“จุลพันธ์” ผิดหวัง “ศิริกัญญา” หยิบตัวเลข GDP บางส่วนมาอภิปรายงบฯ 67

การเมือง
4 ม.ค. 67
16:43
1,037
Logo Thai PBS
“จุลพันธ์” ผิดหวัง “ศิริกัญญา” หยิบตัวเลข GDP บางส่วนมาอภิปรายงบฯ 67
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"จุลพันธ์" ผิดหวัง "ศิริกัญญา" หยิบตัวเลข GDP บางส่วนมาอภิปรายงบฯ 67 สร้างวาทกรรมหวังจับผิด ชี้เอกสารงบฯทั้งเล่มมีหน้าเดียวแสดง Nominal GDP นอกนั้นแสดงปกติที่ 3.2%

วันนี้ (4 ม.ค.2567) นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.พรรคก้าวไกล อภิปรายตั้งข้อสังเกตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพบว่า มีความเข้าใจผิดและสร้างความสับสนให้กับสังคมในหลายประเด็น

อ่านข่าว : “ศิริกัญญา” เปิดใต้พรม "งบฯ รัฐบาลเศรษฐา" หลายเรื่องต้องจ่าย แต่ไม่ได้ตั้งงบฯ 

โดยเฉพาะกรณีที่ระบุว่า คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ในปี 2566 ในเอกสารงบประมาณ 2 ชุดไม่ตรงกัน และใช้วาทกรรมว่า "โกง GDP" นั้น ส่วนตัวรู้สึกผิดหวังที่ น.ส.ศิริกัญญาหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปราย เพราะเข้าใจว่า น.ส.ศิริกัญญา มีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจมากกว่านั้น แต่กลับนำมาเป็นวาทกรรมทางการเมือง ซึ่งโดยปกติแล้วการคาดการณ์ GDP มี 2 รูปแบบ คือ

อ่านข่าว : "ทวี" เปรียบ "ทักษิณ" เป็นนักสร้างสันติภาพ ย้ำเจ็บป่วยก็ต้องรักษา

1.“ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน” หรือ Nominal GDP คือค่า GDP ที่ได้จากการคำนวณมูลค่าของสินค้าหรือการลงทุนแบบตรงไปตรงมา "โดยไม่ได้นำอัตราเงินเฟ้อ เงินฝืด หรือค่าเงิน ณ ขณะนั้นมาคำนวณด้วย"

ซึ่งตัวเลข GDP ที่แสดงในเอกสารงบประมาณที่ 5.4 % เป็นการแสดงตัวเลขการคำนวณรายได้ของสำนักงบประมาณเป็นการทำงานโดยปกติ หน้าอื่นของงบประมาณแสดงตัวเลขเป็น Real GDP มีเพียงหน้านั้นหน้าเดียวที่โชว์เป็น nominal

สาเหตุที่ต้องรวมผลกระทบเงินเฟ้อ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณการจัดเก็บรายได้ซึ่งเป็นตัวเลข nominal เช่นเดียวกัน ถ้าจะโกงตัวเลข ทุกหน้าก็ต้องเปลี่ยนเป็น 5.4 % แต่ น.ส.ศิริกัญญา กลับหยิบยกหน้านี้ขึ้นมาโดยหวังให้มีประเด็น

อ่านข่าว : "เศรษฐา" ร่ายยาวแจงใช้งบปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท 

ส่วน GDP ที่ 3.2% เป็นการคำนวณ GDP ในแบบที่ 2."ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง" หรือ Real GDP คือ ค่า GDP ที่ได้จากการนำอัตราเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ เงินฝืด และอัตราค่าเงินมาคิดคำนวณด้วย ซึ่งต้องให้สอดคล้องกับการจัดทำประมาณการจัดเก็บรายได้ และโดยปกติในการรายงานGDPของทุกสำนัก จะใช้ตัวเลขนี้ ซึ่งในเอกสารงบประมาณทุกหน้า ก็ใช้ตัวเลขนี้ทั้งเล่ม

เป็นแค่วาทกรรม คงไม่ได้สร้างความสับสนให้ประชาชน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในสายการเงิน กลางการคลัง จะเข้าใจอยู่แล้วครับ เป็นตัวเลขหนึ่งที่นำเสนอในเอกสารงบประมาณเท่านั้น ซึ่งเอกสารทุกหน้า แสดงตัวเลข GDP ที่ 3.2% เวลาเปรียบเทียบกับงบประมาณ คือการจัดเก็บจริง จึงเอาตัวเลขที่เป็น Nominal GDP มาแสดงให้เห็น ซึ่งตรงนี้มันเป็นหลักการที่ทำมาโดยตลอด 

อ่านข่าวอื่น ๆ

"เศรษฐา" ร่ายยาวแจงใช้งบปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท  

อภิปรายงบประมาณ “เป็ดง่อย” การกลับมาเข้มของ "พรรคประชาธิปัตย์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง