เหตุผลค้าน "แลนด์บริดจ์" ถมทะเล 7 พันไร่-วิถีประมงเสี่ยงพัง

สิ่งแวดล้อม
3 พ.ย. 66
15:46
1,930
Logo Thai PBS
เหตุผลค้าน "แลนด์บริดจ์" ถมทะเล 7 พันไร่-วิถีประมงเสี่ยงพัง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ป้ายคัดค้าน คนพะโต๊ะ-ชุมพร ไม่เอาโครงการแลนด์บริดจ์ พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่บ้าน 

หลังรัฐบาลปัดฝุ่น โครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน มูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา มีมติรับทราบในหลักการของโครงการแลนด์บริดจ์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

ขณะนี้เริ่มมีความเคลื่อนไหวจากชาวบ้านในพื้นที่โครงการใน จ.ชุมพร และระนอง โดยกลุ่มอนุรักษ์ และชาวบ้านในพื้นที่ตั้งโครงการเริ่มออกมาคัดค้านโครงการ

เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา ยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอพะโต๊ะ ขอให้ทุกหน่วยงานยุติทุกกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับโครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนองไว้ก่อน

และเรียกร้องให้ศึกษาผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ทั้งจากโครงการท่าเรือน้ำลึก และเส้นทางรถไฟที่จะพาดผ่านพื้นที่ อ.พะโต๊ะ

เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะเตรียมจัดกิจกรรมวันที่ 14 พ.ย.นี้เพื่อชำแหละผลกระทบโครงการ

เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะเตรียมจัดกิจกรรมวันที่ 14 พ.ย.นี้เพื่อชำแหละผลกระทบโครงการ

เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะเตรียมจัดกิจกรรมวันที่ 14 พ.ย.นี้เพื่อชำแหละผลกระทบโครงการ

เพจความอุบัติเมืองมลพิษแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ระบุว่า จากการที่เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ เดินสายให้ข้อมูลชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ จากโครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ใน 4 ตำบล เขตอำเภอพะโต๊ะ ชุมชน คนไทยพลัดถิ่น ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง และเคือข่ายประชาชน 5 อำเภอ จ.ชุมพร

สรุปผลสำคัญคือ ทุกพื้นที่มติคัดค้านแลนด์บริด และเชิญชวนประชาชนในทุกจังหวัด ร่วมเวทีชำแหละแลนด์บริดจ์ วันที่ 15 พ.ย.นี้ เริ่มเวลา 08.30 น.ที่อบต.พะโต๊ะ

แลนด์บริดจ์กระทบอะไรบ้าง?

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า พื้นที่โครง การแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง อยู่ในพื้นที่อันดามันมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 4 ซึ่งไทยได้รับการบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น กับคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อปี 2564 

ไทยต้องส่งรายงานการศึกษาฉบับเต็มให้กับมรดกโลก ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนเวียนให้หน่วยงานต่างๆ ก่อนชงเสนอ ครม.ส่งไปศูนย์มรดกโลก 
นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

นายศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

นายศักดิ์อนันต์ กล่าวว่า ประเด็นไม่ใช่แค่การจะทำให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกล่าช้า แต่เป็นผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล ป่าชายเลน ป่าชายหาด เป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล แนวปะการังน้ำตื้น น้ำลึก และมลพิษที่จะเกิดขึ้นจากเมกกะโปรเจ็กต์ ถ้าไม่มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบคอบทุกมิติ โดยเฉพาะพื้นที่สงวนชีวมณฑลปี 2545 มีการประกาศให้พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากคลองกะเปอร์-ปากแม่น้ำกระบุรี จ.ระนอง

ถมทะเล 7,000 ไร่เสี่ยงนิเวศพัง

นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล กล่าวอีกว่า ที่น่าห่วงจากโครงการแลนด์บริดจ์คือ การมีการถมทะเล 7,000 ไร่  ซึ่งมีพื้นที่เกือบเท่าเกาะพยาม จ.ระนอง เกาะกลางทะเล จะกระทบวงจรที่ของกระแสน้ำ การเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตสัตว์ทะเล ที่จะเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนถูกขวางด้วยท่าเรือแน่นอน

ดังนั้นจึงอยากเสนอทั้งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานฯ ต้องศึกษาว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดไหนที่เข้ามาใช้พื้นที่ และจะกระทบจากโครงการนี้

เป็นโจทย์คำถามที่ยังไม่มีคำตอบว่าจะเกิดผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เพราะยังไม่มีใครศึกษามาก่อน และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาผลกระทบ
โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง

โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง

โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง

 

นอกจากนี้ นักวิชาการ ระบุด้วยว่า แม้ว่าโครงสร้างตัวท่าเรืออยู่นอกเขตอุทยานแหลมสน แต่ว่าโครงสร้างขนาดใหญ่ ที่จะอยู่รอบพื้นที่ บล็อกเส้นทางที่สิ่งมีชีวิตจะเข้ามาการถมทะเล 7,000 ไร่  ซึ่งไม่เพียงแค่นั้นยังมีเขื่อนกันคลื่น ขุดร่องน้ำให้เรือขนาดใหญ่เข้ามาได้ โดยตัวโครงการไม่จบแค่แค่เฟส 1 แต่มีเฟส 2 และ 3 ซึ่งถนนเส้นท่าเรืออยู่นอกเขตป่า แต่ถนนเส้นที่ผ่านป่าชายเลนที่มีความหนาของป่า 4-6 กม.แล้วแต่พื้นที่

โลหะหนัก-น้ำมันรั่วไหลไม่ควรมองข้าม 

นายศักดิ์อนันต์ ยังกังวลว่าเรื่องสารโลหะหนัก เพราะปกติโลหะหนัก จะจับตัวกับสารอินทรีย์ในดินเลน ไม่ว่าจะมาจากแผ่นดินมาลงทะเลก็จะถูกจับในดินเลนได้และสะสมในพื้นดิน

การขุดลอกขึ้นมาเท่ากับเป็นการขุดตะกอนโลหะหนักขึ้นมาจะฟุ้งกระจายไปไหน ไกลแค่ไหน

รวมทั้งการมีท่าเรือมีการขนส่งน้ำมัน มีแปรรูปน้ำมัน จึงมีใครรับประกันได้หรือไม่ว่าจะไม่เกิดน้ำมันรั่วไหล เพราะที่ผ่านมาหลายท่าเรือทั้งแหลมฉบัง มาบตาพุด ศรีราชา เกาะเสม็ด จ.ชลบุรี เมื่อรั่วไหลแล้วน้ำมันพัดผิวหน้าน้ำ เข้าเกาะหาดทราย ยังเก็บได้รวบรวมได้

แต่ถ้ารั่วในพื้นที่หาดเลน ที่เป็นหาดเลนที่มีสารอินทรีย์เยอะ น้ำมันกับสารอินทรีย์มันจับตัวกัน มันมองไม่เห็น มันจับตัวกันเข้าสู่วงจรห่วงโซ่อาหารสิ่งแวดล้อม และมีอันตรายยิ่งกว่าเก็บออกไม่ได้

ประเด็นต่อมาเส้นทางบนบก ตัวท่าเรือในทะเล แต่ถนนที่ผ่านป่าชายเลน 4 กม. จะทำอย่างไรตอนนี้ ตอนนี้มีการพูดถึงถนนผ่านป่าชายเลน ที่ยังไม่มีคำตอบว่าจะทำทางยกระดับทำถนนหรืออะไร ต้องประเมิน 

สุดท้ายวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งตลอด 4,000 ครัวเรือนพึ่งพาทรัพยากรชายฝั่ง และไม่ใช่แค่รัศมี 5 กม. แต่ทำประมงชายฝั่งตลอดระนอง หาต้องถอยร่นทำประมงด้านล่างลงไป หรือถ้านิเวศเสียหายจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่โครงการแลนด์บริจด์ จะทำต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ เพราะเป็นสิ่งที่จะสูญเสีย ต้องประเมินผลกระทบอย่างละเอียด ไม่ใช่แค่การศึกษาแบบเดาๆ

อ่านข่าว

"สุริยะ" ยันเดินหน้าต่อ "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" แต่ต้องรอ สนข.ศึกษาให้เสร็จ

สอดคล้องกับข้อกังวลของ สมโชค จุงจาตุรันต์ เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ บอกว่า ชาวบ้านอ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ทำเกษตร 6,178 ครัวเรือน คิดเป็น 97.09% มีพื้นที่เกษตรรวม 149,578 ไร่ มีรายได้จากเกษตรปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท จำนวนนี้ 80% ไม่มีเอกสารสิทธิ ถ้าถูกเวนคืนจะได้รับเฉพาะค่าอาสินที่ให้ผลผลิตแล้ว เช่น ทุเรียน ต้นละ 18,740 บาท มังคุด ต้นละ 5,710 บาท ปาล์มน้ำมัน อายุ 3 ปีขึ้นไป ต้นละ 5,800 บาท ยางพารา ต้นละ 4,370 บาท

กรณีสวนทุเรียน เนื้อที่ 8 ไร่ ประมาณ 60 ต้น ถ้าถูกเวนคืนจะได้ค่าอาสินแค่ 1.1 ล้านบาท ไม่สามารถซื้อที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ได้เท่าเดิม เพราะที่ดินมีราคาสูง แต่หากยังคงอยู่ในพื้นที่จะมีรายได้จากทุเรียน ปีละประมาณ 2.5 ล้านบาท สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดชีวิต และเป็นมรดกให้ลูกหลาน จึงยืนยันที่จะอยู่ในพื้นที่และต่อสู้จนถึงที่สุด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกคมนาคมถกก่อนไปโรดโชว์งาน APEC

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกคมนาคมถกก่อนไปโรดโชว์งาน APEC

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เรียกคมนาคมถกก่อนไปโรดโชว์งาน APEC

อะไรคือโครงการแลนด์บริดจ์

ผลการศึกษาเบื้องต้นของ สนข.กระทรวงคมนาคม ประมาณมูลค่าลงทุนในการพัฒนาแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง ไว้  1 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 

  • การก่อสร้างท่าเรือ 636,477 ล้านบาท (ท่าเรือฝั่งชุมพร 305,666 ล้านบาท, ท่าเรือฝั่งระนอง 330,810 ล้านบาท)
  • การพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (SRTO) ทั้งสองฝั่งมีมูลค่าลงทุนรวม 141,103 ล้านบาท
  • มอเตอร์เวย์และรถไฟทางคู่ รวม 223,626 ล้านบาท
  • โครงการท่าเรือนานาชาติระนอง
  • การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังท่าโดยการถมทะเลเพื่อพัฒนากิจการสนับสนุนท่าเรือ

ทั้งนี้ โครงการแลนด์บริดจ์ ครม.เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 รับทราบ ตามแผนช่วงเดือนพ.ย.2566 จะรับฟังความเห็นในพื้นที่โครงการ จากนั้นปี 2567 จะจัดทำกฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายและสำนักงานนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)

และเมื่อเข้าสู่ปี 2568 ประมาณเดือน เม.ย.-มิ.ย.2568 จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน เม.ย.-มิ.ย.2568 ก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน และจัดกรรมสิทธิที่ดินช่วงม.ค.2568 -ธ.ค.2569

คาดว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติลงนามในสัญญาได้ในเดือนก.ค.-ส.ค.2568 ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ในเดือน ก.ย.2568 - ก.ย.2573 และเปิดให้บริการในเดือน ต.ค.2573

อ่านข่าว

“เศรษฐา” พอใจถกนายกฯ จีน เดินหน้า “แลนด์บริดจ์” ดันผุดสะพานข้ามโขงอีก

คุ้มหรือไม่ "เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง