ชำแหละนโยบายแจกเงินของญี่ปุ่น ใช้กับไทยได้ผลหรือไม่ ?

เศรษฐกิจ
22 ต.ค. 66
19:33
1,292
Logo Thai PBS
ชำแหละนโยบายแจกเงินของญี่ปุ่น ใช้กับไทยได้ผลหรือไม่ ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กระแสของนโยบายเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตยังถูกพูดถึงอยู่มาก จากข้อห่วงใย ข้อสังเกต และแรงหนุน อยากให้มีความชัดเจนโดยเร็ว นักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์บางส่วน ได้นำผลการศึกษานโยบาย "แจกคูปองซื้อของ" ของญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้ว มาเปรียบเทียบ

จากโพสต์ของ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลในแอปพลิเคชันเอ็กซ์ เกี่ยวกับงานวิจัยจากญี่ปุ่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน และชี้ว่านโยบายลักษณะนี้กระตุ้นการซื้อสินค้าบริการได้น้อย

น.ส.ศิริกัญญา โพสต์ใน X กรณีนโยบายแจกคูปองในญี่ปุ่น

น.ส.ศิริกัญญา โพสต์ใน X กรณีนโยบายแจกคูปองในญี่ปุ่น

น.ส.ศิริกัญญา โพสต์ใน X กรณีนโยบายแจกคูปองในญี่ปุ่น

ในงานวิจัยดังกล่าว พูดถึง "นโยบายแจกคูปองซื้อของ" ที่ประเทศญี่ปุ่นนำมาใช้เมื่อปี 1999 เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนเวลานั้นเก็บออมเงิน ไม่ยอมใช้จ่าย

รัฐบาลญี่ปุ่นยุคนั้นจึงเสนอโครงการคูปองซื้อของ แจกให้ครัวเรือนที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือผู้สูงอายุมากกว่า 65 อยู่ในบ้าน ต้องไม่ใช่ผู้รับบำนาญหรือเงินสงเคราะห์อื่น รับคูปอง 20,000เยน หรือประมาณ 6,100 บาท ไปซื้อสินค้าบริการได้ จำกัดเวลาการใช้ภายใน 6 เดือน และใช้เฉพาะในเขตที่อาศัยเท่านั้น รวมแจกทั้งหมด 31 ล้านคน ประมาณ 190,000 ล้านบาท ณ เวลานั้น

10 ปีต่อมา ญี่ปุ่นดำเนินโครงการคล้ายกันกันอีก แจกกับพลเมืองทุกคน แม้แต่ไต้หวันก็แจกคูปองมูลค่าประมาณ 120 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับพลเมืองทุกคนในเดือน ก.พ.2009

ฉางไท่เซียะ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ชิมิซึทานิ ซาโตชิ จากสถาบันเพื่อการศึกษานโยบายระหว่างประเทศ และ โฮริ มาซาฮิโระ จากสำนักคณะรัฐมนตรี รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ดำเนินงานวิจัยที่มีชื่อว่า โครงการคูปองซื้อของของญี่ปุ่นเพิ่มการใช้จ่ายได้หรือไม่ ตีพิมพ์เมื่อปี 2010

ผลการศึกษาระบุว่า คูปองกระตุ้นการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน เช่น แฟชั่น เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก อุปกรณ์กีฬา ได้ 0.1-0.2 เท่า และมีผลเฉพาะช่วงเดือนแรกๆ หลังได้รับคูปองเท่านั้น ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาหารเครื่องดื่ม เชื้อเพลิง และกลุ่มบริการ แทบไม่เห็นผล

น.ส.ศิริกัญญา จึงเรียกร้องให้รัฐบาลชี้แจงว่ามีผลการศึกษาใดมารองรับโครงการที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ

เรื่องนี้ยังถูกแชร์ในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคน หนึ่งในนั้น คือ นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตรชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โพสต์เฟซบุ๊ก แชร์งานวิจัย ที่เป็นประสบการณ์ของญี่ปุ่นฉบับเดียวกัน
และยังระบุว่าไต้หวันมีโครงการในทำนองเดียวกันด้วย

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์บางคน ยอมรับว่านึกไม่ออกว่ารัฐบาลจะหักเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีมาใช้ได้อย่างไร

ทางออกเดียวคือการกู้เงินมาใช้ แล้วตั้งงบประมาณในปีต่อๆ ไปมาใช้หนี้คืน ซึ่งยิ่งไม่ควรทำ

อ่านข่าวเพิ่ม :

"ไอติม" ชี้ สส.ก้าวไกลคุกคามทางเพศเคสเก่า ลั่นลงโทษทุกคน

"ศิริกัญญา" ตั้งข้อสังเกต "นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต" คล้ายโยบายญี่ปุ่นปี 49

ข่าวที่เกี่ยวข้อง