ชวนรู้จัก กีฬาฟุตบอลคนตาบอด

กีฬา
17 ส.ค. 66
07:00
1,551
Logo Thai PBS
ชวนรู้จัก กีฬาฟุตบอลคนตาบอด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทำความรู้จักกติกา “ฟุตบอลคนตาบอด” ก่อนเชียร์ทีมชาติไทย ในศึกฟุตบอลคนตาบอดชิงแชมป์โลก (IBSA Blind Futball World Cup) ที่ประเทศอังกฤษ

เปิดฉากขึ้นแล้วกับ การแข่งขันฟุตบอลคนตาบอดชิงแชมป์โลก (IBSA Blind Futball World Cup) ซึ่งเป็นรายการแข่งขันฟุตบอลคนตาบอดรายการใหญ่รายการหนึ่งของโลก ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการกีฬาคนตาบอดสากล และ ฟีฟ่า โดยจัดขึ้นทุก 4 ปี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1996

การแข่งขันครั้งนี้ไทยเข้าร่วมในฐานะรองแชมป์เอเชีย ไทยอยู่ในกลุ่ม A ร่วมกับ ญี่ปุ่น,อิตาลี และตุรกี เป้าหมายสำคัญคือ การคว้าตั๋วไปแข่งขัน พาราลิมปิกเกมส์ 2024 ซึ่งทัพช้างเผือกไทยเดินทางไปเก็บตัวที่อังกฤษ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อเตรียมพร้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

นอกเหนือการร่วมเชียร์และให้กำลังใจนักกีฬาไทยให้สามารถประสบความสำเร็จในการแข่งขันแล้ว ไทยพีบีเอสออนไลน์ ก็อยากช่วนไปทำความรู้จัก กีฬาฟุตบอลคนตาบอดมีกติกาอะไรบ้าง

กติกาการแข่งขันจะคล้ายกับ การแข่งขันฟุตซอล โดยจะมีผู้เล่น 2 ฝั่ง ฝั่งละ 5 คน แบ่งเป็น ผู้เล่น 4 คน และ ผู้รักษาประตู 1 คน ซึ่งเป็นผู้เล่นสายตาปกติ

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากีฬาชนิดนี้ มักจะถูกเรียกว่า ฟุตบอลคนตาบอด แต่แท้จริงแล้ว ต้องใช้คำว่า "ผู้พิการทางสายตา" เนื่องจากมีความแตกต่างในหลายระดับจึงจำเป็นต้องมีการจัดคลาส เช่น B1 – บอดหรือเกือบบอดสนิท มองไม่เห็นแสงหรือเห็น แต่ไม่รู้ขนาดของมือ, B2 – มองเห็นบางส่วน สามารถรับรู้ขนาดของมือได้ มองเห็นได้ในระดับ 5, 3 – มองเห็นบางส่วน สามารถรับรู้ขนาดของมือได้ มองเห็นได้ในระดับ 5-20

แต่อย่างไรก็ตาม จะมีการสวมผ้าปิดตาเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบ-เสียเปรียบในการแข่งขันด้วย รวมถึงในการแข่งขัยนจะไม่อนุญาตให้กงอเชียงร์ส่งเสียงเชียร์ เนื่องจากนักกีฬาต้องใช้การฟังเสียงในการเล่น 

ขณะที่ ผู้รักษาประตู สามารถเป็นคนตาปกติได้ แต่มีเงื่อนไข คือ ห้ามลงทะเบียนในการเป็นนักเตะอาชีพของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ "ฟีฟ่า" อย่างน้อย 5 ปี ย้อนหลัง

สนามแข่งขันในศึกชิงแชมป์โลกที่ประเทศอังกฤษ

สนามแข่งขันในศึกชิงแชมป์โลกที่ประเทศอังกฤษ

สนามแข่งขันในศึกชิงแชมป์โลกที่ประเทศอังกฤษ

สนามแข่งขันฟุตบอลคนตาบอด จะมีขนาด 40 x 20 ม. แข่งครึ่งละ 25 นาที พักเบรก 10 นาที ซึ่งถือเป็นอีกชนิดหนึ่งกีฬาที่ได้รับความสนใจมากในพาราลิมปิกเกมส์ 

บริเวณริมสนามจะมีแผงกั้นไม่ให้ลูกออกนอกสนามแต่การแข่งขันกีฬาฟุตบอลคนตาบอด จะไม่มีการออกข้างของลูกฟุตบอล โดยด้านข้างสนามจะมีแผ่นป้ายกั้นเอาไว้ จึงไม่มีการ คิกอิน เหมือนกับการแข่งขันฟุตซอล เมื่อเตะลูกออกหลังผู้รักษาประตูจะได้เตะเริ่มเกมบุกอีกครั้ง

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ทัพนักกีฬาคนตาบอดทีมชาติไทย ขณะฝึกซ้อม

ในระหว่างการแข่งขัน ผู้รักษาประตู จะอยู่เฉพาะในกรอบเขตขนาดเล็กบริเวณหน้าประตูของตัวเองเท่านั้น เนื่องจากเป็นผู้เล่นคนเดียวที่สายตาปกติ ทำให้ผู้รักษาประตูจะมีหน้าที่เพียงป้องกันประตูเท่านั้น เมื่อเตะออกหลัง หรือ ยิงเข้าประตู จะหยุดเวลาการแข่งขันเหมือนกับฟุตซอล

สิ่งสำคัญในการเล่นฟุตบอลของคนตาบอดก็คือ "ลูกบอลมีเสียง" โดย ลูกบอล ที่ใช้ในการแข่งขันจะมีลักษณะพิเศษกว่า ลูกฟุตบอลทั่วไป คือ มีการบรรจุอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียงไว้ข้างใน เพื่อให้นักเตะทราบการเคลื่อนที่และตำแหน่งของลูกฟุตบอล และสามารถส่งหรือยิงได้แม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมี "โกล์ไกด์" ซึ่งทำหน้าที่สั่งการอยู่หลังประตูของคู่แข่ง และบอกทิศทางการยิงให้กับกองหน้าของทีมตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำประตูได้

ที่มา เพจ ejan / Ballthai.gcom   siamsport.co.th/ทีวีพูลออนไลน์

 

โปรแกรม การแข่งขันฟุตบอล ชิงแชมป์โลก 2023

วันที่ 15 ส.ค.2023

เวลา 20.30 น. ไทย พบ ตุรกี

วันที่ 17 ส.ค.2023

เวลา 20.30 น.ไทย พบ ญี่ปุ่น

วันที่ 19 ส.ค.2023

เวลา 20.30 น.ไทย พบ อิตาลี 

อ่านข่าว 

เปิดโปรแกรม ฟุตบอลตาบอดทีมชาติไทย ลุยศึกชิงแชมป์โลก 2023  

แข้งตาบอดไทย เสมอ ตุรกี เก็บแต้มแรกศึกชิงแชมป์โลก

แข้งตาบอดไทย ลุ้นคว้าชัยเหนือญี่ปุ่น ศึกชิงแชมป์โลก เย็นนี้

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง