แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง "ใครได้ ใครเสีย ใครคุ้มสุด"

สังคม
2 พ.ย. 66
10:00
26,880
Logo Thai PBS
แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง "ใครได้ ใครเสีย ใครคุ้มสุด"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แลนด์บริดจ์ เฟส 1 ใช้งบถึง 5 แสนล้าน พอๆ กับงบดิจิทัลเงินหมื่น หลายคนตั้งข้อสังเกตปนสงสัย "รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมาแจกหรือมาสร้าง?" แล้วอะไรสำคัญกับปากท้องกว่ากัน เงินดิจิทัลคืออะไรยังไม่เคลียร์ มาเจอคำว่าแลนด์บริดจ์อีก ยิ่งสับสนกันไปใหญ่

ไม่เรียกว่าเป็นคำใหม่เสียทีเดียวกับคำว่า "แลนด์บริดจ์" แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะคุ้นหูกันเป็นวงกว้าง โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง เป็นที่พูดถึงกันมาเกือบ 40 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมทีมีมาตั้งแต่ปี 2528 แต่ผ่านมาหลายยุค หลายรัฐบาล ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม จนมาถึงยุค "รัฐบาลประยุทธ์" ที่นำมาบรรจุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ก็ยังถือว่าไม่ได้เห็นชอบ 100% แต่อย่างใด

เจ้าภาพ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เผยว่าอันที่จริงเตรียมจะเสนอ ครม.ประยุทธ์ แต่เจออุบัติเหตุการเมือง นายกฯ ประกาศยุบสภา เมกะโปรเจกต์งบฯ ล้านล้าน จึงต้องมาลุ้นต่อใน "รัฐบาลเศรษฐา" แทน 

อ่านข่าว :  "สุริยะ" ยันเดินหน้าต่อ "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" แต่ต้องรอ สนข.ศึกษาให้เสร็จ

"แลนด์บริดจ์" จึงถูกนำกลับมาปัดฝุ่นใหม่ ทั้งชื่อและโครงการ คนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เพราะโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน แบ่งเป็น 2 เฟส งบประมาณเฟสละ 500,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณก้อนนี้ก็ใกล้เคียงกับงบฯ ที่พรรคเพื่อไทยประกาศใช้กับโครงการแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทให้กับคนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน ในขณะหาเสียง 

หลายคนก็ตั้งคำถามตามมา จะเอาเงินที่ไหนมาแจก และระหว่างเงินหมื่นที่ได้ทั่วประเทศ กับโครงการที่พัฒนาเพียง 2 จังหวัด ใครได้ ใครเสีย ใครคุ้มสุด ?

อ่านข่าว : จับชายลอบขน "นกเป็ดน้ำ" นับพันตัว ส่งขายข้ามแดนไปกัมพูชา

แลนด์บริดจ์ คืออะไร ? ทำไมต้องมี ? 

โลกเราพัฒนาไปไกลมาก ส่งทั้งมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของไปอวกาศ เดินทางหลายปีแสง แต่การขนส่งที่มนุษย์บนโลกยังใช้อยู่ คือ "การขนส่งทางน้ำ หรือ เรือ" ซึ่งใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน การย่นระยะเวลาการขนส่งย่อมเป็นโจทย์ใหญ่ที่นักธุรกิจต้องเผชิญ

เรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก

เรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก

เรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก

ถ้าเอาตามความหมายทั่วๆ ไป แลนด์บริดจ์ คือ เส้นทางคมนาคม เช่น ถนน สะพาน ราง ที่อยู่บนบก ใช้เชื่อม "ทวีป" สร้างเพื่อขนส่งสินค้าอุปโภค-บริโภค จากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง รายงานเรื่อง "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการ เชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย และอันดามันของประเทศไทย" จัดทำโดย สศช. และศูนย์บริการวิชาการแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอข้อมูลโครงการ "Land bridge" ในต่างประเทศที่น่าสนใจ 3 แห่งบนโลก ได้แก่

  1. สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Land bridge) เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทนแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา 
    สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Land bridge)

    สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Land bridge)

    สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Land bridge)

  2. สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเชีย (Eurasian Land bridge) หรือเส้นทางรถไฟข้ามเอเชีย (Trans Asian Railway) เริ่มต้นจากแนวคิดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ Trans-Siberian Railway เพื่อเชื่อมระหว่าง เมืองสำคัญในประเทศรัสเซีย ได้แก่ กรุงมอสโก (Moscow) และเมืองวาลาดิวอสตอก (Vadivostok) ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ธุรกิจขนส่งสินค้าเริ่มเติบโต จึงเกิดการขนส่งสินค้าข้ามทวีประกว่างเอเชียและยุโรป กระทั่งปัจจุบัน 
    สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเชีย (Eurasian Land bridge) หรือเส้นทางรถไฟข้ามเอเชีย (Trans Asian Railway)

    สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเชีย (Eurasian Land bridge) หรือเส้นทางรถไฟข้ามเอเชีย (Trans Asian Railway)

    สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเชีย (Eurasian Land bridge) หรือเส้นทางรถไฟข้ามเอเชีย (Trans Asian Railway)

  3. สะพานเศรษฐกิจทางบกออสเตรเลีย (Australia Land bridge) สะพานเศรษฐกิจสายนี้ ไม่ได้ผ่านทวีป แต่ถูกสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้การขนส่งทางราง (Railroad) จากรัฐออสเตรเลียตะวันตก ไปยังรัฐฝั่งตอนใต้และรัฐฝั่งตอนเหนือ 
    สะพานเศรษฐกิจทางบกออสเตรเลีย (Australia Land bridge)

    สะพานเศรษฐกิจทางบกออสเตรเลีย (Australia Land bridge)

    สะพานเศรษฐกิจทางบกออสเตรเลีย (Australia Land bridge)

ก่อน แลนด์บริดจ์ มี คลองขุด ก่อน

เมื่อเจอะแผ่นดิน ก็ต้องอ้อม และก็ยิ่งเสียเวลาและความเสียหายของสินค้าก็เพิ่มขึ้นตามมา หลากหลายภูมิประเทศในโลกจึงเลือก "การขุดคลอง" เพื่อแก้ปัญหานั้น

คลองที่ขุดแล้วเป็นที่รู้จักกันดีคือ "คลองสุเอซ" ที่เชื่อมระหว่างท่าเรือซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ ฝั่งทะเลแดง เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดช่องทางในการเดินทางข้ามทวีประหว่างยุโรปและเอเชีย โดย แฟร์ดีน็อง เดอ เลสเซปส์ (Ferdinand de Lesseps) และคนงานชาวอียิปต์กว่า 30,000 คน ระยะทางยาวกว่า 193 กม. กว้าง 300 – 350 ม. ลึกประมาณ 19.50 – 20.10 ม. ช่วยให้ลดระยะทางในการเดินเรือไปกว่า 8,900 กิโลเมตร

อ่านข่าว : อวัยวะเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยเหลือคนพิการนิ้วขาดในการเคลื่อนไหว

คลองสุเอซ ประเทศอียิปต์

คลองสุเอซ ประเทศอียิปต์

คลองสุเอซ ประเทศอียิปต์

คลองสุเอซนับเป็นคลองไร้ประตูน้ำที่ยาวที่สุดในโลก และได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์การคมนาคมของโลกไปตลอดกาล ในฐานะที่เชื่อมเส้นทางการค้าสำคัญ รวมถึงเป็นเส้นทางลัดบนแผนที่โลก ระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย โดยไม่จำเป็นต้องอ้อมทวีปแอฟริกาเหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อนอีกต่อไป

และยังมี "คลองปานามา" อีกคลองขุดสายสำคัญของโลก เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน สามารถร่นระยะการเดินเรือได้ถึง 22,500 กิโลเมตร

อ่านข่าว : ปะการังเขากวาง "เกาะยักษ์ใหญ่" ป่วยโรค SCTLD ทช.เก็บเนื้อเยื่อ

การเดินเรือสินค้าในคลองปานามา

การเดินเรือสินค้าในคลองปานามา

การเดินเรือสินค้าในคลองปานามา

กลับมาที่ประเทศไทย ก็เคยมีโครงการขุดคลองบริเวณ "คอคอดกระ" ในเขตบ้านทับหลี  ต.มะมุ อ.กระบุรี จ.ระนอง กับ อ.สวี จ.ชุมพร เพื่อเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ แต่ด้วยเหตุผลเรื่องแผ่นดินที่ถูกแบ่งแยก เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคง รวมถึงงบประมาณในการขุดคลองที่ไม่ใช่น้อย เผลอๆ ใช้มากกว่า "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" ทั้งโครงการเสียอีก โครงการคอคอดกระจึงถูกพับไป

แผนที่คอคอดกระ บริเวณที่แคบที่สุดของไทย

แผนที่คอคอดกระ บริเวณที่แคบที่สุดของไทย

แผนที่คอคอดกระ บริเวณที่แคบที่สุดของไทย

ไม่ขุดก็สร้างเอา

หากมองในแง่เศรษฐกิจ พื้นที่เมืองท่าที่เป็นแหล่งชุมชนคนเดินเรือบรรทุกสินค้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักร สินค้าอุปโภค-บริโภค ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะอยู่ที่ "ช่องแคบมะละกา" ช่องแคบที่มีความยาวกว่า 930 กม. ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรมลายู (มาเลเซียตะวันตก) กับเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือ ช่องแคบซุนดา บริเวณเกาะสุมาตรา และ ช่องแคบลอมบอก บริเวณเกาะบาหลี  

ช่องแคบมะละกา

ช่องแคบมะละกา

ช่องแคบมะละกา

เนื่องจากร่องน้ำขนส่งหลักตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ทำให้ ช่องแคบมะละกา เป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดในโลก คาดว่าใน 1 ปีมีเรือบรรทุกสินค้าผ่านบริเวรนี้ไม่ต่ำกว่าแสนลำ

นั่นหมายถึงรายได้มหาศาลที่แบ่งกันเอง 3 ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย 

ไม่เฉพาะเรือบรรทุกสินค้าจากฝั่งประเทศทางแปซิฟิก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลี ที่เดินทางผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อไปยังฝั่งมหาสมุทรอินเดียเท่านั้น หลายหลากผลิตภัณฑ์จากฝั่งยุโรป หรือจากประเทศอินเดียเอง ก็ต้องถูกขนส่งไปยังประเทศแถบแปซิฟิก โดยผ่านช่องแคบมะละกาเช่นกัน 

ประเทศไทยเองก็เช่นกัน

จุดรับส่งสินค้าทางเรือของไทยคือ ท่าเรือกรุงเทพ และ ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ไม่ว่าจะรับหรือส่งก็ต้องผ่านช่องแคบมะละกา เมื่อประกอบกับงบประมาณการขุดคลองที่มากเกินไป และปัญหาด้านความมั่นคงที่เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไม่รู้จบ

การสร้างเส้นทางบนบกจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เหมือนจะตรงจุด (แต่อาจไม่ตรงใจ) 

โครงการ แลนด์บริดจ์ เป็นการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือทั้ง 2 แห่ง ที่อยู่ใน จ.ชุมพร และ จ.ระนอง ประกอบด้วยทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ทางรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 2 ทาง และระบบการขนส่งทางท่อ 

ที่มา : สถาบันพัฒนาประชาสังคม

ที่มา : สถาบันพัฒนาประชาสังคม

ที่มา : สถาบันพัฒนาประชาสังคม

หากโครงการนี้สำเร็จเพียงแค่เฟสแรกเท่านั้น จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเดินเรือแห่งใหม่ของโลกในทันที เรือบรรทุกสินค้าจากหลายประเทศจะเข้ามาใช้บริการ แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง เพื่อย่นเวลาและระยะทาง จากที่ต้องอ้อมลงไปผ่านช่องแคบมะละกา รวมถึงการขนส่งทางเรือของไทยก็เช่นกัน ที่จะได้ประโยชน์ไปด้วย 

เหรียญมี 2 ด้านเสมอ 

ถ้ามองเพียงด้านเศรษฐกิจ ก็แทบจะหาข้อปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะไม่สร้างแลนด์บริดจ์ เพราะนั่นหมายถึงไทยกำลังจะแบ่งเค้กชิ้นโตจาก 3 ประเทศเจ้าของรายได้ "ช่องมะละกา" เฟสแรกของโครงการที่จะสร้างเพียงแค่เส้นทางที่ผ่าน 2 จังหวัด ก็คาดว่าจะทำรายได้ในประเทศหลายร้อยล้านบาทต่อปีแล้ว 

ไทยจะมีจุดพักก๊าซธรรมชาติ ไว้แต่ละฝั่งทะเล ยกตัวอย่าง เมื่อเรือจากฝั่งแปซิฟิกมา ก็ไม่จำเป็นต้องข้ามไปฝั่งอินเดียเพื่อบรรทุกก๊าซธรรมชาติ แต่สามารถมาจอดรอรับที่ท่าเรือชุมพรได้เลย เพราะสร้างระบบขนส่งทางท่อเตรียมไว้แล้ว
เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติ

เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติ

เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติ

แต่อีกด้าน การทำประชาพิจารณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประชาชนในพื้นที่และผู้ประกอบการก็ยังกังวลเรื่องผลกระทบต่อธรรมชาติ ที่ต้องทำลายป่าเพื่อสร้างถนนและทางรถไฟ รวมถึงการสร้างท่าเรือที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ วิถีชีวิต และการทำการประมง

และถ้านับเวลาปัจจุบัน ด้วยงบประมาณราว 500,000 ล้านบาทที่พอๆ กันระหว่าง 2 นโยบายใหญ่รัฐบาลเพื่อไทย 

ดิจิทัล วอลเล็ตแจกเงิน 10,000 บาท VS โครงการแลนด์บริดจ์

ทำให้เกิดคำถามในสังคมเป็นวงกว้าง

แต่ไม่ใช่คำถามที่ว่าโครงการไหนดีกว่ากัน เพราะเอาเข้าจริง ก็ไม่มีคำตอบที่ฟันธงได้แน่ชัด คนที่ไม่อยากได้เงินหมื่นก็อาจมองว่า แลนด์บริดจ์ คือการพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน ในขณะที่ีอีกหลายคนก็มองว่า เงินหมื่น ใครๆ ก็อยากได้ ยิ่งในสภาวะปากท้องยังชีพยากแบบนี้ มีคนให้ก็ต้องรับไว้

แต่คงเป็นคำถามที่ว่า รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน ภาษีประชาชน หรือ เงินกู้ ที่สุดท้ายประชาชนก็เป็นคนจ่ายหนี้ให้อีก และความคุ้มค่าจะอยู่ที่ไหน ระหว่าง คน หรือ โครงการ ?

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ที่มา : IPDefenseForum, Urbancreature, ลงทุนแมน, กระทรวงคมนาคม  

 

อ่านข่าว :

รู้จัก "วุฒิพงศ์ ทองเหลา" สส.ปราจีนบุรี หลังก้าวไกลขับพ้นพรรค

รู้จัก "สส.ปูอัด" ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ถูกตัดสิทธิ ปมคุกคามทางเพศ

#ปูอัด ขึ้นเทรนด์ X เรียกร้อง สส.ก้าวไกล ลาออก ปมคุกคามทางเพศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง