ปรับเงินเดือน "ข้าราชการ" VS "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" รักษาฐานเพื่อไทย

สังคม
8 พ.ย. 66
11:54
11,136
Logo Thai PBS
ปรับเงินเดือน "ข้าราชการ" VS "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" รักษาฐานเพื่อไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

แจกสะพัด "รัฐบาลเพื่อไทย" ภายใต้การนำของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กำลังถูกจับตามอง ไม่เพียงแต่การแจก "เงินดิจิทัล 10,000 บาท" ที่คาดว่าจะมีการเคาะอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 10 พ.ย.นี้ แต่ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ถูกจับตามองไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ "การปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ" และการปรับขึ้น "อัตราค่าแรงขั้นต่ำ"

โดยเฉพาะการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการ ซึ่งถูกปรับครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2558 ในยุครัฐบาล "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ซึ่งปรับฐานสูงถึง 8 เปอร์เซ็นต์ และการปรับเงินค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ คาดว่าจะมีการปรับขึ้นทั่วประเทศ 

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

แต่ทั้ง 2 เรื่อง ยังมีคำถามว่า จะมีการปรับขึ้นอย่างไร และจะมีผลเมื่อใด แม้นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการข้าราชการพลเรือน จะขานรับนโยบายทันที แต่ "เศรษฐา" นายกรัฐมนตรี ในฐานะ รมว.คลัง ให้ไปศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ แนวทาง กรอบระยะเวลา รวมถึงผลกระทบของการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่รัฐ 

อ่านข่าว : อนุมัติงบบัตรทองปี 67 จ่ายรายหัว 3,472.24 บาท

ขั้นตอนปรับขึ้นเงินเดือน ขรก.ฉลุย 

หลังจากนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ ในฐานะประธานกรรมการข้า ราชการพลเรือน เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้แล้ว 

พบว่าขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ระหว่างพิจารณาวิธีการปรับเงินเดือนและปรับปรุงบัญชีเงินเดือน ว่าจะมีการขยายขอบเขตไปยังหน่วยงานใดบ้าง หลังได้ข้อสรุปจึงจะนำไปหารือกับ "สำนักงบประมาณ" เพื่อหาทางเพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการ

ต่อจากนั้นจึงนำไปหารือร่วมกับนายปานปรีย์, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.), กระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนที่จะเสนอต่อ ครม.ภายในเดือน พ.ย.นี้ ตามคำสั่งของ นายกรัฐมนตรี

สำหรับนโยบายเรื่องการ "ปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรี" ให้กับผู้จบการศึกษาใหม่ๆ ตลอดจนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" เป็นนโยบายลำดับต้น ๆ ของพรรคเพื่อไทยที่ใช้หาเสียงในทุกยุค

ตั้งแต่รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ดำเนินการปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ส่วนค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาท ซึ่งครั้งนั้นได้รับผลตอบรับดี

ต่อมารัฐบาลเศรษฐาใช้นโยบายนี้มาหาเสียง โดยระบุว่าจะปรับฐานเงินเดือนจบปริญญาตรี ให้อยู่ที่ 25,000 บาท ส่วนค่าแรงขั้นต่ำที่ 400 บาท ซึ่งยังต้องรอดูว่าจะทำได้จริงหรือไม่ 

อ่านข่าว : จับกระแสการเมือง:วันที่ 7 พ.ย.2566 รัฐบาลซานตาคลอสจัดหนัก "ลดแลก แจกไม่อั้น"

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ในฐานะนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการจับตาสถาน การณ์ไทยพีบีเอสว่า การขึ้นเงินเดือนข้าราชครั้งนี้เรียกเป็นการปรับฐานและเป็นสิ่งที่ควรทำ โดยเฉพาะการปรับขึ้นให้กับข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือกลุ่มสัญญาจ้างต่าง ๆ ที่เงินเดือนน้อยมาก

แต่สำหรับข้าราชการระดับสูงหากจะขึ้นควรต้องดูทั้งระบบ คือ ทำให้สอดคล้องกับการปฏิรูปและปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการทำงานมากกว่า

นอกจากนี้ รศ.ดร.อนุสรณ์ ยังมองว่า เป็นการทำตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้ให้ไว้ระหว่างการหาเสียง และไม่ได้ผิดอะไร แต่การจะทำก็อาจต้องทำเป็นระยะ ๆ เชื่อว่าวงเงินงบประมาณที่จะนำมาใช้ไม่สูงถึงแสนล้านแน่นอน ซึ่งอาจหมายถึงการปรับขึ้นเงินเดือนจะทำได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ ปี 2567 หากไม่ได้นำเงินไปใช้กับดิจิทัลวอลเล็ตเสียหมด 

สอดคล้องนายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ระบุว่า อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางร่วมกับ กพ.ในการปรับเพิ่มและแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ หากใช้งบประมาณรายจ่ายปี 2567 ก็สามารถทำได้ เพราะก็ยังมีงบกลาง

สำหรับเงินเลื่อนขั้น เงินเดือน เงินปรับวุฒิข้าราชการ โดยเริ่มได้ปี 2568 เชื่อจะไม่มีปัญหา เนื่อง จากปฏิทินงบประมาณปี 2568 จะเข้า ครม.ได้ภายในเดือน ม.ค. 2567

อ่านข่าว : ท้องถิ่นเฮ! ยื่นขอใช้งบฯ จังหวัด จากงบฯ ปี 67 ได้แล้ว

ขยับครั้งสุดท้ายเมื่อ 9 ปีที่แล้ว

หากพลิกกลับดูประกาศปรับฐาน "เงินเดือนข้าราชการ" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือน พ.ค.2558 ในช่วงของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่าให้มีผลย้อนหลังไปขึ้นเงินเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2557 เป็นการขึ้นเงินเดือนทั้งระบบ คือ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ตำรวจ ทหาร ให้กับข้าราชการชั้นผู้น้อย ตั้งแต่ระดับ 1-7 ในอัตราร้อยละ 4 ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ปัจจุบัน รวม 1.98 ล้านคนที่ขึ้นเงินเดือนให้ ใช้งบประมาณไป 22,900 ล้านบาท เงินเดือนข้าราชการต่ำสุด เริ่มต้นตั้งแต่ 4,870 บาท

ข้าราชการ

ข้าราชการ

ข้าราชการ

เปิดเงินเดือน ขรก."ขั้นต่ำ-ขั้นสูง" 

สำหรับเงินเดือนข้าราชการปัจจุบันแต่ละตำแหน่งจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทตั้งแต่ บริหาร, อำนวยการ, วิชาการ และทั่วไป ซึ่งในแต่ละประเภทจะแบ่งเป็น ลำดับขั้น ตั้งแต่ระดับชั่วคราว ไล่มาที่ขั้นต่ำ และขั้นสูง ซึ่งแต่ละประเภทจะมีฐานเงินเดือนที่แตกต่างกัน มีรายละเอียด ดังนี้

ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 แบ่งตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ 4 ประเภท

  • ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ และรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
  • ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
  • ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตามที่ ก.พ.กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
  • ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ.กำหนด

อ่านข่าว :  โลกคนกลางคืนคึก "ห่วงเมาขับ" ตีปีกปิดผับถึงตี 4

ขั้นเงินเดือนต่ำ-สูง"ขรก.พลเรือนสามัญ"  

ส่วนข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราที่กำหนดไว้ ตามคุณวุฒิที่บรรจุแต่งตั้ง เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 ซึ่งกำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 34 คุณวุฒิ ประกอบด้วยคุณวุฒิหลัก เช่น

  • ปริญญาเอก บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 21,000 - 23,100 บาท
  • ปริญญาโท บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 17,500 - 19,250 บาท
  • ปริญญาตรี บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,000 - 16,500 บาท (ปริญญาตรี 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 - 17,380 บาท)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 11,500 - 12,650 บาท
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 9,400 - 10,340 บาท
ข้าราชการ

ข้าราชการ

ข้าราชการ

ทั้งนี้ จากข้อมูลจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ระบุเงินเดือนข้าราชการในแต่ละระดับ ดังนี้ เริ่มที่ บัญชีเงินเดือน "ตำแหน่งประเภทบริหาร"

ขั้นต่ำชั่วคราว

  • ระดับต้น : 24,400 บาท
  • ระดับสูง : 29,980 บาท

ขั้นต่ำ

  • ระดับต้น : 51,140 บาท
  • ระดับสูง : 56,380 บาท

ขั้นสูง

  • ระดับต้น : 74,320 บาท
  • ระดับสูง : 76,800 บาท

บัญชีเงินเดือนตำแหน่งประเภทอำนวยการ

ขั้นต่ำชั่วคราว

  • ระดับต้น : 19,860 บาท
  • ระดับสูง : 24,400 บาท

ขั้นต่ำ

  • ระดับต้น : 26,660 บาท
  • ระดับสูง : 32,850 บาท

ขั้นสูง

  • ระดับต้น : 59,500 บาท
  • ระดับสูง : 70,360 บาท

บัญชีเงินเดือน ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ขั้นต่ำชั่วคราว

  • ระดับปฏิบัติการ : 7,140 บาท
  • ระดับชำนาญการ : 13,160 บาท
  • ระดับชำนาญการพิเศษ : 19,860 บาท
  • ระดับเชี่ยวชาญ : 24,400 บาท
  • ระดับทรงคุณวุฒิ : 29,980 บาท

ขั้นต่ำ

  • ระดับปฏิบัติการ : 8,340 บาท
  • ระดับชำนาญการ : 15,050 บาท
  • ระดับชำนาญการพิเศษ : 22,140 บาท
  • ระดับเชี่ยวชาญ : 31,400 บาท
  • ระดับทรงคุณวุฒิ : 43,810 บาท

ขั้นสูง

  • ระดับปฏิบัติการ : 26,900 บาท
  • ระดับชำนาญการ : 43,600 บาท
  • ระดับชำนาญการพิเศษ : 58,390 บาท
  • ระดับเชี่ยวชาญ : 69,040 บาท
  • ระดับทรงคุณวุฒิ : 76,800 บาท

บัญชีเงินเดือน ตำแหน่งประเภททั่วไป

ขั้นต่ำ

  • ระดับปฏิบัติงาน : 4,870 บาท
  • ระดับชำนาญงาน : 10,190 บาท
  • ระดับอาวุโส : 15,410 บาท
  • ระดับทักษะพิเศษ : 48,220 บาท

ขั้นสูง

  • ระดับปฏิบัติงาน : 21,010 บาท
  • ระดับชำนาญงาน : 38,750 บาท
  • ระดับอาวุโส : 54,820 บาท
  • ระดับทักษะพิเศษ : 69,040 บาท

ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่ เดือน ธ.ค. 2557 - พ.ย.2566 พบว่ายังไม่เคยมีการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบอีกเลย

อ่านข่าว : สคส.เตรียมระบบ "ห้ามโทรหาฉัน" ป้องกันมิจฉาชีพโทรลวง ปชช.

นอกจากเรื่องการปรับเงินเดือน "ข้าราชการ" แล้ว รัฐบาลยังมีนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานอีกด้วย

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน อัปเดตความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่า ก่อนสิ้นปี 2566 จะมีการปรับขึ้นแน่นอน แต่อาจไม่ใช่ 400 บาททั่วประเทศ 

ในส่วนของการพิจารณาจะอยู่ จะเป็นไปตามกฎหมายแรงงานในมาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

โดยการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะเป็นไปตามกฎหมายแรงงานในมาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งตอนนี้รอข้อมูลของแต่ละจังหวัด เพื่อประชุมหารือในวันที่ 17 พ.ย.นี้ จากนั้นจึงจะหารือของคณะกรรมการค่าจ้างในรูปแบบไตรภาคี คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือน ธ.ค.นี้   

นอกจากนี้ ต้องมองอัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยปี 2566 ด้วยว่าคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อมาคำนวณได้

รมว.แรงงาน อธิบายว่า การพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น ได้มีการใช้สูตรการคำนวณประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทย ตั้งแต่ปี 2560 ส่งผลให้ตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดมีอัตราที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

อ่านข่าว : ปนเปื้อน เดอะซีรีส์ EP.2 หลุมฝังกลบ "ชุมชนหนองพะวา" ยุติธรรมไม่มีจริง

เปิดค่าแรงขั้นต่ำ "ย้อนหลัง 10 ปี "

จากการรวบรวมข้อมูลการปรับขึ้นค่าแรงย้อนหลัง 10 ปี กระทรวงแรงงาน พบว่ามีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ตั้งแต่ปี 2554 – 2565 ดังนี้

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและการปรับเงินเดือนข้าราชการของรัฐบาลเพื่อไทยคาดว่าจะต้องมีการขยับแน่นอน ต้องติดตามว่าจะสามารถทำได้มากน้อยได้เพียงไหน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้งบประมาณแผ่นดิน ในระยะยาว 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง