"ผู้การแต้ม" ฟันธง "ลุงพล" ถูกมัดด้วยเส้นผม "น้องชมพู่"

อาชญากรรม
20 ธ.ค. 66
18:30
3,822
Logo Thai PBS
"ผู้การแต้ม" ฟันธง "ลุงพล" ถูกมัดด้วยเส้นผม "น้องชมพู่"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ผู้การแต้ม" ฟันธงคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ "ลุงพล" ถูกมัดด้วย "ผม" เพียงเส้นเดียว ขณะที่อัยการชี้ดิ้นไม่หลุด พบพิรุธสร้างหลักฐานเท็จ ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ยธ. หวั่นจุดอ่อนข้อกฎหมายใช้เส้นผมตัดสิน

จากกรณีศาลตัดสินจำคุก 20 ปี นายไชย์พล วิภา หรือลุงพล ใน 2 ข้อหา กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร ต่อมาได้รับการประกันตัว ซึ่งเจ้าตัวยืนยันพร้อมสู้ต่อจนถึงศาลฎีกา

วันนี้ (20 ธ.ค.2566) พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีตรอง ผบช.น. วิเคราะห์ว่า เส้นผมที่ถูกตัดเมื่อนำไปตรวจพิสูจน์ทางเทคโนโลยี พบว่า มีรอยตัดเดียวกัน เช่น หากตัดด้วยกรรไกร รอยตัดจะแบบหนึ่ง หากถูกหั่นจะเป็นอีกลักษณะหนึ่ง หากสับจะเป็นอีกแบบหนึ่ง การตรวจพิสูจน์เส้นผมที่พบในรถกับที่เกิดเหตุเป็นรอยเดียวกัน 

พล.ต.ต.วิชัย กล่าวว่า ในฐานะที่เคยทำคดีฆาตกรรม บางคดีพบเพียงบุหรี่ก้นเดียว ก็สามารถยืนยันได้ว่าก้นบุหรี่นี้เป็นของผู้ก่อเหตุหรือไม่ โดยนำไปตรวจพิสูจน์หารอยน้ำลายและดีเอ็นเอ ทั้งที่ไม่มีพยานในที่เกิดเหตุว่าใครเป็นคนยิง แต่ก้นบุหรี่เป็นวัตถุพยานที่นำไปสู่ตัวผู้ก่อเหตุ ศาลก็เชื่อจากการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เพราะบางคดีไม่มีทั้งพยานบุคคล พยานวัตถุ จึงต้องหาพยานหลักฐานอื่น เช่น ดินที่ติดรองเท้าก็ต้องนำไปตรวจหาว่าดินตรงกับบริเวณจุดเกิดเหตุหรือไม่

คดีนี้ไม่ได้ใช้เวลานานในการตัดสิน กว่าจะตัดสินใช้เวลา 3 ปีก็จริง แต่การสืบพยานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจนนำไปสู่การรวบรวมหลักฐานใช้เวลาเพียง 3 เดือน และอยู่ในชั้นอัยการอีกหลายเดือน ต้องสอบพยานหลายร้อยปาก

อย่างไรก็ตาม คดีนี้เป็นที่สนใจและมีกองเชียร์เยอะมากจนกลายเป็นคดีช้าหรือไม่ อีกทั้งถูกนำเสนอผ่านสื่อและยูทูบเบอร์ ประชาชนจึงหลงเชื่อ ซึ่งการทำคดีมีพยานหลักฐานทั้งหมดแล้ว แต่ตำรวจไม่มีเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมด

หน้าตัดเส้นผม "น้องชมพู่" กุญแจไขคดีฆาตกรรม มัด "ลุงพล"

นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโสฝ่ายสืบสวนสอบสวนและการศึกษา สำนักงานอัยการสูงสุด ตอบคำถามว่า นายไชย์พลมีโอกาสหลุดยาก เพราะคำพิพากษาของศาลชัดเจน และยิ่งฟังข้อเท็จจริง หรือแม้แต่คำพิพากษา สรุปได้อยู่ประเด็นว่านายไชย์พลขึ้นไป และตอนที่เด็กเสียชีวิตแล้ว มีการตัดผม ถอดเสื้อและกางเกงตอนเด็ก ไม่น่าจะใช่ขณะที่พาขึ้นไปบนภู และกว่าจะพบเด็กก็ผ่านไป 4 วันแล้ว โดยเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน และน่าสนใจมากกว่าในสำนวน เช่น นายไชย์พลบอกว่ามีชายอายุ 30 ปี และบอกให้ล้อมเอาไว้ ไม่รู้ว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ในสำนวนการพิจารณาของศาลหรือไม่ และหากประมวลในประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ

ในแง่อาชญาวิทยา เป็นการสร้างพยานหลักฐาน สร้างเงื่อนไขให้กับตัวเอง และคิดว่าไม่น่าจะหลุด แม้จะตั้งข้อโต้แย้ง แต่แย้งไปตามรูป แต่ไม่แย้งในเรื่องที่น่าสงสัยยกประโยชน์

นายปรเมศวร์ ระบุอีกว่า ขณะนี้อาจต้องรออีก 2 ปี เพราะกว่าจะถึงชั้นศาลฎีกา และวันนี้สังคมต้องเข้าใจว่าคนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดไม่ควรถูกยกย่องมากเกินไป เหมือนกับกรณีเสี่ยแป้ง นาโหนด ต้องบอกว่าสื่อและยูทูบเบอร์เป็นโอกาสสร้างเงิน แต่อย่ามากเกินไปเพราะสังคมจะบิดเบี้ยว 

ศาลสั่งจำคุก "ลุงพล" 20 ปี คดี "น้องชมพู่" ยกฟ้อง "ป้าแต๋น"

ขณะที่ นพ.วรวีร์ ไวยวุฒิ รอง ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอ กล่าวถึงการไขความจริงจากเส้นผมในคดีของน้องชมพู่ ว่า เรื่องของเส้นผมเป็นวัตถุพยานการพิสูจน์จากหน้าตัด ว่าตรงกัน เป็นที่มาของการปิดคดีนั้น เนื่องจากยังไม่ได้เห็นคำพิพากษา แต่ด้วยวัตถุพยานชีวภาพที่เป็นเส้นผม มีข้อจำกัดที่การเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากมีน้ำและมีเซลล์เป็นองค์ประกอบ โดยปกติการพิสูจน์รอยตัดของตรงกันสามารถทำได้ในของแข็ง เช่น ลวด ทองแดง เพราะรอยตัดจะปรากฏชัด

แต่ในกรณีนี้เป็นเส้นผม มีความเสื่อมของธรรมชาติจากปัจจัยแวดล้อม การเปรียบเทียบหน้าตัดในเส้นผม ทราบว่าใช้เพียงเส้นเดียว แต่จริง ๆ แล้วมีหน้าผมมากกว่านั้นหลายเส้น ประมาณ 30 เส้น ในทางนิติวิทยาศาสตร์ เส้นผมมีการหดตัว เนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนประกอบการตรวจดีเอ็นเอในเส้นผม จึงทำได้ดีในเส้นผมที่มีรากผม หากเป็นเส้นผมที่ถูกตัด ไม่มีราก ก็ไม่สามารถตรวจหาแยกบุคคลในระดับโครโมโซมได้ ส่วนในเส้นผมที่ตัดตรวจหากดีเอ็นเอได้ในระดับไมโทคอนเดีย ทั้งนี้เห็นว่าการนำเรื่องเส้นผมมาใช้เป็นจุดตัดสินในความเห็นยังมองว่าเป็นจุดอ่อน เพราะวัตถุพยานมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ

 คำพิพากษาฉบับเต็ม เส้นผม-มือถือ มัดคุก 20 ปี "ลุงพล" คดี "ชมพู่"

ศาลให้ประกัน "ลุงพล" 780,000 บาท-อุทธรณ์ภายใน 30 วัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง