"ปดิพัทธ์" ฟุ้งคุยหลายพรรค คาด 15 ต.ค.รู้สังกัดพรรคไหน

การเมือง
4 ต.ค. 66
12:33
322
Logo Thai PBS
"ปดิพัทธ์" ฟุ้งคุยหลายพรรค คาด 15 ต.ค.รู้สังกัดพรรคไหน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ปดิพัทธ์" เผยอยู่ระหว่างพูดคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ หาสังกัดพรรคใหม่ คาดหากลงตัวจะรู้ผลภายใน 15 ต.ค.นี้

วันนี้ (4 ต.ค.2566) นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 กล่าวถึงความชัดเจนในการเตรียมเข้าสังกัดพรรคการเมืองใหม่ หลังถูกพรรคก้าวไกลขับออกจากความเป็นสมาชิก โดยระบุว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงเริ่มพูดคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ ส่วนการจะไปสังกัดพรรคใดนั้น ตนจะต้องเห็นด้วยกับนโยบายและอุดมการณ์ของพรรคการเมืองดังกล่าว ซึ่งพรรคการเมืองต้องระบุความคาดหวังที่ชัดเจน เพราะตนหวังว่าหากย้ายเข้าพรรคใดแล้ว จะต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์กับพรรคการเมืองนั้น

และขณะนี้ได้พูดคุยกับพรรคใดบ้างนั้น นายปดิพัทธ์ ระบุว่า นอกจากพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีอยู่ คือพรรคเป็นธรรม และพรรคไทยสร้างไทย ก็ไม่ได้มีตัวเลือก นอกจากนี้ยังมีพรรคนอกสภาที่พยายามติดต่อเข้ามาเรื่อยๆ

นายปดิพัทธ์ กล่าวอีกว่า พรรคร่วมรัฐบาลไม่ต้องติดต่อมาให้เสียเวลา และหากนับจากวันที่ถูกขับออก ยังเหลือเวลาอีก 30 วันในการสังกัดพรรคใหม่ หรือมีเวลาถึงวันที่ 28 ต.ค. แต่หากการพูดคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดี อาจจะตัดสินใจได้ภายในวันที่ 15 ต.ค.นี้

นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า คณะทำงานของตนในฐานะรองประธานสภาฯ ที่เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษา ซึ่งได้แต่งตั้งขึ้นมา บางส่วนที่ยังมีบทบาทกับพรรคก้าวไกล ได้ลาออกจากคณะทำงานแล้ว เช่น พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาท และนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส่วนคณะทำงานคนอื่นๆ ที่เคยมีความสัมพันธ์กับพรรคอนาคตใหม่ หรือพรรคก้าวไกล แต่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งในพรรค ตนเองเปิดกว้าง เพราะกฎหมายไม่ได้ห้ามดำรงตำแหน่ง แต่ต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ พร้อมย้ำว่าจะต้องทำกระบวนการทุกอย่างให้โปร่งใส และหากคณะทำงานจะย้ายตามไปสังกัดพรรคใหม่ด้วยก็เป็นสิทธิของแต่ละคน

สำหรับกรณีวิปรัฐบาลมีมติเตรียมยื่นเรื่องการดำรงตำแหน่งรองประธานสภาฯ ของนายปดิพัทธ์ ให้องค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ นั้น นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากย้อนดูคำแถลงการณ์เมื่อตนได้รับการเสนอชื่อเป็นรองประธานสภาฯ ว่าจำเป็นต้องฟื้นฟูองค์กรนิติบัญญัติ เพื่อไม่ให้อยู่ใต้อาณัติของรัฐบาลและตุลาการ

3 อำนาจอธิปไตย ต้องถ่วงดุลกัน เป็นอิสระจากกัน และต้องรับผิดชอบซึ่งกันและกัน หวังว่าจะมีการจัดการปัญหาขององค์กรนิติบัญญัติภายในองค์กรได้

อ่านข่าวอื่นๆ

"สุทิน" เตรียมสั่งที่ประชุมสภากลาโหม เข้มคลังอาวุธเหล่าทัพ

แต่งตั้ง "นฤมล" เป็นที่ปรึกษานายกฯ ทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย

เปิด 35 คกก.ศึกษาแนวทางทำประชามติ แก้ รธน. "ภูมิธรรม" ประธาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง