กทม.ชงมหาดไทยทบทวน ม.44 ปมสัมปทานบีทีเอส

เศรษฐกิจ
19 ก.ย. 66
11:34
533
Logo Thai PBS
กทม.ชงมหาดไทยทบทวน ม.44 ปมสัมปทานบีทีเอส
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ว่าฯ กทม. ชง ก.มหาดไทย ยกเลิก ม.44 ที่ผูกมัดเรื่องการทำสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสที่พัวพันทำให้ กทม. ไม่สามารถจ่ายค่าเดินรถให้บีทีเอสได้ รวมถึงการต่อสัญญาส่วนต่อขยาย โดยไม่ผ่านสภา กทม. ขณะนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันนี้ (19 ก.ย.2566) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าพบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ถึงเหตุผลที่ยังไม่สามารถจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้ากว่า 20,000 ล้านบาท ให้บีทีเอสได้ เพราะต้องรอการตัดสินใจจาก ครม.

เนื่องจากที่ผ่านมาการขยายสัญญาส่วนต่อขยาย ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม. และสมัย คสช.ได้ออกคำสั่งด้วย ม.44 ตั้งคณะกรรมการเจรจา แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.

อ่านข่าว : "ชัชชาติ" ย้ำ รอความหวัง รบ.ใหม่ ชี้ขาด "ยกเลิก ม.44 - ปมหนี้ BTS"

ยังรวมถึงประเด็นล่าสุดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และคดีในศาลปกครองสูงสุดไต่สวนอยู่ในขณะนี้

ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจกรณีที่ กทม.ต้องจ่ายเงินหนี้เดินรถและบริหารจัดการให้บีทีเอส อย่างน้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งต้องการให้กระทรวงมหาดไทยเสนอ ครม.ตัดสินใจ

ย้อนไปเมื่อปี 2563 การประชุม ครม.ช่วงเดือน พ.ย. มีรายงานว่า กระทรวงมหาดไทย เสนอที่ประชุมเกี่ยวกับผลการเจรจาและขอความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อขยายสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ออกไปอีก 30 ปี

จากเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ออกไปเป็นปี 2602 เพื่อแลกกับการที่เอกชนเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย แต่ ครม.ขณะนั้นไม่ลงมติเนื่องจาก กรมการขนส่งทางรางกระทรวงคมนาคม ได้เสนอความเห็นไม่เห็นด้วย ร่วมกับความเห็นของ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการขยายสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส สภาผู้แทนราษฎรขณะนั้นมีข้อสังเกต 4 ข้อคือ

1.ไม่ครบถ้วนตามหลัก พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ปี 2562

2.อัตราค่าโดยสารที่จะเก็บราคา 65 บาทตลอดสาย สูงกว่าราคาจริง ในเส้นทางที่บีทีเอส และสายสีน้ำเงินให้บริการในขณะนั้น

รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า

รถไฟฟ้า

3.การขยายสัมปทานออกไปจะทำให้ทรัพย์ที่จะตกเป็นของรัฐและได้ใช้ประโยชน์สูงสุด ตามสัมปทานเดิมที่จะสิ้นสุดปี 2572 ต้องขยายออกไปเป็นสิทธิของเอกชนอีก 30 ปี

4.การที่ กทม.ทำสัญญาเดินรถ ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ออกไปจนถึงปี 2585 ยังเป็นประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ที่ ป.ป.ช. ได้พิจารณา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสัมปทานใน ส่วนนี้จึงควรรอฟังข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับรัฐและประชาชน ซึ่งทั้งหมดทางกระทรวงคมนาคม ขณะนั้นได้เสนอ ครม. โดยย้ำว่าเพื่อความโปร่งใส

ข่าวอื่น ๆ 

กทม.เตรียมรับมือฝุ่น PM 2.5 "เข้มงวดต้นตอ - WFH ช่วงฝุ่นสูง"

"คมนาคม" หารือเดินหน้า รถไฟฟ้า 20 บ.ตลอดสาย นำร่องสายสีม่วง-สีแดง

"เศรษฐา" ชนหมัด "ชัชชาติ" หารือแนวทางพัฒนา กทม.

ไทยชนะคดีค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน-ชี้ขาดอายุความตาม กม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง