"พิพัฒน์" ขอกก.ไตรภาคีทบทวนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท

การเมือง
22 ธ.ค. 66
12:45
368
Logo Thai PBS
"พิพัฒน์" ขอกก.ไตรภาคีทบทวนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"พิพัฒน์" เตรียมหารือคณะกรรมการไตรภาคีทบทวนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท ชี้ไม่สอดคล้องค่าครองชีพต้นทุนต่างกัน คาดทบทวนรายพื้นที่อำเภอ ทันสงกรานต์ปี 2567

วันนี้ (22 ธ.ค.2566) นายพิพัฒน์ รัชกิจประภา รมว.แรงงาน แถลงข่าวมอบของขวัญปีใหม่ปี 2567 ให้แก่แรงงาน 11 ชิ้น ภายใต้แคมเปญ เพิ่ม ฟรี ปรับขึ้น สะดวก ช่วยปลดหนี้ “อุ่นใจผู้ให้ สุขใจผู้รับ” หนึ่งในนั้นมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า กรณีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.และวันที่ 20 ธ.ค.นี้ ยังคงอัตราค่าจ้างของไตรภาคีที่ 2-16 บาท แต่มีข้อแม้ว่าจะนำเข้าครม.ในสัปดาห์ถัดไป เพื่อให้ทันประกาศใช้ 1 มกราคม 2567

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าจ้างส่วนใหญ่ปรับขึ้นภาพรวมทั้งจังหวัด ทั้งที่ข้อเท็จจริงควรคิดตามค่าครองชีพ สาขาวิชาชีพ รวมถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ระดับเทศบาล ตำบล และอำเภอ 

อ่านข่าว เคาะค่าแรงขั้นต่ำ "ภูเก็ต" สูงสุดวันละ 370 ต่ำสุด 3 จว.ใต้ 330 บาท

นายพิพัฒน์ รัชกิจประภา รมว.แรงงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประภา รมว.แรงงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประภา รมว.แรงงาน

ขอทบทวนค่าจ้างขั้นต่ำก่อนสงกรานต์

รมว.แรงงาน กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงภาพรวมทั้งจังหวัด อาจไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ใช้แรงงาน คนทำงานในเมืองที่อยู่นอกเมืองหรือในชนท อัตราค่าครองชีพถูกกว่า ต้องปรับให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ จึงจะเสนอหารือกับคณะกรรม การไตรภาคีอีกครั้ง ขอให้ช่วยกันศึกษาอีกรอบ คาดว่าคณะกรรมการค่าจ้าง จะเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้โดยจะมีการเชิญมาประชุมหารือในวันที่ 17 ม.ค.2567

ยืนยันไม่ได้ทำเฉพาะในยุคของตัวเองทำ แต่ต้องการให้ทุกกลุ่มได้ประโยชน์ซึ่งพยายามปรับใหม่อีกสักครั้ง คาดว่าจะประกาศในช่วงปีใหม่ไทยหรือสงกรานต์ปี 2567

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการไตรภาคีเคาะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ ตั้งแต่อัตราวันละ 2-16 บาท สูงสุด 370 บาทที่ภูเก็ต ส่วน กทม.-ปริมณฑล 363 บาท และจังหวัดชายแดนใต้ 330 บาท คาดมีผล 1 ม.ค.67

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.แรงงาน เสนอรื้อสูตรคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ-ชงตั้งสภาแรงงานจังหวัด

ปัดรัฐบาลแทรกแซง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" ทบทวนเพื่อแรงงาน

บอร์ดค่าจ้าง ยืนมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามเดิม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง