ผู้พัฒนาวัคซีน "mRNA" คว้าโนเบลสาขาการแพทย์

ต่างประเทศ
3 ต.ค. 66
06:59
543
Logo Thai PBS
ผู้พัฒนาวัคซีน "mRNA" คว้าโนเบลสาขาการแพทย์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
2 นักวิจัยผู้คิดค้นและพัฒนาการผลิตวัคซีนแบบ mRNA คว้ารางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2023 โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 และมีส่วนสำคัญในการต่อสู้กับการระบาด

เมื่อวันที่ 2 ต.ค.2566 ผู้แทนคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ประกาศผู้ที่ได้รับรางวัลผู้ที่ได้รับรางวัลในสาขาการแพทย์ ประจำปี 2023 คือ Katalin Karik ชาวฮังการี รองประธานบริษัทไบโอเอ็นเทค อาร์เอ็นเอ ฟาร์มาซูติคอล และ Drew Weissman ชาวอเมริกันจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่ร่วมกันคิดค้นและพัฒนาวัคซีน mRNA  

เนื่องจากผลงานชิ้นนี้ได้ช่วยรักษาชีวิตของผู้คนทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 จนทำให้โลกสามารถกลับสู่การดำเนินชีวิตตามปกติได้อีกครั้ง และปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังถูกพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรคอื่น อย่างโรคมะเร็งได้อีกด้วย

และเมื่อปี 2021 2 ทั้ง 2 คน เคยคว้ารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในสาขาการแพทย์มาแล้ว

ด้าน Tedros Adhanom Ghebreyusus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล ซึ่งวัคซีนแบบ mRNA ถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้โลกสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้

การประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2023 ที่สถาบันคาโรลินสกา ในกรุงสตอกโฮล์ม

การประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2023 ที่สถาบันคาโรลินสกา ในกรุงสตอกโฮล์ม

การประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ประจำปี 2023 ที่สถาบันคาโรลินสกา ในกรุงสตอกโฮล์ม

พัฒนาวัคซีนโควิด-19 เดินหน้าทดสอบในมนุษย์ 

Drew Weissman อายุ 64 ปี เปิดใจหลังได้รับรางวัล ว่า เป้าหมายต่อไปคือการพัฒนาวัคซีนที่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ตลอดไป ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปขนาดไหนก็ตาม ซึ่งขณะนี้มีการพัฒนาขึ้นมาแล้ว และการทดสอบในสัตว์ได้ผลดี คาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเริ่มมีการทดสอบในมนุษย์

นอกจากนี้ Weissman กำลังพัฒนาวัคซีน mRNA อีก 20 ตัว ที่ใช้ป้องกันหลายโรค ตั้งแต่โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงอาการแพ้อาหารและโรคหัวใจ ในจำนวนนี้มีวัคซีน 7 ตัว ที่กำลังทำการทดสอบในมนุษย์

อ่านข่าวอื่น ๆ

ไทยพบ 2 คนแรก "โอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3" ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็ว

สธ.เปิดไทม์ไลน์เบิกจ่ายค่าเสี่ยงภัยโควิด 2.9 พันล้านบาท คาดเริ่มเบิกได้ตั้งแต่ 29 ส.ค.

รู้จักโควิดสายพันธุ์ "EG.5.1" ระบาดหนักในเกาหลี ร้ายแรงแค่ไหน?

ครม.อนุมัติ 2.9 พันล้าน จ่ายค่าเสี่ยงภัยโควิดบุคลากรการแพทย์-สธ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง