คาดพฤติกรรมผู้ต้องหาฆาตกรรมลูกอาจเชื่อมโยงปมวัยเด็ก

อาชญากรรม
20 ก.ย. 66
20:03
725
Logo Thai PBS
คาดพฤติกรรมผู้ต้องหาฆาตกรรมลูกอาจเชื่อมโยงปมวัยเด็ก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มุมของนักอาชญาวิทยา สะท้อนว่า พฤติกรรมของผู้ก่อเหตุฆาตกรรมลูก อาจจะเป็นโรคจิตชนิดเฉียบพลัน โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบว่าเป็นภาวะนี้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปมในวัยเด็ก

จากกรณีคดีพ่อฆ่าฝังศพลูก 2 ขวบ ในมุมของนายกัณฐ์ศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กันต์ จอมพลัง ซึ่งได้เข้าไปประสานเจ้าหน้าที่ให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จนนำมาสู่ความจริงในการฆาตกรรมเด็กอีกหลายคน ซึ่งนายกัณฐ์ศ ไม่เชื่อว่า ผู้ก่อเหตุจะป่วยจิตเวช เพราะมีการวางแผนมาอย่างดี

นายกัณฐ์ศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กันต์ จอมพลัง

นายกัณฐ์ศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กันต์ จอมพลัง

นายกัณฐ์ศว์ พงศ์ไพบูลย์เวชย์ หรือ กันต์ จอมพลัง

หากอ้างว่าป่วยเป็นจิตเวช ขณะที่ลูกป่วยอยู่ที่กรุงเทพฯ ขับรถไปกำแพงเพชรได้ ขุดหลุมได้ ซื้อปูนได้ ฉาบได้เรียบ พร้อมยัดใส่ถุง 3 ชั้น และเรียกหาทนายอย่างเดียว นี่บอกได้เลยว่า เจ้าเล่ห์ หัวหมอ

ขณะที่ในมุมของ ผศ.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ป.เอก (นานาชาติ) นักอาชญาวิทยา สะท้อนว่า พฤติกรรมของผู้ก่อเหตุ อาจจะเป็นโรคจิตชนิดเฉียบพลัน โดยที่เจ้าตัวไม่ทราบว่าเป็นภาวะนี้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับปมในวัยเด็ก

ผศ.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ป.เอก (นานาชาติ) นักอาชญาวิทยา

ผศ.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ป.เอก (นานาชาติ) นักอาชญาวิทยา

ผศ.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ป.เอก (นานาชาติ) นักอาชญาวิทยา

คือเป็นโรคจิตแบบเฉียบพลัน ซึ่งพวกนี้จะมีปัญหาในครอบครัว คือ ถ้าตรวจลงลึกไปจะพบว่า จะมาจากครอบครัวที่แตกแยกมีบาดแผลทางใจ และ ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่มากระตุ้นจังหวะพอดี เขาก็อาจขาดความยั้งคิด ก็ลงมือ ซึ่งเด็กไม่มีทางสู้ จึงฆ่าลูก คำว่า เฉียบพลัน คือ ณ เวลาที่เขาฆ่า อันนี้คือโรคจิตเฉียบพลัน 

อีกด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต อธิบายถึงกรณีหากผู้ก่อเหตุใช้ยาเสพติด อาจเข้าไปกระตุ้นสมองทำให้การควบคุมความคิดนั้นไม่ปกติ การยับยั้งชั่งใจลดลง นำไปสู่การใช้ความรุนแรง การโกหก การลักขโมย และหากใช้ยาเสพติดมากขึ้นอาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมหลงผิด ซึ่งครอบครัวต้องสังเกตพฤติกรรมและต้องรีบเข้าสู่กระบวนการรักษา

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต

ถ้าการเสพยามันหนักขึ้นไปอีก มันก็จะทำลายสมองไปอีกขั้นหนึ่ง นอกจากจะทำให้เกิดพฤติกรรมเสพติดแล้ว จะทำให้เกิดอาการหลงผิด หรือ ประสาทหลอน เช่น หวาดระแวง ใช้ความรุนแรงทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาการประสาทหลอนมันก็จะยิ่งหนักกว่าพฤติกรรมเสพติด ฉะนั้นเสพติดนี่คือโรคสมองติดยา ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดี

ทั้งจิตแพทย์ และนักอาชญาวิทยา บอกตรงกันว่า การดำเนินคดีกับผู้ที่มีอาการทางจิตเวช ต้องได้รับการประเมินจากแพทย์อย่างใกล้ชิด และหากพบอาการก็ต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ก่อนได้รับโทษตามกฎหมาย 

อ่านข่าว

พ่อสารภาพฆ่าลูก 2 ขวบ ฝังโบกปูนที่บ้านกำแพงเพชร

ตร.สอบขยายผลผู้ต้องหาฆ่าลูก พบเคยก่อเหตุมาแล้ว 4 ครั้ง  

ตร.เร่งค้นหาเด็กหายอีก 2 คน เชื่อมโยงคดีพ่อฆ่าลูก 2 ขวบ   

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง