หอการค้าไทย ชี้ 'สงครามอิสราเอล' ไม่กระทบการค้า

เศรษฐกิจ
13 ต.ค. 66
11:53
1,726
Logo Thai PBS
หอการค้าไทย ชี้ 'สงครามอิสราเอล' ไม่กระทบการค้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เกือบสัปดาห์ที่สถานการณ์สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ยังคงรุนแรงมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจำนวนมาก รวมถึงผู้บาดเจ็บและสูญหาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้

ประเทศไทยส่งแรงงานไปอิสราเอลเกือบ 30,000 คน โดยรัฐบาลอิสราเอลอนุญาตให้นำเข้าแรงงานใน 4 สาขาคือ การเกษตร ก่อสร้าง พ่อครัวในร้านอาหาร และดูแลคนชรา คนพิการ คนป่วย ทั้งนี้แรงงานไทยถือว่าเป็นที่ต้องการของตลาดนายจ้างอิสราเอลเป็นอย่างมาก เพราะมีความขยัน รับผิดชอบ และไว้ใจได้

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย เปิดเผยว่า ไทยส่งออกไปตะวันออกกลาง 4% ของการส่งออกไทยทั้งหมด โดยไทยส่งออกไป UAE ซาอุดีอาระเบีย ในขณะที่อิสราเอลเป็นคู่ค้าไทยอยู่อันดับที่ 6 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกเมื่อเทียบกับกลุ่มตะวันออกกลาง

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

โดย 8 เดือนแรกของปี 2566 ไทยส่งออกไปอิสราเอลเป็นอันดับ 37 มีมูลค่า 18,000 ล้านบาท เติบโต 13.4% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และนำเข้าจากอิสราเอลเป็นอันดับที่ 49 มูลค่า 11,000 ล้านบาท หดตัว 14%

10 ปีไทยได้เปรียบดุลการค้า

นายวิศิษฐ์ กล่าวต่อว่า การค้าของไทยกับอิสราเอล ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ไทยได้ดุลการค้ามาโดยตลอด โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปอิสราเอลมากที่สุดคือ ยานพาหนะอื่นๆ (+5%) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หม้อไอน้ำ (-7%) ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง (+47%) สิ่งปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ (+74%)
ส่วนสินค้านำเข้าจากอิสราเอล เช่น ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง (+80%) เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า (-27%) ปุ๋ย (+85%) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หม้อไอน้ำ (+119%) เลนส์การถ่ายภาพ (-39%)

8 เดือนส่งออกอิสราเอลโต 9%

สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารในช่วง 8 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-ก.ย.) ขยายตัว 9% หรือมีมูลค่า4,400 ล้านบาท และไทยนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น 3 % หรือมีมูลค่า 600 ล้านบาท เช่น ผัก ผลไม้ ของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ กาแฟ ชา เครื่องเทศ เป็นต้น

สัดส่วนการค้าไทย-ปาเลสไตน์แค่ 0.001%

สำหรับสัดส่วนการค้ารวมไทยและปาเลสไตน์มีเพียง 0.001% ของการค้ารวมไทยถือว่าน้อยมาก โดยปาเลสไตน์เป็นคู่ค้าลำดับที่ 186 ของไทย มีมูลค่า 5.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 113.3 หรือ 134.4 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ปธ.หอการค้าไทยฯเสียใจเหตุไม่สงบอิสราเอล ชี้ไม่กระทบการค้า2ฝ่าย

"สงครามอิสราเอล" ส่งผลตลาดลงทุน จับตาราคาน้ำมัน-ทองคำ

สงครามระยะสั้นกระทบ 2 ด้าน

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า ผลกระทบในระยะสั้นจากสงครามในอิสราเอลมี 2 ด้าน คือ ด้านแรงงาน ซึ่งคาดว่าจะกระทบด้านความเชื่อมั่นในการเข้าไปทำงานในอิสราเอลและความปลอดภัยของแรงงาน ในระยะสั้นอาจจะทำให้อิสราเอลขาดแคลนแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือที่ทางอิสราเอลมีความต้องการสูง

และผลกระทบด้านการท่องเที่ยว แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไทยจะไม่ใช่สัดส่วนที่สูง ในรอบ 1 ปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไทยประมาณ 200,000 คนต่อปี ในภาพรวมจึงไม่มีนัยสำคัญมากกับการสร้างรายได้

แต่นักท่องเที่ยวอิสราเอลก็ถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายที่สูงและเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

ส่วนผลกระทบด้านอื่นๆ ต้องติดตามสถานการณ์ว่าจะขยายวงกว้างออกไปหรือไม่ แต่หากมองในแง่ของผล กระทบด้านเศรษฐกิจยังอยู่ในวงจำกัด

ผลกระทบการค้าระหว่างกันถือว่าน้อย และภาพรวมตลาดตะวันออกกลางยังไม่กระทบ ส่วนผลกระทบระยะยาวยังคงต้องติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิด

สนค. ชี้รอบ 3 ปีไทยไม่ได้ลงทุนในอิสราเอล

ด้านนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ไทยไม่มีการลงทุนจากอิสราเอลในไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ระบุว่า ในช่วงปี 2563 – 2565

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

มีโครงการลงทุนของอิสราเอลที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จำนวน 11 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 186 ล้านบาท (ปี 2563 มีจำนวน 1 โครงการ มูลค่า 1 ล้านบาท,ปี 2564 มีจำนวน 4 โครงการ มูลค่า 147 ล้านบาท และปี 2565 มีจำนวน 5 โครงการ มูลค่า 38 ล้านบาท) ซึ่งยังไม่มีโครงการใดได้รับการอนุมัติ

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า เพื่อลดระดับความรุนแรงของวิกฤตและแสวงหาสันติภาพร่วมกันของประชาคมโลก บทเรียนสงครามรัสเซีย-ยูเครนสะท้อนให้เห็นว่าความเสี่ยงที่วิกฤตจะยืดเยื้อยาวนานมาจากรากฐานข้อพิพาทเรื่องอาณาเขตที่ดินและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ที่มีร่วมกันทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน

เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และความขัดแย้งได้บานปลายไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารอย่างเต็มรูปแบบก่อให้เกิดผลกระทบกระจายวงกว้างไปทั่วโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

นายกฯ เร่งอพยพคนไทยในอิสราเอล สั่งหาเครื่องบินเพิ่ม

นายกฯ พบทูตอิสราเอล ประสานเร่งช่วยเหลือคนไทย

ญาติพี่น้องชาวหนองบัวลำภู รับขวัญแรงงานกลับบ้านปลอดภัย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง