หัวอก“รถเกี่ยวข้าว”ยังไม่ปรับราคา วอนแก้จ่ายค่าเหยียบแผ่นดินอีสาน

เศรษฐกิจ
20 พ.ย. 66
17:18
1,552
Logo Thai PBS
หัวอก“รถเกี่ยวข้าว”ยังไม่ปรับราคา วอนแก้จ่ายค่าเหยียบแผ่นดินอีสาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ทันทีที่ครม.ไฟเขียวช่วยค่าเก็บเกี่ยวให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เป็นช่วงจังหวะที่ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยวข้าวกำลังเริ่มต้น บางพื้นที่มีเสียงร้องทุกข์จากเกษตรกรว่า รถเกี่ยวข้าวขี้นราคาสวนกระแสราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นๆลงๆ ขณะหลายๆพื้นที่ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวยังยืนหยัดในราคาเดิม

สภาพพื้นที่ "นาติดหล่ม"เงื่อนไขปรับขึ้นราคา

นายวิชาญ พิมพ์เจริญ เจ้าของอู่รถเกี่ยว ช.การช่าง และอดีตประธานชมรมรถเกี่ยวข้าวแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์”ว่า การจ้างรถเกี่ยวข้าว คือ ข้อตกลงราคาระหว่างชาวนากับรถเกี่ยวข้าว และเงื่อนไขราคา ขึ้นอยู่กับจำนวนแปลงนาข้าวว่ามีขนาดเล็กหรือเป็นแปลงใหญ่ หากเป็นนาแปลงเล็กมีคันนาดินโคลนหรือที่เรียกว่าหล่มกะทิ ทำให้รถเข้าไปเกี่ยวข้าวได้ยาก พวกรถเกี่ยวข้าวจะไม่เข้าไปรับจ้าง เพราะจะทำให้เสียเวลา

ทุ่งนาข้าวหอมมะลิ

ทุ่งนาข้าวหอมมะลิ

ทุ่งนาข้าวหอมมะลิ

พื้นที่หล่มกะทิ รถเกี่ยวจะเข้าไปได้ยาก หากเกิดความเสียหายขึ้นมาจะเสียค่าซ่อมหลักหมื่น หรือหยุดพักการเกี่ยวทำให้เสียรายได้และเสียเวลา ตรงนี้ชาวนาไม่ได้มารับทราบ โดยเฉพาะในภาคอีสานการเข้าไปเกี่ยวข้าวต้องผ่านนายหน้า ผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นผู้รวบรวมชาวนาและเก็บค่านายหน้า 50-100 บาทต่อไร่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

รถเกี่ยวข้าวฉวยขึ้นราคาหลัง ครม.เคาะช่วยค่าเก็บเกี่ยวชาวนา

ชาวนาเฮ ! รัฐบาลไฟเขียว สั่งพักหนี้-หนุนจ่ายไร่ละ 1,000 บาท

ชาวนาอาจจะรับรู้แค่ว่า ตกลงค่าเกี่ยวข้าวเท่านี้ แต่นายหน้าไปบวกราคาเพิ่ม หรือมีการโกงนา คือ บอกว่ามีนา 20 ไร่ แต่เกี่ยวจริงแค่ 17ไร่ ซึ่งรถเกี่ยวก็ต้องรับสภาพไป เพราะอยากได้งาน

ตอนนี้รถเกี่ยวข้าวเยอะมาก ถ้ารวมทั้งประเทศก็แสนคันได้ ดังนั้นรถเกี่ยวก็ต้องง้อหางาน ซึ่งเป็นโอกาสให้นายหน้าที่หารถเกี่ยวสบช่องโกงได้ ทั้งไม่จ่ายค่ารถเกี่ยว หรือชาวนาโกงพื้นที่ไม่บอกความจริง แม้ว่ารถเกี่ยวจะใช้GPS ในการวัดขนาดพื้นที่ก็ตามก็ต้องรับสภาพไป
รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว

