กกต.ให้ใช้หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ในแอปฯรัฐ ไปลง 'ประชามติ' ได้แล้ว

การเมือง
31 ส.ค. 66
12:56
286
Logo Thai PBS
กกต.ให้ใช้หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ในแอปฯรัฐ ไปลง 'ประชามติ' ได้แล้ว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบ กกต.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่2) แก้ไขให้สามารถใช้ภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอปพลิเคชันของหน่วยงานของรัฐได้

 วานนี้ (30 ส.ค.66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2565 เพื่อให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น

อ่านข่าว "เพื่อไทย" รับเรื่อง "ไอลอว์" เสนอคำถามทำประชามติร่าง รธน.ฉบับใหม่ 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2560 ประกอบมาตรา 6 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกระเบียบเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติไว้ ดังนี้

ข้อ 1.ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566

ข้อ 2.ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

อ่านข่าว "ชูศักดิ์" คาดใช้เวลา 3 ปีทำประชามติ ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 

ข้อ 3.ให้ยกเลิกความในข้อ 83 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ 83 หลักฐานในการแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิออกเสียง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร รวมถึงหลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอปพลิเคชันของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์"

ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2566 อิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง 30 สิงหาคม 2566

อ่านข่าวที่เกี่ยวข่้อง 

เลือกตั้ง2566 : ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ใช้หลักฐานแสดงตนอะไรได้บ้าง? 

"เพื่อไทย" รับเรื่อง "ไอลอว์" เสนอคำถามทำประชามติร่าง รธน.ฉบับใหม่  

มติสภาฯ ไม่เห็นด้วย "ก้าวไกล" ขอเลื่อนญัตติถกคำถามประชามติแก้รธน.พิจารณาก่อน 

"ชูศักดิ์" คาดใช้เวลา 3 ปีทำประชามติ ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง