ไม่ผิดหวัง! "ซูเปอร์บลูมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี

Logo Thai PBS
ไม่ผิดหวัง! "ซูเปอร์บลูมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี "ซูเปอร์บลูมูน" หลายจังหวัดเฝ้ารอชมดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เหนือท้องฟ้า หากพลาดต้องรออีก 3 ปี

วันที่ 30 ส.ค.2566 ที่บริเวณริมแม่น้ำโขงหน้าโรงเรียนอนุบาลบึงกาฬวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ เขตเทศบาลเมืองบึงกาฬ มีประชาชน และนักท่องเที่ยว มารอชมปรากฏการณ์ "ซูเปอร์ฟลูมูน" เป็นจำนวนมาก ซึ่งดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร และเมื่อคืนนี้ยังเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon) ตั้งแต่เวลา 18.09 น. จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 ส.ค.

อ่านข่าว : "ซูเปอร์บลูมูน" ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกสุดในรอบปี คืนวันที่ 30 ส.ค.66

โดยดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15% โดยในพื้นที่ จ.บึงกาฬ สามารถมองเห็นในเวลาประมาณ 19.30 น. ทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่มารอชมได้ผิดหวัง หลังก้อนเมฆลอยออกจากดวงจันทร์ มองเห็นเด่นชัด สวยงาม พร้อมถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก

นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อ.เมืองภูเก็ตดวงจันทร์เต็มดวง

นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อ.เมืองภูเก็ตดวงจันทร์เต็มดวง

นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อ.เมืองภูเก็ตดวงจันทร์เต็มดวง

ขณะที่นักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อ.เมืองภูเก็ต และเยาวชนที่สนใจ กว่า 100 คน เข้าร่วมกิจกรรมชมปรากฏการณ์บนท้องฟ้าดวงจันทร์เต็มดวง และเข้าใกล้โลกมากที่สุด ด้วยกล้องโทรทรรศน์คอปโซเนียน ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครองเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากพลาดครั้งนี้ต้องรออีก 14 ปี ถึงจะเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมฐานส่งเสริมการเรียนรู้ดาราศาสตร์

ซูเปอร์บลูมูน จาก จ.ตรัง

ซูเปอร์บลูมูน จาก จ.ตรัง

ซูเปอร์บลูมูน จาก จ.ตรัง

ส่วนในพื้นที่ จ.ตรัง ในช่วงพลบค่ำมีเมฆบดบังดวงจันทร์ จนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. เมฆก็ค่อยพัดออกไป มีลักษณะเป็นรูปคล้ายพะยูน โลมา กำลังแหวกว่าย และสามารถมองเห็นซูเปอร์บลูมูน ได้ในเวลา 19.15 น. ทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่มารอชมไม่ผิดหวัง หลังก้อนเมฆลอยออกจากดวงจันทร์ มองเห็นได้เด่นชัด ก่อนจะถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกและโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย

สำหรับปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ต.ค.2567 ส่วนปรากฏการณ์บลูมูนครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 31 พ.ค.2569

ข่าวที่เกี่ยวข้อง