นายวิชาญ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ร้องเรียนว่าค่ารถเกี่ยวข้าวแพงจริง ๆ มีแค่ 20% เพราะคนกลุ่มนี้ คือ นามีขนาดเล็กบ้าง ข้าวล้ม มีดินโคลน ยากต่อการเข้าพื้นที่ไปเกี่ยวและเป็นราคาที่ตกลงกันกับนายหน้า

ส่วนอีก 80% คือเป็นนาที่ไม่มีปัญหาในการเข้าไปเกี่ยว และราคาก็ไม่ได้ปรับขึ้น ซึ่งเฉลี่ย 500-600 บาท แล้วแต่จะตกลงกัน

นายวิชาญกล่าวว่า เคยเสนอปัญหาดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าไปดูแลไม่ว่าจะเป็น พื้นที่นาล่ม เป็นโคลน ติดหล่มกะทิ รถเกี่ยวก็จะจมดินทำให้เกี่ยวข้าวไม่ได้ ถูกนายหน้ายกเค้าหรือโกงเก็บเงินจากชาวนามาแล้วไม่นำมาจ่ายให้รถเกี่ยวข้าว ทำให้เกิดการฟ้องร้องแต่สุดท้ายผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่มีสัญญาเป็นเพียงการพูดตกลงปากเปล่า

ทุ่งนาข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน

ทุ่งนาข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน

ทุ่งนาข้าวหอมมะลิในภาคอีสาน

นอกจากนี้ แปลงนาเล็ก เป็นขั้นบันได สูงๆ ต่ำๆ นามีตอไม้หรือต้นไม้เยอะ เป็นอีกปัญหาที่รถเกี่ยวจะไม่เข้า ไปถ้าเทียบกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นถือว่าไม่คุ้ม และที่สำคัญ คือ ชาวนาโกงนาไม่เป็นไปตามโฉนดและ เงื่อนไข

บางครั้งรถเกี่ยวต้องยอมขาดทุนเพราะอยากได้งาน มีอบต.บางพื้นที่มีการเรียกเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจากรถเกี่ยวนอกพื้นที่คันละ 1,000-1,500บาท พอไปถามผู้ว่าฯก็บอกว่าเป็นกฎหมายท้องถิ่นที่ออกมากันเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหามากพอๆกับถูกนายหน้าโกงหรือชาวนาโกง
รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว

หัวอกรถเกี่ยวฯ"อีสาน"เจอหักหัวคิว-โกง

สำหรับต้นทุนของรถเกี่ยวข้าวต่อการไปเกี่ยวข้าว นายวิชาญกล่าวว่า ถ้าจะคุ้มทุนกับการลงทุนรถเกี่ยวข้าวมูลค่าคันละ 2,000,000 บาท กับการออกไปรับจ้างเกี่ยวข้าวหนึ่งรอบต้องบริหารให้ได้ 1,000 ไร่ หรือเฉลี่ยเกี่ยวข้าวได้วันละ 40-50 ไร่

ในกรณีรถเกี่ยวข้าวทำงาน 20 วัน สามารถเกี่ยวข้าวได้จำนวน 1,000 ไร่ ได้เงินค่าเกี่ยวข้าว 500,000 บาท หักหักค่าน้ำมัน 150,000 บาท ค่าจ้างคนขับ 50,000 บาท จ่ายค่าจิปาถะรายทางอีกประมาณ 50,000 บาท เหลือ 250,000 บาท หากเทียบกับยุคก่อนถือว่ารายได้ลดลง ส่วนหนึ่งเพราะรถเกี่ยวข้าวเพิ่มขึ้นนับแสนคัน

พื้นที่ภาคอีสานมีปัญหามากที่สุด ในการเกี่ยวข้าวเพราะชาวนากับรถเกี่ยวไม่รู้จักกันการรับงานต้องผ่านนายหน้า ราคาจึงเป็นตามที่นายหน้าเรียก ชาวนามีหน้าที่จ่ายก็จบ ต่างจากภาคกลางที่ชาวนากับรถเกี่ยวจะจ่ายเงินกันเองไม่มีนายหน้า
รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว

ภาคกลาง "ไม่ระทม" รถเกี่ยวยืนราคาเดิม

สอดคล้องกับ นายเปี๊ยก กาญจนเลขา เจ้าของอู่รถเกี่ยวซิ่ง ส.เจริญทรัพย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บอกว่า ราคารับจ้างเกี่ยวข้าวในพื้นที่ยังอยู่ไร่ละ 300บาท โดยเจ้าของนาเป็นคนออกค่าน้ำมัน เฉลี่ยต้นทุนในการเกี่ยว 450บาทต่อไร่

1ไร่ใช้น้ำมัน 4 ลิตร ถ้าผ่านนายหน้าเสียอีกไร่ละ 50 บาทคนขับได้อีกไร่ละ60 บาท แต่ทั้งนี้ราคาค่าเกี่ยวข้าวก็ขึ้นอยู่กับประเภทของข้าวเกี่ยวข้าวนาปีหรือนาปรังด้วยเพราะต้นข้าวไม่เหมือนกัน

นายเปี๊ยก กล่าวว่า ขณะนี้ขึ้นมารับจ้างเกี่ยวข้าวที่จังหวัดอุดรธานี มีคิวยาวตลอดทั้งเดือน ส่วนราคาค่าเกี่ยวข้าวยังไม่ปรับราคา แต่ต้องดูราคาในพื้นที่ด้วยว่าคิดอย่างไร และจะไม่ตั้งราคาตัดกัน

ปัญหาที่เจอตอนนี้คือนายหน้า และเจ้าของ นาแจ้งจำนวนไร่ไม่ตรงกับพื้นที่นาที่จะเกี่ยว เช่น แจ้งมาว่า 17 ไร่ แต่เกี่ยวจริง 20 ไร่ดังนั้นต้องใช้GPS จับระยะทางจริง ไม่รับจ้างก็ไม่มีงานไม่มีเงินก็ยอมรับสภาพไป

ด้านนางยุพิน พ่วงเอี่ยมเจริญ ชาวนาจังหวัดฉะเชิงเทรา บอกว่า ราคาค่ารถเกี่ยวข้าวยังไม่ปรับราคาอยู่ที่ไร่ละ 300บาท ไม่รวมค่าน้ำมันที่เจ้าของนาต้องเป็นผู้ที่ออกเอง แต่ถ้าร่วมค่าน้ำมันด้วยเฉลี่ยค่าเกี่ยวจะอยู่ที่ 450 บาทต่อไร่

รถเกี่ยวข้าวจะได้กำไรไร่ละ 20-30 บาทถ้ารวมค่าน้ำมัน แต่ถ้าชาวนาออกค่าน้ำมันเอง เขาก็ได้แค่ค่าแรงที่ 300 บาท ถ้ามีนา 10 ไร่ จะใช้น้ำมัน 60 ลิตร

นางถนอม (นามสมมุติ) ชาวนาในจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า อีก 2 สัปดาห์ข้าวที่ปลูกไว้จะถึงเวลาเกี่ยว โดยราคาค่าเกี่ยวปีนี้อยู่ที่ไร่ละ 1,000 บาท รวมค่าน้ำมันยังไม่ร่วมค่าลากข้าวเที่ยวละ 200บาท ซึ่งราคายังเท่ากับปีที่ผ่านมา ส่วนเงินอุดหนุนชาวนา 1,000บาท เป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้

 อ่านข่าวอื่นๆ:

ว่าที่ดาวเด่น Soft Power "กวาวเครือขาว" สมุนไพรไทย

แลกเปลี่ยน ! จีนสนใจส่งออกยามะเร็ง ไทยเร่งเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์

“e-Refund” ปลอบใจคนช้ำ ชวดเงินดิจิทัล 10,000 บาท

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง