รู้จักไวรัส "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV"

สังคม
10 พ.ย. 66
12:54
21,092
Logo Thai PBS
รู้จักไวรัส "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้จัก "เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส" หรือ "hMPV" อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV" เช็กอาการ พร้อมข้อแนะนำป้องกัน ลดโอกาสติดเชื้อ

"hMPV" ย่อมาจาก Human Metapneumovirus หรือ เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อนี้บ่อยในช่วงนี้ โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว คือ ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. - พ.ย. ซึ่งเป็นช่วงที่มักพบการระบาด

hMPV เป็นไวรัสที่อันตรายใกล้เคียง กับไวรัส RSV ที่มีการพูดถึงกันบ่อยเช่นกันในช่วงนี้ หากพูดแล้ว hMPV ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่ เป็นไวรัสที่พบได้บ่อย และพบมานานแล้ว จากการศึกษาย้อนหลัง พบว่า เชื้อ hMPV เป็นเชื้อที่มีอยู่เดิม แต่เพิ่งค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2544 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์

CNN รายงานข้อมูลการศึกษา ใน Lancet Global Health ในปี 2020 คาดการณ์ว่าในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการติดเชื้อ hMPV มากกว่า 14 ล้านครั้ง ในปี 2018 มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 600,000 คน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 16,000 คน

อ่านข่าว : "หมอมนูญ" เตือน "ไวรัส hMPV" ระบาด อาการคล้าย "ไข้หวัดใหญ่ - โควิด - RSV"

โรค hMPV คือ อะไร?

หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ "hMPV" วันนี้มาทำความรู้จักไวรัสชนิดนี้ให้ดีขึ้นดีกว่า นั้นก็เพื่อ หาทางป้องกัน และหาวิธีที่ลดโอกาสในการติดเชื้อ

เชื้อ "เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส" หรือ hMPV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ RSV ทำให้เกิดอากาศติดเชื้อในทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ โดยเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส สามารถติดต่อกันผ่านทาง น้ำมูก น้ำลาย ไอ และ จาม

อย่างไรก็ตาม ในผู้ใหญ่และเด็กโตที่มีภูมิต้านทานดีหากติดเชื้อนี้ บางคนอาจมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา หรืออาจไม่มีอาการเลยก็ได้

อ่านข่าว ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์เอ พุ่งป่วย 3.5 แสนคน ตาย 21 คน

อาการ ผู้ติดเชื้อไวรัส "hMPV"

สำหรับอาการของโรคนี้คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 และ RSV มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก เหนื่อย หายใจไม่สะดวก แยกยากจากไวรัสตัวอื่น ๆ ต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการถึงจะบอกได้ สำหรับระยะฟักตัวของโรคอยู่ประมาณ 3-5 วัน ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้นานถึง 1-2 สัปดาห์ หลังจากแสดงอาการ

เชื้อ hMPV มีการเพิ่มจำนวนได้ดีในเซลล์เหยื่อบุทางเดินหายใจ กลไกที่ทำให้เกิดโรคมีความคล้ายกับการติดเชื้อ RSV ผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ หรือ แสดงอาการตั้งแต่ไข้หวัด ไปถึงขั้นอากาศรุนแรง คือ หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน หรือ ปอดบวม โดยเชื้อสามารถอยู่ในปอดได้นานหลายสัปดาห์ ถึงแม้จะมีการสร้างภูมิคุ้มกัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ มีไข้ ไอ เป็นอาการนำ นอกจากนี้ ยังมีน้ำมูกไหล หลังได้ติดเชื้อผู้ป่วยยังอาจมีอาการ อาเจียน ชัก เป็นผื่น และท้องเสีย เกิดขึ้นได้ ตรวจร่างกายพบ เกิดเสียงผิดปกติขึ้นขณะหายใจ เช่น หายใจมีเสียงหวีด นอกจากนี้ยังอาจมีภาวะ Hypoxia หรือ ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน ต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต และยังอาจกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม ทำให้เกิดอาการหอบหืด คล้าย RSV

เชื้อไวรัส hMPV มักจะเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนล่างหลอดลมและปอดในคนสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน หอบหืด โรคไต ทำให้เกิดอาการเหนื่อย จนต้องให้ออกซิเจน บางคนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลว

อ่านข่าว คนใช้ "บัตรทอง" ได้รับความเสียหายหลังรักษา รับเงินช่วยเหลือ 4 แสนบาท

การตรวจวินิจฉัย และรักษา

ปัจจุบันการตรวจ hMPV ทำได้โดยวิธีการ swab ป้ายจมูกแล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นเดียวกับการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ RSV ซึ่งให้ผลเร็ว ทำให้พบเชื้อนี้มากกว่าแต่ก่อน

เชื้อนี้ปัจจุบันไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ hMPV เป็นการรักษาตามอาการ โดยในช่วงนี้ มีเด็ก และผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ จำนวนมาก โดยข้อมูลเดือนตุลาคม 2566 ของโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV)

  • พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 294 คน เพิ่มขึ้นมากกว่าเดือน ก.ย.
  • พบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เดือนที่แล้วยังสูง 434 คน
  • เชื้ออาร์เอสวี (RSV) 79 คน
  • เชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส (hMPV) เพิ่มขึ้นเป็น 53 คน

นอกจากนี้ ยังระบุว่า การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โควิด-19, RSV, hMPV และไข้เลือดออกยังสูงอยู่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่แซงหน้าไวรัสโควิด 3 เดือนต่อเนื่อง และช่วงนี้เด็กและผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจจำนวนมาก โดยการป้องกันสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เลี่ยงใกล้ชิดผู้ป่วย ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ

อ้างอิง นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์, กระทรวงสาธารณสุข ,โรงพยาบาลนครธน

เช็ก 5 โรค เหมือน-ต่างกันอย่างไร

เช็ก 5 โรค เหมือน-ต่างกันอย่างไร

เช็ก 5 โรค เหมือน-ต่างกันอย่างไร

อ่านข่าวอื่น ๆ

หมอยง ชี้ RSV ไม่ใช่โรคใหม่ ติดเชื้อซ้ำได้

สคส. เตรียมระบบ "ห้ามโทรหาฉัน" ป้องกันมิจฉาชีพโทรลวง ปชช. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง