คุยเรื่องเขา "อิเหนา" ย้ายเมืองหลวง จากชวามุ่งหน้าสู่บอร์เนียว

ต่างประเทศ
19 ก.ย. 66
13:28
449
Logo Thai PBS
คุยเรื่องเขา "อิเหนา" ย้ายเมืองหลวง จากชวามุ่งหน้าสู่บอร์เนียว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
Wrap up กันอีกครั้งเกี่ยวกับ "อินโดนีเซีย" ทั้งที่ผ่านมาและ "ที่" ที่กำลังจะไป อนาคตของประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมืองหลวงใหม่ที่กำลังสร้าง ความสำเร็จ (หรือไม่) ของ "โจโกวี" ผ่านเสียงเรียกร้องจากผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ

อินโดนีเซีย 101 : ใหญ่สุด เยอะสุด หลากหลายสุด  

อินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่สุด มีประชากรมากที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศประชาธิปไตย ที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก

อินโดนีเซียมีเกาะหลัก 5 เกาะ คือ นิวกินี, ชวา, กาลิมันตัน, ซูลาเวซี และ สุมาตรา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะสุมาตรา ส่วน เกาะชวา เป็นเกาะที่เล็กที่สุด ในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากร หรือกว่า 200 ล้านคน อาศัยอยู่บนเกาะชวา และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงปัจจุบัน

อินโดนีเซีย ประกอบด้วย 5 เกาะหลัก และมีหมู่เกาะเล็กๆ อีกมากมายราว 17,000 เกาะ

อินโดนีเซีย ประกอบด้วย 5 เกาะหลัก และมีหมู่เกาะเล็กๆ อีกมากมายราว 17,000 เกาะ

อินโดนีเซีย ประกอบด้วย 5 เกาะหลัก และมีหมู่เกาะเล็กๆ อีกมากมายราว 17,000 เกาะ

อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมานาน ต่อมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์ ในปัจจุบัน) กว่า 300 ปี หลังจากประกาศเอกราชอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2492 และได้ประธานาธิบดีคนแรกคือ "ซูการ์โน"

ความพยายามที่จะย้ายเมืองหลวง กลายเป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองอันแรงกล้า และเป็นความทะเยอทะยานที่ซูการ์โน คิดจะทำ แม้ไม่สำเร็จ แต่สิ่งนี้กลับถูกส่งต่อผ่านรุ่นสู่รุ่นทำเนียบประธานาธิบดีอินโดนีเซียจนถึงคนปัจจุบัน "โจโก วิโดโด" 

จายาการ์ตา-บัตตาเวีย-จาการ์ตา

เดิมทีศูนย์กลางประเทศ ก็อยู่ที่ตั้งที่เดียวกันกับ "จาการ์ตา" ในปัจจุบัน แต่ในยุคก่อนล่าอาณานิคม เมื่อ พ.ศ.2070 พื้นที่บริเวณด้านบน ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีชื่อเดิมว่า "จายาการ์ตา (Jayakarta)" ที่แปลว่า มีชัยและรุ่งโรจน์ โดย "ฟาเลเตฮาน (Faletehan)" ผู้นำจากอาณาจักรทางเหนือเป็นผู้ตั้งชื่อให้หลังจากยึดครองสำเร็จ 

มัสยิดในสมัยจายาการ์ตา

มัสยิดในสมัยจายาการ์ตา

มัสยิดในสมัยจายาการ์ตา

เมื่อชาวดัตช์เข้ามาในปี 2162 กองกำลังของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East India Company) เข้ายึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็น "บาตาเวีย หรือ บัตตาเวีย (Batavia)" ชาวดัตช์ได้ปกครองและพัฒนาเมืองบัตตาเวียจนกลายเป็นเมืองสำคัญทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ การส่งออกจากพื้นที่ใดๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบัตตาเวียทั้งสิ้น

ภาพวาดสีน้ำมันเมืองเก่าบัตตาเวีย จาการ์ตา อินโดนีเซีย

ภาพวาดสีน้ำมันเมืองเก่าบัตตาเวีย จาการ์ตา อินโดนีเซีย

ภาพวาดสีน้ำมันเมืองเก่าบัตตาเวีย จาการ์ตา อินโดนีเซีย

แต่หลังจาก ญี่ปุ่นขับไล่ ฮอลันดาออกจากอินโดนีเซียได้สำเร็จในปี 2488 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวอิเหนาก็ชิงประกาศอิสรภาพพร้อมเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเป็นชื่อใหม่ที่ใกล้เคียงชื่อเดิมคือ "จาการ์ตา (Jakarta)" 

7 ทศวรรษย้ายเมืองหลวง สำเร็จในยุคผู้นำคนที่ 7 

อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ความพยายามที่จะย้ายเมืองหลวงอินโดนีเซียจากจาการ์ตา เกาะชวา ไปปักหลักที่อื่นนั้น มีมาตั้งแต่สมัย ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซียแล้ว และดูเหมือนกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ของประธานาธิบดีทุกคน 

อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มธ.

อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มธ.

อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มธ.

ประธานาธิบดีแทบทุกคน อยากย้ายเมืองหลวงไปที่เกาะบอร์เนียว
ยกเว้น ซูฮาโต ที่ให้อยู่ที่เกาะชวาเหมือนเดิม แต่เป็นพื้นที่อื่น
แต่ยังไงก็ตามทุกคนอยากย้ายเมืองหลวงหมด
ภาพประกอบข่าว ธงชาติอินโดนีเซีย

ภาพประกอบข่าว ธงชาติอินโดนีเซีย

ภาพประกอบข่าว ธงชาติอินโดนีเซีย

อ.อรอนงค์ มองในอีกแง่หนึ่งว่า นี่คือความพยายาม "ลบอดีต" ทั้งหมดในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดา และ "โจโกวี" คือผู้นำคนที่ 7 แต่เป็นคนแรกที่ทำได้สำเร็จ คำถามต่อมาคือ ในขณะที่การเลือกตั้งใหญ่ของอินโดนีเซียจะเกิดขึ้นในปี 2567 นี่คือความพยายามสานต่ออำนาจของ โจโกวี อีกหรือไม่ 

อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโดนีเซียตอบว่า โจโกวี คงไม่ได้ต้องการจะอยู่ในอำนาจต่อ เพราะกฎหมายของอินโดนีเซีย ไม่อนุญาตให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระ แต่มองว่ามันคือความสำเร็จในบทบาทผู้นำ ที่ทำได้เป็นคนแรก จาก 6 ผู้นำในอดีตที่ไม่มีใครทำสำเร็จเลย 

ถ้าเขาทำสำเร็จ เขาก็จะได้เป็นตำนานของอินโดนีเซีย 

"นูซันตารา" เมืองหลวงใหม่บน จ.กาลิมันตันตะวันออก เกาะบอร์เนียว

แต่แน่นอนว่า โจโกวี ไม่มีวันพูดว่า การย้ายเมืองหลวงเป็นความท้าทายของชีวิตการเป็นประธานาธิบดี แต่รัฐบาลให้เหตุผลว่า ด้วยปัจจุบันอัตราการทรุดตัวของจาการ์ตานั้นเร็วที่สุดในโลก

เมืองหลวงแห่งนี้กำลังจะจมน้ำทะเลในอีก 10 ปีข้างหน้า 

การผลักดันกฎหมายย้ายเมืองหลวงจึงเริ่มต้นขึ้นในปี 2562 และ แผนการย้ายเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2565 สิ้นสุดในปี 2588 ซึ่งครบ 100 ปีพอดีจากการประกาศอิสรภาพครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์ใหญ่ๆ 2 ข้อ คือ

  1. ประชากรล้นเมือง ถ้านับเฉพาะประชากรที่กระจุกตัวอยู่ในจาการ์ตาอย่างเป็นทางการ ในขณะนี้ประมาณ 10 ล้านคน แต่เชื่อว่ายังมีประชากรแฝงอยู่อีกเท่าตัวเช่นกัน การกระจุกตัวของประชากรในพื้นที่จำกัดที่เรียกว่า ชวาเซ็นทริก (Java-centric) ย่อมสร้างความเสื่อมโทรมให้จาการ์ตามากขึ้นเรื่อยๆ โจโกวีมองว่าการย้ายเมืองหลวงจะเป็นการกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่อื่นๆ 
    ชุมชน Pasar Senen ในกรุงจาการ์ตา

    ชุมชน Pasar Senen ในกรุงจาการ์ตา

    ชุมชน Pasar Senen ในกรุงจาการ์ตา



  2. ทำเลดี จ.กาลิมันตันตะวันออก เกาะบอร์เนียว ถือว่าเป็นพื้นที่กึ่งกลางของประเทศ มีพื้นที่ในการดูแลของรัฐบาลที่กว้างใหญ่ มีความพร้อมที่จะสร้างความเจริญขึ้นมาใหม่ได้ รวมถึงภูมิประเทศจะเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติได้ยาก หากเกิดการพัฒนาพื้นที่ จะช่วยเปิดช่องทางทำมาหากินให้คนในพื้นที่ รวมถึงประชากรจากที่อื่นอีกด้วย
    พื้นที่ป่าบนเกาะบอร์เนียว

    พื้นที่ป่าบนเกาะบอร์เนียว

    พื้นที่ป่าบนเกาะบอร์เนียว

ตำแหน่งอยู่ไม่นาน ตำนานตลอดไป

หากไม่มีอะไรผิดแผน ตำแหน่งเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ที่อยู่บนเกาะชวาจะเหลือเวลาไม่นาน จากนั้นตำนานที่ โจโกวี ต้องการ จะถูกพูดถึงบนพื้นที่เมืองหลวงใหม่ บนเกาะบอร์เนียว ตลอดไป 

ผิดแผนที่ว่าคือเสียงเรียกร้องทั้งจากคนในพื้นที่เกาะบอร์เนียวเอง ที่พยายามส่งเสียงว่าไม่ต้องการให้ย้ายเมืองหลวงมาที่นี่ แม้กลิ่นความเจริญที่ลอยมาไกลกว่า 2,000 กิโลเมตร แต่พวกเขากลับปฏิเสธ และขอใช้ชีวิตอยู่กับกลิ่นการจับปลาทะเล ทำประมง เกษตรกรรมในพื้นที่มากกว่า 

วิถีเกษตรกร ประมงพื้นบ้านของชาวบ้านบนเกาะบอร์เนียว

วิถีเกษตรกร ประมงพื้นบ้านของชาวบ้านบนเกาะบอร์เนียว

วิถีเกษตรกร ประมงพื้นบ้านของชาวบ้านบนเกาะบอร์เนียว

จริงอยู่ที่บ้านคนในพื้นที่น้ำไม่ท่วม แต่ถ้าสร้างเมืองใหม่ น้ำก็จะมาท่วมที่บ้านพวกเขาแทน ระบบนิเวศ ผืนป่า จะถูกทำลายเป็นวงกว้าง พวกเขาไม่ต้องการความเจริญที่มาพร้อมกับการทำลาย และมองว่าความเจริญจะทำให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ยังไง
อุรังอุตังที่อาศัยบนเกาะบอร์เนียว

อุรังอุตังที่อาศัยบนเกาะบอร์เนียว

อุรังอุตังที่อาศัยบนเกาะบอร์เนียว

ไม่ใช่เพียงแค่เสียงของชาวบ้านในพื้นที่ แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม NGO และกลุ่มต่างๆ ต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลโจโกวี ทบทวนเรื่องการย้ายเมืองให้มากกว่านี้ มีการยื่นฎีกาให้รัฐบาล

แต่โจโกวีตอบสนองด้วยการไม่ตอบสนอง

เช่นเดียวกับมาเลเซีย ที่ใช้พื้นที่ร่วมกันบนเกาะบอร์เนียว แม้จะไม่มีคำพูดโต้แย้งหรือไม่เห็นด้วยกับการย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ของอินโดนีเซียแต่อย่างใด แต่ทางการกระทำของรัฐบาลมาเลเซีย เริ่มให้ความสำคัญกับการปักเขตแดนตามแนวธรรมชาติมากขึ้น และเตรียมรับมือกับการขยายของเมืองเช่นกัน 

"รถติด-น้ำท่วม" ความเหมือนที่ไม่ต่างของ กรุงเทพฯ-จาการ์ตา

ไทยพีบีเอสออนไลน์ตั้งคำถามกับ อ.อรอนงค์ ว่า หากใช้เหตุผลเรื่องน้ำท่วม เมืองทรุด การกระจุกตัวของเมือง มาตั้งเงื่อนไขกับ กทม. บ้าง จะมีโอกาสที่ประเทศไทยจะได้เมืองหลวงใหม่เหมือนอินโดนีเซียหรือไม่ 

อ.อรอนงค์ มองว่ามี 2 สิ่งที่ทั้ง กทม. และ จาการ์ตา มีเหมือนกันจากสายตาที่หลากหลายของคนนอกคือ เรื่องของรถติด และน้ำท่วม หากคนไทยไปเที่ยวอินโดนีเซียก็มักจะพูดว่า จาการ์ตารถติดมาก ฉันใด คนอินโดนีเซียที่มาเที่ยวไทยก็จะพูดแบบเดียวกันฉันนั้น  

ความแออัดของกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

ความแออัดของกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

ความแออัดของกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

แต่การจะใช้ความเหมือนในเรื่องแบบนี้มาประยุกต์กับ การย้ายเมืองหลวงประเทศไทย มองว่าไม่น่าเกิดขึ้นได้ ย้อนกลับไปที่อินโดนีเซีย ต่อให้ย้ายเมืองหลวงใหม่ แต่จาการ์ตาก็ยังน่าเป็นห่วงเหมือนเดิม แทนที่จะนำงบประมาณมหาศาลไปสร้างเมืองใหม่ ควรนำมาพัฒนาในพื้นที่เดิมดีกว่า 

การย้ายหนีไปเรื่อยๆ ก็เหมือนการทิ้งปัญหาเอาไว้
ย้ายไปยังไงจาการ์ตาก็น้ำท่วมเหมือนเดิมอยู่ดี

อ่านข่าวเพิ่ม :

ติดตามชมสารคดีเชิงข่าว " Nusantara : Change-Hope-Loss นูซันตารา มหานครแห่งความหวัง "

30 เรื่องน่ารู้ "นูซันตารา" เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย

"จาการ์ตา-กทม." ความเหมือนเรื่องน้ำท่วมกับทางออกที่แตกต่าง

4 ปัจจัย กับ 10 เมืองใหญ่ของโลกที่กำลังจมน้ำ

"พนานคร" คอนเซปต์สร้าง "นูซันตารา" เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง