ที่สุด 10 ข่าวสิ่งแวดล้อมแห่งปี 2566 "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับไทย

สิ่งแวดล้อม
18 ธ.ค. 66
14:16
2,026
Logo Thai PBS
ที่สุด 10 ข่าวสิ่งแวดล้อมแห่งปี 2566 "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

365 วันในปีกระต่ายทอง วงการสิ่งแวดล้อมมีทั้งเรื่องอิ่มเอมใจ กับข่าวดีหลายเรื่องทั้งการพาพลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยพลัดถิ่นในศรีลังกากลับไทยได้สำเร็จ แต่ที่ดีใจสุด ในวงการอนุรักษ์คือการได้ลูกพญาแร้งตัวแรกในกรงเลี้ยง ชื่อ "เจ้าเหม่ง" หลังสูญพันธุ์จากไทยถึง 31 ปี และยังรอลุ้นไข่ใบแรกจาก "ป็อก-มิ่ง" พญาแร้งที่ส่งไปฮันนีมูนในป่าห้วยขาแข้ง ที่เพิ่งวางไข่ใบแรกเมื่อ 17 ธ.ค.นี้ 

"พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยกลับแผ่นดินเกิด

ถึงวันนี้เชื่อว่าชื่อของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยตัวผู้อายุ 30 ปี 1 ใน 2 เชือกที่รัฐบาลไทยส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีให้กับประเทศศรีลังกา เมื่อปี 2544 คงได้เข้ามานั่งอยู่ในหัวใจของแฟนคลับชาวไทยเรียบร้อยแล้ว หลังการเหยียบแผ่นดินแม่ครั้งแรก เมื่อ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา และถือเป็นช้างไทยตัวแรกในรอบ 22 ปีที่รัฐบาลเจรจาขอกลับมาดูแลอาการบาดเจ็บอย่างเป็นทางการ ซึ่งต้องฝ่าด่านหินและขั้นตอนทางการทูตนานเกือบ 8 เดือน

แต่ที่ยากกว่าคือ ความท้าทายและความเสี่ยงของทีมสัตวแพทย์ไทย และรัฐบาลในภารกิจการนำช้างที่อายุ 30 ปีเจ้าของ "งาอุ้มบาตร" ยาวข้างละเกือบ 2 เมตร แถมน้ำหนักกว่า 3 ตันครึ่งขึ้นเครื่องบินลัดฟ้ากลับมาไทยได้สำเร็จ

พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยกลับถึงแผ่นดินเกิดในรอบ 22 ปี รักษาอาการบาดเจ็บและจิตใจที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง

พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยกลับถึงแผ่นดินเกิดในรอบ 22 ปี รักษาอาการบาดเจ็บและจิตใจที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง

พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยกลับถึงแผ่นดินเกิดในรอบ 22 ปี รักษาอาการบาดเจ็บและจิตใจที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง

จนวันนี้กว่า 5 เดือนพลายศักดิ์สุรินทร์ในบ้านหลังใหม่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง ได้เข้าโปรแกรมการรักษาขาซ้ายงอตึงงอบาดเจ็บ ตาที่เป็นต้อกระจก และแผลฝีสะโพกไปในทิศทางดี ควบคู่กับบาดแผลทางจิตใจที่ได้รับเยียวยา และกลายเป็นขวัญใจของคนรักช้างไปเรียบร้อย

อ่านข่าว ฟื้นฟู-รักษาได้ผลดี "พลายศักดิ์สุรินทร์" เริ่มงอข้อเท้าได้

ภาพแรกครอบครัวเสืออภิญญา เซเลบป่าห้วยขาแข้ง

ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะบังเอิญตามติดชีวิตของ "เสือโคร่งอภิญญา" เจ้าของลายพาดกลอนที่น่าเกรงขาม แม้วันนี้ทีมวิจัยเสือป่าตะวันตกจะติดตามพฤติกรรม การใช้ชีวิตและประชากรเสือในป่าที่คาดว่ามีกว่า 148-189 ตัวโดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ถือเป็นบ้านหลังใหญ่ต้นกำเนิดเสือโคร่งให้กระจายพันธุ์ไปยังผืนป่าใกล้เคียง ซึ่งมีการศึกษาครอบครัวเสือโคร่งพร้อมตั้งชื่อเสือไว้มากกว่า 40 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอเรื่องราวผ่านกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า

"มงคล พิทักษ์หมู่" ถือเป็นช่างภาพอิสระคนแรกผู้บันทึกภาพครอบครัว "เสือโคร่งอภิญญา" เซเลบแห่งป่าห้วยขาแข้งที่กำลังพาลูกเสือหนุ่มคือ สอนสา กับ สรณ์สืบ ลูกเสือโคร่งอายุประมาณ 1 ปี มาฝึกใช้ชีวิตตามสัญชาตญาณ ทั้งกินซากวัวแดงที่ล่าไว้ ขัดเล็บกับต้นไม้ และฉีดพ่นสเปรย์ฉุนเพื่อแสดงอาณาเขต

อ่านข่าว Behind the scenes "มงคล" ผู้บันทึกภาพครอบครัวเสืออภิญญา

ภาพครอบครัวเสือโคร่งอภิญญาในป่าห้วยขาแข้ง (ถ่ายโดยนายมงคล พิทักษ์หมู่)

ภาพครอบครัวเสือโคร่งอภิญญาในป่าห้วยขาแข้ง (ถ่ายโดยนายมงคล พิทักษ์หมู่)

ภาพครอบครัวเสือโคร่งอภิญญาในป่าห้วยขาแข้ง (ถ่ายโดยนายมงคล พิทักษ์หมู่)

เขาเล่าว่า ใช้เวลา 2 วันที่มาส่องดูสัตว์บนหอส่องสัตว์ แต่ไม่คิดว่าจะได้เจอเสือโคร่งตัวเป็นๆ ถึง 3 ตัวตรงหน้า จึงเป็น 30 นาทีที่ประทับใจกับภาพตรงหน้า เพราะเป็นเสือโคร่งจากครอบครัวเดียวกัน และเห็นอิริยาบถในธรรมชาติ ภาพชุดนี้ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์หลายวัน และสำหรับมงคล ถึงกับบอกว่าเป็นภาพประทับใจที่สุดในรอบ 10 ปี

"เจ้าเหม่ง" ลูกพญาแร้งตัวแรกในไทย

ถือเป็นหน้าแรกความสำเร็จของทีมวิจัยพญาแร้ง สัตว์ป่าสงวน เจ้าของฉายา "เทศบาลแห่งผืนป่า" หลังพญาแร้งฝูงสุดท้ายสูญพันธุ์จากป่าห้วยขาแข้งเมื่อ 30 ปีก่อน และเหลือพญาแร้งในกรงเลี้ยงเพียง 6 ชีวิตที่สวนสัตว์โคราช ในจำนวนนี้เป็นตัวเมียเพียง 2 ตัว ตัวผู้ 4 ตัว

ล่าสุดเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ลูกพญาแร้งตัวแรกในกรงเลี้ยง ลืมตาออกมาดูโลก หลังจากจากการฟูมฟักไข่ 1 ใน 2 จากพ่อและแม่พญาแร้งในกรงเลี้ยงชื่อแจ็ค และแม่ชื่อนุ้ย ได้สำเร็จเป็นชาติที่ 2 ของโลก โดยลูกพญาแร้งผ่านการฟักไข่ตั้งแต่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา ใช้เวลาราว 50 วันลูกพญาแร้งตัวแรกฟักออกมาเป็นตัว เมื่อวันที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางความดีใจของทีมเจ้าหน้าที่ที่ฟูมฟัก

ขณะเดียวกัน ทีมวิจัยได้ทำงานคู่ขนานและรอลุ้นว่าพญาแร้งอีก 1 คู่ "ป๊อก-มิ่ง" ที่นำไปอยู่ในกรงขนาดใหญ่กลางป่าซับฟ้าฝ่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยส่งตัววันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.2565 เป็นเวลากว่า 1 ปี

ลูกพญาแร้ง ตัวเมียตัวแรก จากพ่อและแม่พญาแร้งในกรงเลี้ยงชื่อแจ็ค และแม่ชื่อนุ้ย ได้สำเร็จเป็นชาติที่ 2 ของโลก

"ลูกพญาแร้ง" ตัวเมียตัวแรก จากพ่อและแม่พญาแร้งในกรงเลี้ยงชื่อแจ็ค และแม่ชื่อนุ้ย ได้สำเร็จเป็นชาติที่ 2 ของโลก

"ลูกพญาแร้ง" ตัวเมียตัวแรก จากพ่อและแม่พญาแร้งในกรงเลี้ยงชื่อแจ็ค และแม่ชื่อนุ้ย ได้สำเร็จเป็นชาติที่ 2 ของโลก

อ่านข่าว สุดดีใจ! "มิ่ง พญาแร้ง" ออกไข่ใบแรกกลางป่าห้วยขาแข้ง

ล่าสุด โครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย แจ้งข่าวดี "มิ่ง" วางไข่ใบแรก หลังจากทั้ง 2 ตัวเริ่มมีพฤติกรรมขึ้นผสมพันธุ์ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 จนในที่สุดมิ่งวางไข่ใบแรกที่เกิดในป่าห้วยขาแข้งได้สำเร็จ ทั้งนี้ต้องลุ้นต่อว่า ไข่ใบนี้จะมีเชื้อหรือไม่

อ่านข่าว สำเร็จ! “พญาแร้ง" คู่แรก กลับบ้าน "ห้วยขาแข้ง" ในรอบ 30 ปี

"อิกัวนาเขียว" วายร้ายต่างถิ่นบุกเมืองละโว้

"อิกัวนาเขียว" สัตว์แปลกของเล่นมีชีวิตยอดฮิตราคาแพงหลักหมื่นในยุค 20 ปีตอนนี้ กลายเป็นสัตว์แปลกตกกระป๋องถูกทิ้งในชุมชนและพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีรายงานพบ "อิกัวนา" ตัวขนาด 1-1.5 เมตร มีสีสันหลากหลายนอนผึ่งแดดบนต้นไม้และริมบึงในชุมชนติดขอบป่าเขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และสวนนกชัยนาท จ.ชัยนาท บางส่วนในป่าคำชะโนด จ.อุดรธานี และแถบ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรีที่น่าตกใจคือใน 4-5 พื้นที่ยังไม่สามารถประเมินประชากรได้ชัดเจน เบื้องต้นสันนิษฐานมีนับพันตัว

อิกัวนาเขียว เอเลียนสปีชีส์ ระบาดหนักในพื้นที่จ.ลพบุรี เจ้าหน้าที่ไล่จับนำออกจากสิ่งแวดล้อม

อิกัวนาเขียว เอเลียนสปีชีส์ ระบาดหนักในพื้นที่จ.ลพบุรี เจ้าหน้าที่ไล่จับนำออกจากสิ่งแวดล้อม

อิกัวนาเขียว เอเลียนสปีชีส์ ระบาดหนักในพื้นที่จ.ลพบุรี เจ้าหน้าที่ไล่จับนำออกจากสิ่งแวดล้อม

โดยนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สั่งจับเป็นการด้วยการส่งทีมเจ้าหน้าที่ไล่จับอิกัวนาเขียว สัตว์แปลกที่อยู่ในบัญชีเอเลียนสปีชีส์ หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เคยมีรายงานคุกคามในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน

อ่านข่าว ห้ามนำเข้า "อิกัวนา" ทุกชนิดเข้าไทย หลังพบรุกรานหนัก  

เพื่อหวังตัดไฟตั้งแต้ต้นลม ตอนนี้จับตัวในพื้นที่ระบาดได้มากกว่า 300 ตัว พร้อมทั้งสั่งห้ามนำเข้าอิกัวนาเขียวชั่วคราว พร้อมดำเนินการคู่ขนานประกาศให้ประชาชนส่งการคอบครองอิกัวนา เพื่อให้กรมอุทยานฯ เช็กประชากรอิกัวนาในกรงเลี้ยง ซึ่งน่าตกใจว่ายังมีคนเลี้ยงสัตว์แปลกตัวนี้ถึง 417 คน ใน 40 จังหวัด รวมยอดอิกัวนา 4,480 ตัว

ซีเซียม-137 ล่องหน โอละพ่อถูกลักขาย

อกสั่นขวัญแขวนกันทั้งประเทศเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา หลังข่าวแท่งเหล็กบรรจุสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ จ.ปราจีนบุรี โดยท่อเหล็กขนาด 5 ยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม แต่ภายในบรรจุสารซีเซียม-137 สุดอันตราย 

อ่านข่าว ปส.เตือน "ซีเซียม-137" สุดอันตราย อย่าผ่าท่อ ปูพรมร้านของเก่า

ฝุ่นแดงซีเซียม-137 ที่ถูกลักลอบนำไปขายในโรงหลอมเหล็กในจ.ปราจีนบุรี

ฝุ่นแดงซีเซียม-137 ที่ถูกลักลอบนำไปขายในโรงหลอมเหล็กในจ.ปราจีนบุรี

ฝุ่นแดงซีเซียม-137 ที่ถูกลักลอบนำไปขายในโรงหลอมเหล็กในจ.ปราจีนบุรี

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องตรวจวัดกัมมันตรังสี ปูพรมค้นหาร้านขายของเก่า กระทั่งพบว่าแท่งเหล็กถูกหลอมไปแล้ว ต้องสั่งปิดและเก็บผงฝุ่นเหล็กใส่ถุงบิ๊กแบ็ก 16 ถุง รวม 12.4 ตัน ออกมาจำกัด พร้อมต้องเลือดกลุ่มเสี่ยงพนักงานอย่างน้อย 70 คน และชาวบ้านใกล้เคียงรอบโรงงานหลอมเหล็ก ถึงวันนี้ต้องเรียกคืนความเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้าเกษตร

ฝุ่น (PM 2.5) ไม่เคยหายไปไหน

เป็นเวลาหลายปีที่คนไทยคุ้นชินกับคำว่า ฝุ่น PM 2.5 ที่ไม่เคยจางหายไปไหน แถมยังเข้ามาใกล้ชิดแทบทุกฤดูหนาว โดยเฉพาะใน กทม.-ปริมณฑล ที่มีปัญหาการจราจรติดขัด บวกกับสภาพอากาศปิดและการเผาพื้นที่การเกษตรรอบๆ ทำให้กลายเป็นเมืองที่ติดอันดับอากาศแย่ที่สุดจากปัญหาฝุ่นละออง  

อ่านข่าว ไขคำตอบ! "ฝุ่นพิษ" กทม.อากาศปิด-เผาพท.เกษตรอ่วมอีก 5 วัน

ถึงขนาด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เตรียมล้อมคอกแหล่งกำเนิดมลพิษ ไม่เว้นแม้แต่รถเข็นขายปิ้งย่าง โดยมอบหมายหาหลักฐานว่าควันที่เกิดจากการปิ้งย่างสร้างผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณนั้นและหาอุปกรณ์ดูดควัน

ทำให้ปีนี้เจ้าภาพหลัก คือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (คพ.) ต้องล้อมคอกปัญหาฤดูฝุ่นที่ปีนี้คาดว่าจะลากยาวไปจนถึงเดือน มี.ค.2567 จากปรากฎการณ์เอลนีโญ ด้วยการออกมาตรการคุมเข้มทั้งการลักลอบการเผาป่าในพื้นที่ภาคเหนือตั้งเป้าให้ได้ถึง 50%

ฝุ่น PM2.5 ไม่เคยจางหายมาพร้อมกับลมหนาว ปีนี้ยังเป็นอีกปีที่คนกรุงต้องเผชิญมลพิษ

ฝุ่น PM2.5 ไม่เคยจางหายมาพร้อมกับลมหนาว ปีนี้ยังเป็นอีกปีที่คนกรุงต้องเผชิญมลพิษ

ฝุ่น PM2.5 ไม่เคยจางหายมาพร้อมกับลมหนาว ปีนี้ยังเป็นอีกปีที่คนกรุงต้องเผชิญมลพิษ

"โลกร้อน" ที่สุด-ฤดูหนาวไทยที่หายไป

หากใครไม่ชินกับอากาศร้อน ปีนี้อาจต้องใช้คำว่าร้อนตับแลบ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ยืนยันว่าปี 2023 อุณหภูมิโลกสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 1.4 องศาเซลเซียส 

ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องให้ผู้นำชาติสมาชิกที่เข้าประชุม COP28 ที่ดูไบ ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีแผนงานในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

อ่านข่าว อากาศไม่เย็น! ปีนี้ฤดูหนาวสั้นแค่ 1 เดือน-อุณหภูมิไม่ลดฮวบ

ปีเอลนีโญกำลังแรง ยังส่งผลปีนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของไทยมาช้ากว่า 2 สัปดาห์ (ต้นเดือนพ.ย.) อุณหภูมิช่วงหน้าหนาวสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประเทศไทยตอนบนประมาณ 21-22 องศาเซลเซียส จะมีอากาศหนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา 

เรียกว่าปีนี้มีความเป็นไปได้ว่าเราจะมีฤดูหนาวสั้นลง จากปกติจะมีฤดูหนาว 4 เดือนตั้งแต่กลาง ต.ค.-ก.พ. แต่จากการประเมินอุณหภูมิใน 4 เดือนข้างหน้ากลับพบว่าไม่มีเดือนไหนที่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 2-3 องศาเซลเซียส

หลินฮุ่ย แพนด้าตัวเมียในสวนสัตว์เชียงใหม่ตายแล้ว หลังใช้ชีวิตในไทย 21 ปี

หลินฮุ่ย แพนด้าตัวเมียในสวนสัตว์เชียงใหม่ตายแล้ว หลังใช้ชีวิตในไทย 21 ปี

หลินฮุ่ย แพนด้าตัวเมียในสวนสัตว์เชียงใหม่ตายแล้ว หลังใช้ชีวิตในไทย 21 ปี

21 ปีหลินฮุ่ยทูตกลับดาวหมี 

เศร้าทั้งวงการกับการจากไปของ "หลินฮุ่ย" หมีแพนด้าตัวเมีย อายุ 22 ปีทูตสันถวไมตรีจากจีน ของสวนสัตว์เชียงใหม่ สร้างความสุข รอยยิ้มให้กับเด็กไทยมานานถึง 21 ปี สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าจีน (CWCA) สัตวแพทย์จีน และไทยแถลงผลผ่าชันสูตรของหลินฮุ่ยว่า อยู่ในวัยชรา ทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อมสภาพและเกิดการแข็งตัว นำไปสู่การอุดตันของหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ ทำให้ตาย 

จนถึงวันนี้ผ่านมาเกือบ 8 เดือน ยังไม่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะมีโอกาสได้แพนด้าตัวใหม่จากจีนหรือไม่ แม้ที่ผ่านมาจะได้รับคำชมว่าดูแลหลินฮุ่ยตลอด 20 ปีมากกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ และความสัมพันธ์นี้ยังคงอยู่ หากถอดรหัสความหมาย แสดงว่าไม่ปิดทางการเจรจา แต่เรื่องนี้เป็นระดับรัฐบาลเพราะมีรายละเอียดมาก 

อ่านข่าว เปิดความทรงจำ "หมอบริพัตร" สัตวแพทย์ผู้ดูแล "หลินฮุ่ย"

ปลุกผีกระเช้าภูกระดึง 

เรียกเสียงสนับสนุนและคัดค้านแทบทุกครั้งกับโครงการกระเช้าไฟฟ้า "ภูกระดึง" ขึ้นอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เมื่อช่วงเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา นางพวงเพ็ชร​ ชุน​ละเอียด​ รัฐมนตรี​ประจำ​สำนักนายกรัฐมนตรี​ บอกว่า ประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ถึง 99% มีหลายหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว นายอำเภอ คนในจังหวัด สมาคมพ่อค้าต่างๆ ก็ออกมาสนับสนุนอยากจะให้มีโครงการดังกล่าว ซึ่งจะต้องทำรายงานผลผลกระทบสิ่งแวดล้อม​ (อีไอเอ) เพื่อออกแบบก่อน​

ปลุกผีโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลย

ปลุกผีโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลย

ปลุกผีโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง จ.เลย

อ่านข่าว เปิดหนังสือขอศึกษา "กระเช้าภูกระดึง" 2 ปีสิ้นสุดปี'68

ขณะที่เป็นครั้งแรกที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช อนุมัติให้ทีมจากองค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) นำโดยนายเกรียงศักดิ์ พราหมณพันธ์ หัวหน้าโครงการเข้าไปสำรวจ เก็บข้อมูลสถานภาพทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่าและความเป็นไปได้ในโครงการกระเช้าไฟฟ้าภูกระดึงตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.2566-ก.ย.2568 หรือประมาณอีก 2 ปีข้างหน้า แต่ยืนยันยันแค่ศึกษาความเป็นไปได้ไม่ใช่ศึกษาอีไอเอ และไม่ใช่การอนุมัติก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้า

สูญเสีย "น้องตุลา" สุดหล่อ "พลายงาทอง" เขาใหญ่งาหัก

นับเป็นข่าวเศร้าของวงการอนุรักษ์ เมื่อลูกช้างป่าตุลา ที่พลัดหลงแม่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จ.จันทบุรี ตั้งแต่เดือนต.ค.2565 และทางสัตวแพทย์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช รับมาดูแล และประคบประหงมอาการอย่างใกล้ชิดนานถึง 10 เดือนและได้ตายลง สัตวแพทย์สรุป สาเหตุการเสียชีวิตเบื้องต้นเกิดการภาวะบาดเจ็บรุนแรงของกระดูกต้นขาหน้าทั้ง 2 ขา หัก ทำให้เกิดการช็อกตามมา 

อ่านข่าว ตายแล้ว! ลูกช้างป่าตุลาพลัดหลงแม่หลังยื้อนาน 10 เดือน

พลายงาทอง เซเลบช้างป่าเขาใหญ่ เพลี่ยงพล้ำต่อสู้กับงาเดี่ยวจนงาหัก

พลายงาทอง เซเลบช้างป่าเขาใหญ่ เพลี่ยงพล้ำต่อสู้กับงาเดี่ยวจนงาหัก

พลายงาทอง เซเลบช้างป่าเขาใหญ่ เพลี่ยงพล้ำต่อสู้กับงาเดี่ยวจนงาหัก

ส่วนสุดหล่อ "พลายงาทอง" ช้างเซเลบแห่งเขาใหญ่ หลังต่อสู้กับพลายงาเดียว จนเกิดงาข้างซ้ายยาว 1 เมตรหักไปหนึ่งข้าง ซึ่งทางสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้ติดตามพลายงาทอง ไม่พบว่าบาดเจ็บจากการต่อสู้ 

พี่สุทธิพร บอกว่า พลายงาทอง เพลี่ยงพล้ำจนงาหัก น่าจะเข้าผิดเหลี่ยมและประสบการณ์น้อยกว่า เพราะจากลักษณะนิสัยของพลายงาทอง ถึงจะอายุ 30 ปี และตัวใหญ่ แต่จริงๆ งาทองเป็นช้างขี้กลัว ไม่ชอบสุงสิงกับช้างตัวอื่นๆ ชอบหากินตัวเดียว ส่วนงาเดียว อายุ และขนาดตัวสูสีกัน แต่อาศัยความเก๋าเป็นช้างภูธรที่ไม่กลัวใคร

อ่านข่าว

ตามหา "งา 1 ม." พลายงาทอง เพลี่ยงพล้ำศึกชนช้างเขาใหญ่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง