Food Security โลกร้อน สู่ "ฤดูเพลิง"กระทบ ความมั่นคงอาหาร

สังคม
27 ธ.ค. 66
15:49
624
Logo Thai PBS
Food Security โลกร้อน สู่ "ฤดูเพลิง"กระทบ ความมั่นคงอาหาร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

Food Security หรือความมั่นคงทางอาหาร ตามนิยามองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หมายถึง สภาวะที่คนทุกคน และทุกขณะเวลามีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ เข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารเพื่อให้เกิดชีวิตที่มีพลังและมีสุขภาพ

โดยความมั่นคงดังกล่าวประกอบด้วย การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) ,การเข้าถึงอาหาร (Food Access) ,การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) และการมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability)

โลกร้อนสู่ "ฤดูเพลิง"กระทบอาหารมั่นคง

ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา

ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวว่า เสถียรภาพความมั่นคงทางอาหาร แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตามยุคสมัย ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนถึงยุคปัจจุบัน เดิมอาหารเป็นส่วนเติมแต่งให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในชีวิต แค่กินอิ่มท้อง แต่ภายหลังความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ตามภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยน จุดกำเนิดของการหาเครื่องเทศในชาติตะวันตก กลายมาเป็นที่มาของยุคล่าอาณานิยม และเมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ความต้องการอาหาร เพิ่มตาม และต้องการราคาที่อาหารถูกลง กลายเป็นที่มาของการใช้สารเคมี เพื่อหวังผลผลิตทางอาหารจำนวนมาก ทำให้ผืนดินอย่างน้อย 2-3 ของโลก กลายเป็นพื้นที่ผลิตอาหารเชิงพาณิชย์ และทำลายระบบนิเวศ

พวงผลประวัติศาสตร์ของการผลิตอาหารชี้ให้เห็นถึง ความเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและเมืองการใช้ ปิโตรเคมี ปุ๋ยเคมี เป็นสิ่งที่แลกมาก ปัจจุบันที่ทุกคนกำลังเผชิญ ปัญหาโลกร้อน มีการปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย และเผา ทำให้บางประเทศอย่าง อินเดีย บราซิลเรียก ฝุ่นควันจากการเผา ว่า “ฤดูเพลิง”

ดร.กฤษฎา ระบุว่า สำหรับประเทศไทย ความมั่นคงทางอาหาร มีความแตกต่างกันไป ในแต่ละบริบท และมุมมองของรัฐบาลปฏิเสธไม่ได้เรื่องพืชผลทางเกษตรมีความสำคัญ กับความมั่นคงของอำนาจรัฐ จึงถูกบรรจุเป็นนโยบายสำคัญทางการเมือง ทั้งโครงการประกันราคาข้าว หรือจำนำข้าว การประกันพืชไร่ ทุกอย่าง กลายเป็นนโยบายการเมืองสำคัญ

ขณะที่ในสายตาทุนอุตสาหกรรม เน้นเรื่อง รายได้ ความมั่นคั่ง เพราะการส่งออกอาหารของไทยเป็นอันดับต้น ๆของโลก โดยผลพวงที่ตามมาจากการผลิตอาหาร คือ รสชาติอาหารที่เปลี่ยนไป ปัจจุบัน คนนิยมรสหวานเพิ่มขึ้น

หากสังเกต รสชาติอาหารในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่า คนบริโภครสหวาน และรสจัดมากขึ้น จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมอาหารมีผลต่อการกำหนดรสชาด และพฤติกรรมของคน การบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ไม่สามารถมองในระดับบุคคลได้
งานวิจัยภาคเกษตร แก้วิกฤตความมั่นคงทางอาหาร

อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ของการผลิตอาหารที่ได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ทั้งข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย และศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS พบว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อปริมาณฝนน้อย สอดคล้องกับข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ คาดว่า ภาวะฝนทิ้งช่วงจนถึงกลางปี 2567 ส่งผลให้ผลผลิตทางเกษตรของไทย ได้รับผลกระทบ

เช่น ข้าวเสียหาย 3.2 ล้านตัน มูลค่า28,422 ล้าบาท อ้อยเสียหาย 15.8 ล้านตัน มูลค่า 16,906 ล้านบาท มันสำปะหลังเสียหาย 2.9 ล้านตัน มูลค่า 6,931 ล้านบาท

ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มุมมองว่า แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2021 ในคนไทย ก็พบ ปัญหาคนไทยที่ไม่มีความมั่นทางอาหารเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 7 ของประชากรไทย ตามนิยามของ FAO และ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น ร้อยละ 13 ทั้งนี้ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้จำกัดแต่เรื่องของการเข้าถึง และการบริโภคอาหาร เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการพัฒนาการเกษตรและระบบอาหาร ที่ต้องส่งเสริมการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

ห่วงว่าในอนาคตเมื่อสินค้าทางการเกษตรของไทยไม่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ เช่นให้ทนต่อสภาวะโลกร้อน หรือเพาะปลูกไม่ปลอดภัยจากสารตกค้างหรือเคมี เกรงว่าเรื่องเหล่านี้ จะกลายข้อจำกัด ถูกกีดกันทางการค้า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : WMO ชี้ปี 2023 ทุบสถิติโลกร้อนขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส

ต้นทุนรักษาโรคเรื้อรังพุ่ง 12,000 ล้านบาท

สำหรับกระบวนการผลิตอาหารของไทย จากข้อมูลของมูลนิธิชีววิถี โดย นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า แนวคิดของเด็กรุ่นใหม่ ไม่ต้องการลำบากตรากตรำ ทำการเกษตร ทำให้แรงงานภาคการเกษตรขาดแคลน จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ไม่นับปัญหาระบบชลประทาน และข้อจำกัดทางพันธุ์พืชทางเกษตรที่ อยู่ภายใต้ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ และเมื่อมีการซื้อพันธุ์พืช ก็สามารถเพาะปลูกได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ส่วนในแง่ของการจำกัดใช้สามารถเคมี ยังพบว่า มีสารเคมีอีกหลายตัวที่ยังไม่ได้ถูกยกเลิก และวนเวียนใช้ในการภาคเกษตร เช่นเดียวกับการบริโภค พบว่า เด็กไทยมีภาวะโภชนาการเกิน และอ้วนมากขึ้น และพบคนป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs มาถึง ร้อยละ 74

ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษา หากป่วยโรคเรื้อรังและเบาหวานสูงถึง 12,100 ล้านบาท ทั้งนี้ต้องเร่งแก้ภาวะติดหวาน ในเด็ก หลังพบคนไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละ 25 ช้อนชา คิดเป็น 4 เท่า ของการบริโภคน้ำตาลที่องค์การอนามัยโลกกำหนด

ห่วงโซ่อาหาร ถูกร้อยรวม เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต จนมาถึงอาหารที่เตรียมบริโภค ล้วนแต่มีความสำคัญทั้งกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากใส่ใจตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิต ช่วยทั้งโลกไม่ก่อมลพิษ ที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และไม่ทำร้ายตัวเองด้วยการก่อโรค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง