กสม.ปัดเอื้อระเบียบราชทัณฑ์ปม "ทักษิณ" นอนรพ.ชี้ต้องให้ศาลสั่ง

อาชญากรรม
25 ธ.ค. 66
16:00
2,855
Logo Thai PBS
กสม.ปัดเอื้อระเบียบราชทัณฑ์ปม "ทักษิณ" นอนรพ.ชี้ต้องให้ศาลสั่ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กมธ.สิทธิฯ วุฒิสภา เรียกกสม.แจงคำแถลงการณ์เอื้อกรมราชทัณฑ์ออกระเบียบเพื่อ “ทักษิณ” หรือไม่ “วสันต์” ยันหลักการ แยกนักโทษเด็ดขาดออกจากผู้ต้องขังรอคำพิพากษา ชี้ไม่เคยมีข้อสรุปนำคนป่วยออกนอกเรือนจำ ต้องให้ศาลสั่ง

วันนี้ (25 ธ.ค.2566) นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เชิญคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ชี้แจงความเห็นต่อการออกระเบียบของกรมราชทัณฑ์ ที่ถูกสังคมตั้งคำถามว่าเอื้อนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือไม่

โดยมี น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช และนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กสม.เข้าชี้แจง ส่วนทางด้านกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว. ยุติธรรม ไม่ได้มาชี้แจงด้วยตนเอง พร้อมส่งนายสมภพ สังคุตแก้ว หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กรมราชทัณฑ์กองทัณฑวิทยา มาชี้แจงแทน

น.ส.ปิติกาญจน์ ชี้แจงว่า ความเห็นที่กสม. เสนอไปคือให้กรมราชทัณฑ์ จำแนกผู้ต้องขังออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ผู้ที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งตามหลักกฎ หมายและหลักสากล จะต้องสันนิษฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่ประมาณ 50,000 คนที่อยู่ระหว่างพิจารณาคดี และ2.นักโทษเด็ดขาด ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้จะต้องมีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกัน

อ่านข่าว "ภูมิธรรม"​ เมิน​ นิด้าโพล​ คะแนน​ "พิธา"​ นำ​ "เศรษฐา"​ ชี้ 3 เดือนเร็วไป

ยันไม่เคยสรุปคนป่วยนอนนอกเรือนจำ

ส่วนนายวสันต์ ยืนยันว่า คำแถลงการณ์ กสม. เมื่อ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ถูกพาด พิง และเกรงว่าสังคมจะเข้าใจผิด จึงขอชี้แจงว่าข้อเสนอของ กสม. เมื่อตอนตรวจเยี่ยมเรือนจำปี 2562 คือข้อเสนอแก้ปัญหาความแออัดของเรือนจำ ซึ่งมีประเด็นเข้ามาคือผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการสู้คดี ยังเป็นแค่จำเลย และบางส่วนไม่ได้รับการประกันตัว จึงเสนอให้ควรปฏิบัติให้ต่างกับนักโทษเด็ดขาด

และขณะนั้นมีข้อเสนอร่วมกับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในฐานะรมว.ยุติธรรมในขณะนั้น คือบุคคลเหล่านี้ ควรสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลังจากนั้นได้พูดคุยกับพ.ต.อ.ทวี ถึงหลักผู้ที่ถูกกล่าวหา กับนักโทษเด็ดขาด

ยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ระเบียบโดยตรง มีพูดถึงนักโทษที่ป่วยหนัก หรือป่วยจิตเวชที่ควรพิจารณา แต่ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ และเห็นว่ากรณีที่ผู้ถูกกล่าวหา จะป่วยหนักติดเตียงหรือจิตเวช คนที่จะสั่งได้ต้องเป็นศาล ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่ากรมราชทัณฑ์จะสั่งเองทั้งหมด

อ่านข่าว

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครอง 31 ม.ค.67

ครบ 120 วัน "ทักษิณ" ป่วยต่อนอนชั้น 14 แจ้ง "ราชทัณฑ์" แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง