จุดเริ่มต้น "วันสื่อสารแห่งชาติ" 4 ส.ค. ของทุกปี

สังคม
3 ส.ค. 66
14:58
1,182
Logo Thai PBS
จุดเริ่มต้น "วันสื่อสารแห่งชาติ" 4 ส.ค. ของทุกปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
4 ส.ค. ของทุกปี "วันสื่อสารแห่งชาติ" ย้อนดูเส้นทางของการพัฒนาเทคโนโลยีจากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน และความสำคัญ

4 สิงหาคม "วันสื่อสารแห่งชาติ" 2566 เริ่มต้นขึ้นมาเมื่อสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "กรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข" และได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชโอรสกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการ ปี 2441 มีการรวมทั้ง 2 กรมเป็นกรมเดียวกัน ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข"

กิจการสื่อสารของไทยได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพิ่มขึ้น เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนยังเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและพัฒนาระบบการสื่อสารด้วยเช่นกัน

ความได้เปรียบในเรื่องเศรษฐกิจของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ขึ้นอยู่กับการมีระบบการสื่อสารให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่น คณะรัฐมนตรี ณ ขณะนั้นจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารดังกล่าว และมีมติออกใหม่ในวันที่ 2 ส.ค.2546 ว่าด้วยเรื่องกำหนดให้วันที่ 4 ส.ค.ของทุกปีเป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ"  และเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารของไทย

นับตั้งแต่ 2526 ได้มีการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี และในการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติแต่ละปี จะเน้นหัวข้อการจัดงานแตกต่างกันไปทุกปี ดังนี้

  • วันสื่อสารแห่งชาติ 2528 จัดนิทรรศการการสื่อสารกับเยาวชนแห่งชาติ
  • วันสื่อสารแห่งชาติ 2530 จัดนิทรรศการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร
  • วันสื่อสารแห่งชาติ 2535 จัดนิทรรศการการสื่อสารเพื่อทศวรรษหน้า
  • วันสื่อสารแห่งชาติ 2538 จัดนิทรรศการการสื่อสารกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสนเทศ เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี พ.ศ.2538 เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย

ส่วนกิจกรรมในวันสื่อสารแห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

  • พิธีถวายเครื่องสักการะพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  • การกล่าวคำปราศรัยของพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
  • การจัดทำดวงตาไปรษณียากรที่ระลึกวันสื่อสารแห่งประเทศไทย
  • การจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม 

พัฒนาการการสื่อสารของไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

ยุคเริ่มต้น

  • เดิมสังคมไทยเน้นการติดต่อสื่อสารแบบพึ่งพาตนเอง พูดด้วยเสียง กิริยาท่าทาง การเคาะจังหวะ ใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงเพื่อทำให้อีกฝ่ายรับรู้ ส่งสัญญาณให้เห็นในระยะไกล หรือหากอยู่ห่างต่างบ้านต่างเมืองก็ต้องใช้สัตว์และคนเดินทางไปส่งข้อมูล 
  • พ.ศ.2400 ชนชั้นสูงของไทยเริ่มใช้โทรเลขในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งตรงกับช่วงที่บ้านเมืองกำลังเชิญปัญหาตึงเครียด จากอังกฤษและฝรั่งเศสที่แข่งกันหาอาณานิคมใหม่ในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
  • พ.ศ.2404 คณะราชทูตปรัสเซียได้นำเครื่องเทเลกราฟหรือโทรเลข มาถวายเป็นเครื่องบรรณาธิการแด่ รัชกาลที่ 4 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี จึงเป็นจุดกำเนิดของเครื่องมือสื่อสารเครื่องแรกของสยามประเทศ 
  • พ.ศ.2418 สมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศมหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างเข้าวางระบบโทรเลขในสยามประเทศเพื่อใช้เป็นเส้นทางเชื่อมกันติดต่อสื่อสารกับประเทศใต้อาณานิคม แต่ ร.5 ได้หาทางออกให้ประเทศ ด้วยการมอบให้กรมพระกลาโหม เข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลและเป็นผู้ดำเนินการสร้างเส้นทางโทรเลขสายแรก ให้เกิดขึ้น ตลอดจนขยายออกสู่ภูมิภาคพร้อม ๆ กับเส้นทางรถไฟ โดยช่วง 5 ปีแรก การวางรากฐานระบบโทรเลข ในการติดต่อสื่อสารในการราชการเท่านั้น
  • ต่อมา พ.ศ.2426 ได้เปิดให้คนไทยทุกระดับชั้นให้สามารถใช้โทรเลขได้ ในอัตราค่าบริการคำละ 1 เฟื้อง ทำให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ยุคอะนาล็อก

  • พ.ศ.2426 มีการสถาปนากรมโทรเลขและไปรษณีย์ขึ้นอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะมีการกำหนด ให้วันที่ 4 ส.ค. เป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ"
  • พ.ศ.2429 ได้มีการเปิดให้คนเช่าใช้โทรศัพท์ ระบบแม็กนีโต ในเขต กรุงเทพฯ และธนบุรีเป็นครั้งแรก ก่อนจะพัฒนามาเป็นโทรศัพท์ระบบไฟกลาง และพัฒนาไปเป็นวิทยุโทรศัพท์ ซึ่งเปิดใช้ครั้งแรกในวันที่ 15 เม.ย.2474 
  • พ.ศ.2436 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้มีการติดตั้งโทรเลขและโทรศัพท์ตามป้อมปราการต่าง ๆ เริ่มต้นที่ปากน้ำ จ.สมุทรปราการ เพื่อรายงานเหตุการณ์และให้ติดต่อสื่อสารกับพระนครอย่างรวดเร็ว สามารถป้องกันประเทศจากการรุกรานได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังมีการริเริ่มให้มีการจัดการการปกครองส่วนภูมิภาคเสียใหม่ ทางสายโทรเลขจึงเป็นเครื่องมือ เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างท้องถิ่นให้รวดเร็วยิ่งขึ้น 
  • พ.ศ.2441 ได้มีการรวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนที่ทำการ เพื่อให้สะดวกและติดต่อกันได้ง่ายขึ้น
  • พ.ศ.2447 ได้มีการนำระบบวิทยุโทรเลขมาใช้งานเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นพื้นฐานการสื่อสารแบบไร้สายในยุคเวลาต่อมา
  • พ.ศ.2471 กิจการโทรเลขได้เปิดให้การบริการต่อเนื่อง โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขได้เปิดให้บริการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นครั้งแรก 
  • พ.ศ.2480 โทรศัพท์แบบอัตโนมัติเริ่มเข้ามาสู่สังคมไทยเป็นช่วงแรก
  • พ.ศ.2496 นายช่างสมาน บุญยรัตพันธ์ ได้เริ่มประดิษฐ์คิดค้นเรื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้อยู่ในแป้นเดียวกัน จึงสามารถให้บริการส่งโทรเลขและโทรพิมพ์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • พ.ศ.2505 มีการให้บริการเทเล็กซ์ในกรุงเทพฯ สำหรับติดต่อสื่อสารกันได้เอง ต่อจากนั้นก็ได้มีเครื่องโทรสารเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการสื่อสารด้วยเช่นกัน
  • พ.ศ.2509 ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ ทำให้มีการถ่ายภาพผ่านดาวเทียมอวกาศครั้งแรก และครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อยานอะพอลโล 11 และนีล อาร์มสตรอง กำลังสื่อสารให้ชาวโลกรับรู้ถึงก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ
  • ต่อมา พ.ศ.2514 มีการใช้ชุมสายโทรศัพท์ครั้งแรก เมื่อได้รับความนิยมเพิ่มสูง ก็มีการพัฒนาระบบสื่อสารเรื่อยมา
  • พ.ศ.2520 ก่อตั้ง กสท.ทำหน้าที่ดูแลและให้บริการกิจการการติดต่อสื่อสารต่างๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ สมารถนำผลกำไรส่งเข้ารัฐ ไม่น้อยกว่า 50% ของกำไรสุทธิ และส่วนหนึ่งนำมาใช้ในการให้บริการ วางรากฐานระบบการสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีการใช้โลโก้แบรนด์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก 

ยุคดิจิทัล

  • พ.ศ.2546 มีการก่อตั้งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และแยกไปรษณีย์ออก ต่อมามีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การสื่อสารรับส่งสัญญาณเสียง ภาพ และข้อมูล มีความสะดวกและสามารถสื่อสารได้ทุกที่ทุกเวลา  

วันสื่อสารแห่งชาตินั้นมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีการจัดงานและจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการสื่อสารไทยต่อคนรุ่นใหม่

ที่มา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรสำนักงานกสทช.,

อ่านข่าวอื่นๆ :

วันหยุดเดือนสิงหาคม 2566 เช็กวันหยุดยาว วันหยุดธนาคาร วันพระ

"ไทย"ติด TOP 10 ประเทศวันหยุดราชการ "อินเดีย" สูงสุด 112 วัน

ปฏิทินวันหยุดปี 2567 วันหยุดราชการ วันหยุดยาว

เช็ก! วันหยุดราชการ วันหยุดยาว สิงหาคม-ธันวาคม 2566 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง