"ธรรมศาสตร์" ชวนสร้างค่านิยมใหม่ ส่งมอบคุณค่า “วันรับปริญญา”

สังคม
5 ธ.ค. 66
18:20
699
Logo Thai PBS
"ธรรมศาสตร์" ชวนสร้างค่านิยมใหม่ ส่งมอบคุณค่า “วันรับปริญญา”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ธรรมศาสตร์ชวนสร้าง “ค่านิยมใหม่” วันรับปริญญา ใช้วาระเฉลิมฉลองบัณฑิต เป็นสะพานเชื่อมโอกาสสู่สังคม

“วันรับปริญญา” ถือเป็นวาระแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่มองว่า วันรับปริญญาคือหลักไมล์สำคัญของชีวิต เป็นรอยต่อที่จะก้าวเข้าสู่โลกการทำงานอย่างเต็มตัว

แทบทุกมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมรับปริญญาขึ้นด้วยความปรารถนาดี เพื่อส่งมอบประสบการณ์และความทรงจำอันดีให้กับเหล่าบัณฑิต วันรับปริญญาจึงเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน และความภาคภูมิใจของคนในครอบครัว

นั่นจึงกลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในโอกาสแห่งการแสดงความยินดี ของขวัญนานาชนิดถูกส่งมอบแก่บัณฑิตแทนความรู้สึก ทว่าสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และว่าที่บัณฑิตจากรั้ว มธ. กลุ่มหนึ่ง ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 นี้ กลับตีความ “กิจกรรมวันรับปริญญา” ด้วยนิยามใหม่

เขาเหล่านั้นมองว่า การแสดงความยินดีนั้นสามารถแสดงออกได้หลากหลาย มากกว่าเพียงแค่การให้ของขวัญ และผู้ที่เข้ามาร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิต ก็ควรได้รับประโยชน์จากวาระอันดีงามนี้ไปพร้อม ๆ กันด้วย

นั่นจึงเป็นที่มาของแนวคิด “ให้ของขวัญเป็นความสุขส่งต่อได้” และต้องการส่งต่อไอเดียไปถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ที่เห็นสอดคล้องกัน เพื่อร่วมกันพลิกโฉม วันรับปริญญาใหม่ สร้างค่านิยมใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคล สังคม และโลกใบนี้

สำหรับวันรับปริญญานั้น เป็นวันที่คนที่เรารักและคนที่รักเรา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ยอมสละเวลา-สละชีวิตส่วนตัว เพื่อเดินทางมาแสดงความยินดี มาร่วมเฉลิมฉลองกับบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมองเห็นถึงวาระโอกาสที่ดีในครั้งนี้ ที่จะทำอะไรกันมากกว่าการถ่ายรูปและให้ของขวัญแก่บัณฑิต เปลี่ยนจากวันเฉลิมฉลองไปสู่ “วันมอบโอกาสให้สังคม” แทน

นรมน ปุณยชัยพันธ์ หรือ หมูแฮม กรรมการบัณฑิต ให้ความเห็นว่า การเข้าร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตเนื่องในโอกาสจบการศึกษาเมื่อถึงวันรับปริญญานั้น ความคิดแรก ๆ ของผู้ที่มาร่วมงาน มักเป็นการซื้อของขวัญมอบให้กับบัณฑิต เช่น ดอกไม้ ลูกโป่ง ตุ๊กตา ฯลฯ

ด้วยเจตนาที่ต้องการแสดงความยินดี ซึ่งแม้บัณฑิตจะรู้สึกดีใจที่มีคนมาหาและมอบของให้ แต่ก็ต้องคิดต่อไปว่า หลังจากนั้นจะทำอย่างไรกับของขวัญเหล่านั้นดี เพราะของที่ไม่มีประโยชน์ก็จะมีโอกาสกลายเป็นขยะ

นรมน ปุณยชัยพันธ์ หรือ หมูแฮม กรรมการบัณฑิต ใ

นรมน ปุณยชัยพันธ์ หรือ หมูแฮม กรรมการบัณฑิต ใ

นรมน ปุณยชัยพันธ์ หรือ หมูแฮม กรรมการบัณฑิต ใ

เธอมองว่า หากต้องการมอบของขวัญให้แก่บัณฑิตแล้ว การเลือกสิ่งของที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่สร้างสรรค์และน่าสนใจมากกว่า

อาจเลือกมอบสิ่งของที่คิดว่าบัณฑิตคนนั้นได้ใช้อยู่แล้ว หรือเป็นการมาหาเพื่อแสดงความยินดีเฉย ๆ ก็ได้ เพราะบัณฑิตหลายคนก็มองเหมือนกันว่าเพียงแค่เขามาแต่ตัว มาร่วมแสดงความยินดี เพียงเท่านี้ก็ดีใจแล้ว หรืออาจเป็นการนัดออกไปทานข้าวพบเจอพูดคุยกันก็ได้

แต่หากอยากมอบของขวัญให้กับบัณฑิตจริง ๆ อย่างดอกไม้ หรือลูกโป่ง เพราะบางคนมองว่าถ่ายรูปแล้วสวย ก็คิดว่ายังคงสามารถทำได้ เพียงแต่เราอาจมีทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น ดอกไม้ อาจใช้ทางเลือกที่เป็นดอกไม้ตากแห้ง หรือดอกไม้ลักษณะที่เป็นถักไหมพรม ซึ่งบัณฑิตสามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้

เธอ ย้ำว่า นี่ไม่ใช่การกล่าวโทษ ว่าการให้ของขวัญนั้นไม่ดี เพียงแต่อาจช่วยสร้างความตระหนักให้ผู้คนได้ฉุกคิดถึงทางเลือกอื่น ๆ โดย ผู้ให้ก็ดีใจ ผู้รับก็สุขใจ และยังดีต่อโลกมากขึ้นด้วย

ขณะที่ คุณากร ตันติจินดา หรือ บี๋ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า แม้การมอบของขวัญจะดูเป็นเรื่องปกติ เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเพื่อแสดงความยินดีกับใคร แต่ในมุมที่เป็นข้อเสียคือ ของขวัญที่นำมามอบให้หลายอย่างนั้น ผู้รับอาจเอาไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้และกลายเป็นขยะต่อไป อย่างเช่น ดอกไม้ หรือแม้หากเป็นของขวัญที่ใช้งานได้ แต่มีคนนำมามอบให้เยอะ สุดท้ายก็อาจมีของจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกใช้งาน

เขามองว่า ทุกคนคงยังคงสามารถให้ของขวัญกันเหมือนเดิมได้ แต่เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้รับ หรือบัณฑิตได้มากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าอาจเลือกให้เป็นของขวัญ ที่สามารถนำเอาไปใช้งานได้จริงก่อน เป็นสิ่งของที่จะได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

ส่วนสิ่งของที่ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ หรือสิ่งของที่เน่าเสียตามกาลเวลา ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยง แล้วหาแนวทางอื่น ๆ ในการส่งต่อความสุข ความยินดี เช่น อาจเป็นการร่วมนำเอาสิ่งของไปบริจาคหรือทำบุญ

ด้าน สุชาวลีรัตน์ อุ่นคุณธรรม หรือ มิลค์ บัณฑิตคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ทูตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มุมมองว่า การรับปริญญาเสมือนหนึ่งสัญลักษณ์ความสำเร็จของบัณฑิต

หลังจากที่ใช้เวลาศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยมานาน คนที่มาร่วมงานจึงรู้สึกอยากแสดงความยินดี และมักจะมีของขวัญติดไม้ติดมือมาด้วย เป็นของที่ดูแล้วน่ารักในวันดังกล่าว แต่ก็อาจเป็นขยะได้ในวันต่อไป เช่น ป้ายจบการศึกษา หรือดอกไม้ ที่วันหนึ่งก็แห้งเหี่ยวไป

เธอเชื่อว่าในเมื่อจุดประสงค์หลัก คือการร่วมแสดงความยินดี แต่คนอาจยังไม่ได้คิดต่อไปไกลว่าของขวัญเหล่านั้นสุดท้ายแล้วจะไปกองอยู่จุดไหน จึงทำให้รูปแบบการแสดงความยินดีนี้อาจไปสร้างภาระให้กับมหาวิทยาลัยหรือส่วนอื่น ๆ ต่อไปได้

ดังนั้นในสมัยปัจจุบัน ที่เรามีการรณรงค์ในเรื่องสิ่งแวดล้อม การพยายามไม่ทำร้ายหรือสร้างภาระให้กับโลกกันมากขึ้น จึงเป็นการดีหากเราจะร่วมกันเปลี่ยนรูปแบบการให้และรับของขวัญกันได้มากขึ้น

สุชาวลีรัตน์ อุ่นคุณธรรม หรือ มิลค์  บัณฑิตคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ทูตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุชาวลีรัตน์ อุ่นคุณธรรม หรือ มิลค์ บัณฑิตคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ทูตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุชาวลีรัตน์ อุ่นคุณธรรม หรือ มิลค์ บัณฑิตคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ทูตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถ้าเป็นคนที่สนิท รู้ใจบัณฑิตหน่อย เขาก็อาจเลือกของขวัญที่เหมาะสม และรู้ว่าเขาได้ใช้งานต่อแน่ ๆ เช่น บัณฑิตกำลังเตรียมตัวเข้าทำงานต่อในอนาคต ก็อาจเป็นสิ่งของ เช่น สมุดจด ปากกา หรือถ้ามีงบประมาณหน่อย ก็อาจเป็นกระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คก็ได้

มิลค์ ยังระบุด้วยว่า การที่คนรุ่นใหม่ มีความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเขาเป็นคนในรุ่นที่ได้รับผลกระทบ จากผลของการไม่ใส่ใจโลกมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโรคระบาด หรือการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติต่าง ๆ ทำให้ต้องหันมาสนใจเรื่องนี้กันมากขึ้น

โดยมีหลายพฤติกรรมที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการพกแก้วน้ำส่วนตัว หรือการพกถุงใส่ของใช้ซ้ำ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดการมอบของขวัญในงานรับปริญญานี้ ก็อาจเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้เช่นกัน

โดยเฉพาะบทบาทของมหาวิทยาลัย เพราะการรณรงค์สิ่งเหล่านี้ในงานรับปริญญา ผู้ที่เห็นจะไม่เพียงแค่บุคลากรหรือนักศึกษา แต่เป็นโอกาสสำคัญที่จะสามารถเผยแพร่แนวคิดดี ๆ เหล่านี้ไปสู่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ญาติ รวมถึงเพื่อน ๆ ของบัณฑิต ว่าเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่ยาก

นอกจากเรื่องของการมอบของขวัญก็อาจมีอย่างอื่น เช่น การติดตั้งจุดกดน้ำตามจุดต่าง ๆ ที่ทำให้คนสนใจการพกแก้วส่วนตัวกันมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการณรงค์จากจุดเล็ก ๆ เหล่านี้จะมีส่วนช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

และในปีนี้ เป็นปีแห่งการเริ่มต้นด้วยแนวคิดใหม่ ที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม และอยากจะให้ของขวัญเป็นความสุขที่ส่งต่อได้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญชวนทุกคนที่ตั้งใจมาร่วมแสดงความยินดีแก่บัณฑิต ในบรรยากาศเดิม ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม

ให้บัณฑิตเป็นสะพานเชื่อมโยงโอกาสไปสู่สังคม มาร่วมกันส่งต่อความสุข ซึ่งบัณฑิตสามารถบริจาคสิ่งของได้โดยตรงกับมูลนิธิเด็กสตรีและคนพิการ, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือมูลนิธิต่าง ๆ ได้ และนี่คือดีเอ็นเอของชาวธรรมศาสตร์ ทำเพื่อสังคม ทำเพื่อประชาชน

อ่านข่าวอื่นๆ

 ลวง(ระดับ)โลก! อ้างเป็นเจ้าของประเทศไกรลาสเซ็น MOU ปารากวัย

เพจ สู้ดิวะ เปิดบทส่งท้าย จาก "หมอกฤตไท" หวังเป็นพลังให้ผู้อื่น

ซอฟต์พาวเวอร์ “สงกรานต์” ทั้งเดือนเมษายน ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจมองข้าม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง