รู้จักกีฬา 6 ชนิด ที่มีเฉพาะใน "เอเชียนเกมส์"

กีฬา
18 ก.ย. 66
06:30
2,450
Logo Thai PBS
รู้จักกีฬา 6 ชนิด ที่มีเฉพาะใน "เอเชียนเกมส์"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 หรือ หางโจวเกมส์ 2022 ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการแข่งขันทั้งหมด 40 ชนิดกีฬา 61 ประเภทกีฬา แต่มีกีฬาเพียง 6 ประเภท เท่านั้น ที่ได้รับความสนใจ ด้วยเพราะไม่มีการแข่งขันในเกมส์ไหนเลย ยกเว้น "เอเชียนเกมส์"

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้รวบรวมและนำมาเรียบเรียงเพื่อให้รู้จักกันว่า กิจกรรมทั้ง 6 ชนิดที่เรียกว่ากีฬา ในเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 นี้ มีอะไรบ้าง

Hangzhou Sports Park Stadium

Hangzhou Sports Park Stadium

Hangzhou Sports Park Stadium

ไพ่บริดจ์ (Bridge)

บริดจ์ (Bridge) หรือเกมไพ่ชนิดหนึ่ง เป็นกีฬาไม่ได้มุ่งเน้นที่พละกำลัง แต่วัดผลแพ้ชนะด้านสติปัญญา การวิเคราะห์ โดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น

ในหนึ่งโต๊ะของการเล่นบริดจ์จะมีผู้เล่น 4 คน ผู้เล่นที่นั่งฝั่งตรงข้ามจะถือว่าอยู่ฝ่ายเดียวกัน โดยจะเรียกว่า "คู่ขา" (Partner) และผู้เล่นที่นั่งด้านข้างจะเรียกว่า "ปรปักษ์" (Opponent) โดยบนโต๊ะแข่งขันจะมีฉากกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เล่นทีมเดียวกัน ส่งสัญญาณช่วยเหลือกัน ทำให้ทั้งคู่ต้องใช้ไหวพริบในการวางแผน เพื่อทำแต้มเอาชนะการประมูลจากฝ่ายตรงข้าม

กีฬาบริดจ์

กีฬาบริดจ์

กีฬาบริดจ์

สำหรับการเล่นบริดจ์ เมื่อผู้เล่นแจกไพ่ทั้งสำรับ คือ 52 ใบ แต่ละคนจะได้คนละ 13 ใบ และเมื่อมีคนหนึ่งนำไพ่ หรือลงไพ่ใบแรก ผู้เล่นทุกคนจะต้องตามไพ่ ในดอกเดียวกับผู้นำจนครบรอบ ผู้ที่ชนะจะได้ 1 ตองกิน หรือ 1 Trick

ความสนุกของกีฬาชนิดนี้ คือ ผู้เล่น 3 คน จะเห็นไพ่ครึ่งกอง คือ 13 ใบ บนมือตัวเอง และอีก 13 ใบ ที่เป็นของผู้เล่นอีกคน ที่ต้องเปิดไว้ตามกติกา หากผู้เล่นคนนั้นอยู่ในทีมที่มีแต้มรวมของไพ่สูงสุด แต่เมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมทีมแล้ว ตนมีแต้มรวมของไพ่น้อยกว่า เมื่อรู้เขา รู้เรา การวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

หมากรุกสากล (Chess)

หมากรุกสากล ถือว่าเป็นกีฬาอีกประเภทที่ IOC ยอมรับว่าเป็นกีฬาแข่งขันและมีการแข่งขันกันในงานกีฬานานาชาติหลายๆ งาน อย่างใน เอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ 2017 ที่กำลังจะจัดแข่งขันในเดือน ก.ย.นี้ ก็มีเปิดแข่งขันถึง 6 รายการ ซึ่งในงานนี้ไม่ได้จัดแข่งแค่รูปแบบการเล่นปกติทั่วไป แต่ยังมีการแข่งเกมเร็วแบบ blitz และ rapid ให้เข้าชิงเหรียญกันด้วย

หมากรุกสากล ถือว่าเป็นกีฬาอีกประเภทที่ IOC ยอมรับว่าเป็นกีฬาแข่งขันและมีการแข่งขันกันในงานกีฬานานาชาติหลายๆ งาน

หมากรุกสากล ถือว่าเป็นกีฬาอีกประเภทที่ IOC ยอมรับว่าเป็นกีฬาแข่งขันและมีการแข่งขันกันในงานกีฬานานาชาติหลายๆ งาน

หมากรุกสากล ถือว่าเป็นกีฬาอีกประเภทที่ IOC ยอมรับว่าเป็นกีฬาแข่งขันและมีการแข่งขันกันในงานกีฬานานาชาติหลายๆ งาน

หมากล้อม (Go)

หมากล้อม หรือ โกะ เป็นหมากกระดานประเภทหนึ่ง ใช้ผู้เล่น 2 คน แต่ละคนใช้หมากในการเล่นคนละสีคือ สีขาวและสีดำ หมากล้อมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อเกือบ 4,000 ปีที่แล้ว มักนิยมเล่นในหมู่ชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ และยังถือเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน ซึ่งประกอบไปด้วย ดนตรี โคลงกลอน ภาพวาด และหมากล้อม นั่นเอง

หลังจากนั้นหมากล้อมได้เผยแพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ก่อนเผยแพร่ไปยังประเทศอื่น ๆ ในเวลาต่อมา

หมากล้อม แพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี

หมากล้อม แพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี

หมากล้อม แพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี

ในประเทศไทยเริ่มมีการรวมตัวของผู้เล่นหมากล้อมตั้งแต่ปี 1980 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IGF ในปี 1983 จนกระทั่งปี 1993 คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ได้ก่อตั้งชมรมหมากล้อมแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่หมากล้อมให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขว้างเรื่อยมา ปัจจุบันได้ยกสถานะเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย (GO ASSOCIATION OF THAILAND) และได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทย

อีสปอร์ต (E-Sports)

ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2022 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้บรรจุ 8 เกมดัง ให้เป็นกีฬาอีสปอร์ตที่จะมีแข่งขันกันด้วยแล้ว

E-Sports

E-Sports

E-Sports

โดยกีฬาอีสปอร์ตแต่ละเกมของเอเชียนเกมส์ จะมีการชิงเหรียญทอง เงิน และทองแดง ต่อ 1 รายการ เท่ากับว่า ทั้ง 8 เกม จะชิงทั้งหมด 24 เหรียญ ในขณะที่จะมีอีก 2 เกม ที่ถูกจัดให้เป็นกีฬาสาธิต ที่ไม่มีการชิงเหรียญ คือ เกม Robot Masters และ VR Sports

(ขอบคุณข้อมูล https://www.online-station.net/pc-console-game/431749)

กาบัดดี้ (Kabaddi)

กาบัดดี้ เป็นกีฬาพื้นบ้านในแถบเอเชีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อินเดียและปากีสถาน เรียกว่า กาบัดดี้, ศรีลังกา เรียก กูดู, เนปาล เรียก โดโด, มาเลเซีย เรียก ชิดูกูดู และ ประเทศไทย เรียกว่า ตี่จับ

กาบัดดี้ กลายเป็นกีฬาที่มีการเล่นอย่างแพร่หลาย และจัดตั้งเป็นสหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย (A.A.K.F.) เมื่อเดือน พ.ค.2521 อีก 12 ปีต่อมา กาบัดดี้ถูกบรรจุให้จัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2533 แต่สงวนสำหรับนักกีฬาชายเท่านั้น

ปี 2553 กาบัดดี้ประเภทหญิง ถูกบรรจุให้มีการแข่งขันครั้งแรกที่กวางโจวเกมส์ ทีมชาติไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก และเข้าชิงเหรียญทองกับชาติอินเดีย

กาบัดดี้เหมือนตี่จับในประเทศไทย ถูกบรรจุให้จัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2533

กาบัดดี้เหมือนตี่จับในประเทศไทย ถูกบรรจุให้จัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2533

กาบัดดี้เหมือนตี่จับในประเทศไทย ถูกบรรจุให้จัดการแข่งขันในมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2533

สำหรับการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง แข่งขันครึ่งละ 20 นาที ผู้เล่นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 7 คน (มีผู้เล่นสำรองฝ่ายละ 5 คน 12 คน) แต่ละฝ่ายจะผลัดกันเป็นฝ่ายรุก และฝ่ายรับ หากเป็นฝ่ายรุก ผู้เล่น 1 คนของฝ่ายรุกจะต้องเดินไปยังฝั่งตรงข้าม ส่วนฝ่ายรับ 7 คน จะต้องยืนจับมือเรียงกันเป็นแถวไว้ คอยต้อนไม่ให้คนรุกกลับเข้าไปในแดนของตัวเอง หรือสามารถแตะเส้นกลางสนามได้

ผู้รุกหากเดินเลยเส้นกลางสนามไปแล้ว ต้องเปล่งเสียง "กาบัดดี้" ตลอดช่วงการหายใจครั้งเดียว และต้องพยายามแตะตัวฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งกลับไปแตะเส้นกลางสนามให้ได้ หากผู้เล่นฝ่ายรุกคนนั้นใช้เวลารุกนานกว่า 30 วินาที ไม่กลับแดนของตัวเอง ฝ่ายรับจะได้คะแนนทางเทคนิค 1 คะแนนทันที

คูราช (Kurash)

คูราชเป็นกีฬาการปล้ำต่อสู้ในท่ายืน ผสมผสานระหว่างมวยปล้ำและยูโด มีต้นกำเนิดจากแถบอุสเบกิสถาน เมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว “คูราช” เป็นภาษาอุสเบก หมายถึง การไปให้ถึงจุดหมายอย่างสมเหตุสมผลหรือวิธีที่ยุติธรรม

ในประวัติศาสตร์ของประเทศทางตะวันออกในทวีปเอเชีย ระบุว่า คูราชเป็นศิลปะการต่อสู้ หรือกีฬาของสาธารณชน เพื่อความสนุกสนาน ตำนานของเอเชียกลาง กล่าวว่า เป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด และนิยมฝึกฝนอย่างกว้างขวาง

คูราชเป็นกีฬาการปล้ำต่อสู้ในท่ายืน ผสมผสานระหว่างมวยปล้ำและยูโด มีต้นกำเนิดจากแถบอุสเบกิสถาน เมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว

คูราชเป็นกีฬาการปล้ำต่อสู้ในท่ายืน ผสมผสานระหว่างมวยปล้ำและยูโด มีต้นกำเนิดจากแถบอุสเบกิสถาน เมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว

คูราชเป็นกีฬาการปล้ำต่อสู้ในท่ายืน ผสมผสานระหว่างมวยปล้ำและยูโด มีต้นกำเนิดจากแถบอุสเบกิสถาน เมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว

ในเอเชียกลาง คูราชเป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการรักษาสุขภาพ ทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ แต่ไม่ปรากฏแน่นอนว่า ได้เริ่มฝึกฝนหรือมีกำเนิดครั้งแรกโดยใคร ที่ไหน และเมื่อใด แต่ส่วนมากต่างเห็นพ้องต้องกันว่า คูราชเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งที่ผู้คนฝึกฝนกันมา และพัฒนามาจนขยายไปทั่วโลก

วูซู (Wushu)

เป็นกีฬาศิลปะการต่อสู้ของชาวจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และมีบทบาทสำคัญในทุกยุคสมัย ที่มีการรบทัพจับศึกของประเทศจีน

คำว่า วูซู แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ ในภาษาของชาวพื้นเมือง วูซู เรียกว่า กังฟู ต่อมาเมื่อจีนเปิดประเทศ และพัฒนาวูซูเป็นกีฬา จึงให้เรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชีย

กีฬาวูซู บรรจุในเอเชียนเกมส์ครั้งแรก เมื่อครั้งที่ 11 ปี ค.ศ.1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

กีฬาวูซู บรรจุในเอเชียนเกมส์ครั้งแรก เมื่อครั้งที่ 11 ปี ค.ศ.1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

กีฬาวูซู บรรจุในเอเชียนเกมส์ครั้งแรก เมื่อครั้งที่ 11 ปี ค.ศ.1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

จากนั้นประเทศไทยได้นำวิชาวูซู เข้าสู่ประเทศมาตั้งแต่โบราณ และฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้ปัจจุบันคนไทยรู้จักวูซู เพียงแค่การรำมวยจีนเพื่อสุขภาพเท่านั้น

สมาคมวูซูตั้งขึ้นในประเทศไทย ปี 2521 โดยอาจารย์บลู ดิษยบุตร และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสมาคมกีฬาวูซูในปี 2529 ต่อมาการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้สนับสนุนอีกด้วย จากนั้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสมาคมสหพันธ์วูซูแห่งประเทศไทยในปี 2534

เซปักตระกร้อ (Sepak Takraw)

ตะกร้อ เป็นกีฬาเก่าแก่ที่นิยมเล่นในภูมิภาคอาเซียน หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทย มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์ ต่างก็อ้างว่าประเทศตนเป็นต้นตำรับ

เมียนมาเรียกว่า "ชิงลง" มีหลักฐานบันทึกว่า เมื่อ พ.ศ.2310 ครั้นพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น เหล่าทหารได้เล่นกีฬาประเภทนี้กันอย่างครื้นเครง ส่วนไทยบันทึกว่า กีฬาประเภทนี้มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นละเล่นเตะตะกร้อวง และเตะตะกร้อลอดห่วง บนลานกว้าง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

ส่วนฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกีฬาประเภทนี้มาอย่างยาวนาน เรียกว่า Sipak ส่วนมาเลเซียเรียกการเล่นตะกร้อว่า Sepak Raga ซึ่งคำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

ตะกร้อ เป็นกีฬาเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็อ้างว่าเป็นต้นตำรับ 
 บรรจุในเอเชียนเกมส์ครั้งแรก เมื่อครั้งที่ 11 ปี ค.ศ.1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ตะกร้อ เป็นกีฬาเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็อ้างว่าเป็นต้นตำรับ บรรจุในเอเชียนเกมส์ครั้งแรก เมื่อครั้งที่ 11 ปี ค.ศ.1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

แต่ถ้ากล่าวถึงเซปักตะกร้อ แบบเตะข้ามตาข่าย ที่รแข่งขันในระดับนานาชาติ ก็เป็นที่ยอมรับว่า มีที่มาจากมาเลเซีย โดยนำคุณสมบัติของกีฬาอื่น ๆ เช่น วอลเลย์บอล เข้ามาประยุกต์ผสมผสาน เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ

นอกจากนั้น ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ก็มีรูปแบบการละเล่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นในภาพเขียนของจีนโบราณ จะปรากฏภาพการละเล่นที่เรียกว่า "เตกโก" ที่นำหนังขนไก่มาเตะกัน หรือที่ประเทศเกาหลี จะใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลี ปักด้วยหางไก่ฟ้า แล้วนำมาเตะร่วมกัน เป็นต้น

กีฬาชนิดนี้บรรจุในเอเชียนเกมส์ครั้งแรก เมื่อครั้งที่ 11 ปี ค.ศ.1990 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

ขอบคุณข้อมูล
http://addnewsphitsanulok.com/add2019/?p=8479
https://www.siamsporttalk.com/th/entertainment/menus-general/872-wushu.html
https://www.mangozero.com/asiangames-2018-7kind-of-sports/
https://workpointtoday.com
https://thematter.co/entertainment/7-mind-sports-hardly-sweat/31076
https://www.tpapress.com/knowledge_detail.php?k=111

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19" จัดที่ไหน-เริ่มเมื่อไหร่

“เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19” มีกีฬาแข่งขันกี่ชนิด

เปิดตัวมาสคอต 3 แบบ แห่ง“เอเชียนเกมส์ 2022” สะท้อนความเป็นหางโจว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง