ตามหา "งา 1 ม." พลายงาทอง เพลี่ยงพล้ำศึกชนช้างเขาใหญ่

สิ่งแวดล้อม
24 ต.ค. 66
12:23
15,229
Logo Thai PBS
ตามหา "งา 1 ม." พลายงาทอง เพลี่ยงพล้ำศึกชนช้างเขาใหญ่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เขาใหญ่ เร่งตามหางาข้างซ้ายยาว 1 เมตรของ "พลายงาทอง" ช้างเซเลบหลังศึกชนช้าง "งาเดียว" ช้างภูธรจากถิ่นสาริกา จนงาหักกลางป่า "สุทธิพร" บอกขนาดสูสี ประสบการณ์พอกัน แต่คงเพลี้ยงพล้ำเข้าเหลี่ยมผิด

วันนี้ (24 ต.ค.2566) นายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า กรณีพลายงาทอง ช้างป่าเซเลบ บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ต่อสู้กับพลายงาเดียว จนเกิดงาข้างซ้ายหักไปหนึ่งข้าง โดยเกิดเหตุการณ์ช่วง 2 วันที่ผ่านมา ซึ่งทางสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้ติดตามพลายงาทองไป ไม่พบว่าบาดเจ็บจากการต่อสู้ แต่ยังสั่งให้เจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าดูอยู่

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังเร่งตามหางาของพลายงาทอง ที่มีความยาวประมาณ 1 เมตรที่คาดว่าหักระหว่างการต่อสู้ในป่าเขาใหญ่ ซึ่งพิกัดยังไม่ชัดเพียงแค่มีข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่พบว่าพลายงาทอง และงาเดียวไล่ๆกันขึ้นมาแถวโป่งหนองตาช่วย และหอส่องสัตว์ป่าทุ่งหญ้าหนองผักชี แต่ไม่รู้ว่าเขาต่อสู่กันมาตั้งแต่จุดไหน แต่จะพยายามตามหางาให้เร็วที่สุด

อ่านข่าว ศึกชนช้างเขาใหญ่ "พลายทองคำ" งาหัก

สุทธิพร สินค้า ทีมอารักขาช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

สุทธิพร สินค้า ทีมอารักขาช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

สุทธิพร สินค้า ทีมอารักขาช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

งาเดียวช้างต่างถิ่นท้ารบเจ้าถิ่นพลายทองคำ

ด้านนายสุทธิพร สินค้า ทีมอารักขาช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า ช้างคู่กรณีคืองาเดียว ช้างจากพื้นที่สาริกา ที่เดินตามโขลงช้างเขาใหญ่ขึ้นมา กระทั่งมาเจอพลายงาทอง ช้างเจ้าถิ่นเข้า จนเกิดการปะทะกันอย่างหนัก เพราะพลายงาทองก็ไม่ยอม 

พลายงาทอง เป็นช้างเจ้าถิ่นจะเข้าโขลง มาเจองาเดียว เด็กภูธรคุมแถวสาลิกา มาถึงถิ่น คงจะไล่ๆ กันในป่ามา 1-2 วันจนมาถึงช่วงอาทิตย์ที่นักท่องเที่ยวเจอพลายงาทองโผล่มามีงาข้างเดียว

นายสุทธิพร บอกว่า การที่พลายงาทอง เพลี่ยงพล้ำจนงาหัก น่าจะข้าผิดเหลี่ยมและประสบการณ์น้อยกว่า เพราะจากลักษณะนิสัยของพลายงาทอง ถึงจะอายุ 30 ปี และตัวใหญ่ แต่จริงๆ งาทองเป็นช้างขี้กลัว ไม่ชอบสุงสิงกับช้างตัวอื่น ๆ ชอบหากินตัวเดียว ส่วนงาเดียว อายุ และขนาดตัวสูสีกัน แต่อาศัยความเก๋าเป็นช้างภูธรที่ไม่กลัวใคร 

พลายงาทอง เหลืองาขวาข้างเดียว ก็หายหล่อไปเลย เพราะงาของเค้าสวยงามมากมีสีเหลืองอร่าม เทียบกับไม้สักที่ขัดจนเป็นเงา ตอนนี้ยังไม่เจอตัว แต่เชื่อว่าเดี่ยวก็คงออกมาเจอ 

อ่านข่าว จ้าง "สุทธิพร" มือปราบช้างป่าเขาใหญ่ทำงานที่รักต่ออีก 1 ปี 

พลายงาทอง เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนศึกชนช้างจนงาซ้ายหัก

พลายงาทอง เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนศึกชนช้างจนงาซ้ายหัก

พลายงาทอง เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนศึกชนช้างจนงาซ้ายหัก

ก่อนหน้านี้ช่วงวันที่ 10 พ.ย.2565 พลายงาทอง เคยทำศึกช้างชนช้างกับพลายทองคำ บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มาแล้วรอบหนึ่ง โดยครั้งนั้นพลายทองคำ เพลี้ยงพล้ำงาหักออกทิ้งไว้ โดยกรมอุทยานฯ 

ทั้งนี้ นายสัตวแพทย์ ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้าฝ่ายจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยาน นำงามาตรวจสอบที่ห้องปฎิบัติการแสงซินโครตรอน และพบว่างาของช้างมีปัญหา เนื้องาไม่แข็งแรง บ่งชี้ถึงภาวะทุพโภชนา สามารถยืนยันโครงสร้างของเนื้องาด้วยคลื่นไอโซโทปและแสงซินโครตรอน งาคือส่วนที่แข็งแรง ไม่ควรหักแตกง่าย และจะมีการแถลงรายละเอียดเรื่องแนวทางแก้ปัญหาเร็วๆ นี้ 

อ่านข่าว"พลายทองคำ-พลายงาทอง" ประสานงาอีกรอบ ในอุทยานฯเขาใหญ่

ไขปริศนางาหัก “ศึกช้างชนช้าง” ด้วยซินโครตรอน

สำหรับการไขคำตอบเรื่องงาช้างหัก หมอล็อต ได้ส่งมอบชิ้นส่วนงาของพลายทองคำ จากเหตุการณ์ศึกช้างชนช้างบนเขาใหญ่ ให้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ตรวจวิเคราะห์ พร้อมตัวอย่างดินโป่งจากโป่งเทียมบนเขาใหญ่  7 จุด เพื่อวิเคราะห์ภาวะทุพโภชนาการของสัตว์ป่า

ผศ.ดร.ศุภกร รักใหม่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า การตรวจวิเคราะห์งาช้างด้วยแสงซินโครตรอน เพื่อหาสัดส่วนธาตุองค์ประกอบ และหาสัดส่วนหมู่ฟังก์ชันทางเคมีของสารอินทรีย์ เพื่อบ่งชี้ความแตกต่างขององค์ประกอบกลุ่มสารชีวเคมีภายในงาช้าง รวมถึงหารูพรุนภายในงาช้างด้วยเทคนิคถ่ายภาพเอกซเรย์สามมิติ เพื่อตอบสมมติฐานว่า งาช้างป่าหักง่ายเพราะภาวะทุพโภชนาการหรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การดูแลสุขภาพช้างป่าต่อไป

ชิ้นส่วนงาของ

ชิ้นส่วนงาของ

ชิ้นส่วนงาของ "พลายทองคำ" ที่เคยปะทะกับพลายงาทองเมื่อปี 2565

พร้อมกันนี้นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน ยังได้นำตัวอย่างดินโป่งจากโป่งเทียมบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 7 จุด มาตรวจวิเคราะห์หาแร่ธาตุต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ภาวะทุพโภชนาการของช้างป่า

โดยมีข้อสังเกตพบช้างป่าเขาใหญ่หักง่ายมากขึ้น ซึ่งกรณีของพลายทองคำที่งาหักทั้งกิ่งนั้น พบว่ามีงาหักตั้งแต่โคนงา และพบภาวะเหงือกร่นร่วมด้วย

นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมของช้างป่าที่ออกจากป่ามากินขยะหรืออาหารในครัวของชาวบ้าน ซึ่งมักเป็นอาหารรสเค็ม เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เกลือแกง และปลาร้า จึงตั้งข้อสังเกตว่า ช้างป่าอาจจะขาดแคลนแร่ธาตุบางชนิด การนำดินโป่งมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนจะช่วยตอบคำถามได้ว่า แร่ธาตุในโป่งเทียมที่ทำขึ้นนั้นเหมาะสมกับสัตว์ป่าหรือไม่

อย่าเลียนแบบ! 4 นาทีเสี่ยงตายเผชิญ "พลายงาทอง" บนเขาใหญ่

10 ข้อปฏิบัติเมื่อเจอ "พี่ดื้อ" ช้างป่าเขาใหญ่และผองเพื่อน

 คุยกับ "สุทธิพร" เจ้าของฉายาชายผู้สื่อสารกับช้างเขาใหญ่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง