให้พลังงานแก่ดวงอาทิตย์ ซึ่งผลลัพธ์ก็คือสามารถลดระยะเวลาในการเดินทางไปยังดาวอังคารลงได้ครึ่งหนึ่ง และใช้เวลาในการเดินทางไปยังดาวเสาร์ และดวงจันทร์เพียง 2 ปี จาก 8 ปี

จรวดนิวเคลียร์ฟิวชันจะขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Direct Fusion Drive - DFD อนุภาคที่มีประจุจะสร้างแรงขับโดยตรง แทนที่จะแปลงเป็นไฟฟ้า ทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าตัวเลือกอื่น ๆ และเนื่องจากขับเคลื่อนด้วยไอโซโทปอะตอม จึงไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนมาก

กุญแจสำคัญของพลังงานฟิวชัน คือ การสร้างความร้อนที่ยั่งยืน ซึ่งหัวใจของการขับเคลื่อนนิวเคลียร์ฟิวชันคือพลาสมาที่ร้อนจัดซึ่งติดอยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และต้องคิดค้นวิธีการทำให้เกิดความเสถียรและปลอดภัย ดังนั้นความท้าทายคือการเรียนรู้วิธีบรรจุและจำกัดพลาสมาร้อนจัดภายในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

พฤติกรรมของพลาสมาคล้ายกับสภาพอากาศตรงที่คาดเดาได้ยาก จึงมีการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยทำนายพฤติกรรมและควบคุมพลาสมาให้ดียิ่งขึ้น หากนักวิทยาศาสตร์สามารถดำเนินการทุกอย่างได้ตามที่ตั้งใจไว้ จะมีอุณหภูมิห้องที่สูงถึงหลายร้อยล้านองศา ทำให้เกิดอุณหภูมิที่ร้อนกว่าดวงอาทิตย์ และพลังงานส่วนเกินที่ปล่อยออกมาอาจขับเคลื่อนความเร็วจรวดได้ถึง 500,000 ไมล์ (804,672 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง

ที่มาข้อมูล: thenextweb, expatguideturkey, popularmechanics, sciencealert
ที่มาภาพ: pulsarfusion
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

ข่าวที่เกี่ยวข้อง