บัตรใบเดียวรักษาทุกที "โครงการนำร่อง" ไม่ตอบโจทย์งบประมาณ

สังคม
16 ม.ค. 67
17:29
5,492
Logo Thai PBS
บัตรใบเดียวรักษาทุกที "โครงการนำร่อง" ไม่ตอบโจทย์งบประมาณ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ผ่านมา 1 สัปดาห์ที่แล้ว ที่ระบบการให้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการใหม่ เป็น บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ และนำร่องใช้ ใน 4 จังหวัด ร้อยเอ็ด , แพร่, เพชรบุรี และนราธิวาส โดยที่ รพ.พระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี 1 ใน 4 รพ.นำร่องมีสัดส่วนของผู้มาใช้บริการมากถึง ร้อยละ 5 จากเดิม

ขั้นตอนการมารับบริการที่ รพ.พระจอมเกล้า ไม่ยุ่งยากจากเดิม เพียงแต่เปิดสิทธิ์ ด้วยการเสียบบัตรประชาชนที่ตู้คีย์ออส ก่อนมารับบริการ หรือ แจ้งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ที่เคาน์เตอร์เพื่อขอมาให้สิทธิรักษาที่ รพ.

เจ้าหน้าที่จะนำมาประชาชนมาคีย์ข้อมูล เพื่อเป็นระบบหลังบ้านของการเบิกจ่าย โดยที่คนไข้ หรือ ผู้มารับบริการก็สามารถเดินไปในแผนกนั้น ๆ เพื่อเข้าคิวรอรับการตรวจ แต่สำหรับผู้ป่วยนอกพื้นที่ที่ม่ใช้สิทธิกับ รพ.พระจอมเกล้า ครั้งแรก จะต้องพบแพทย์ทั่วไปก่อน

ละมัย พูลเกตุ

ละมัย พูลเกตุ

ละมัย พูลเกตุ

นางละมัย พูลเกตุ อายุ 53 ปี อาชีพรับจ้างก่อสร้าง ชาว อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี วันนี้มารับบริการที่ รพ.พระจอมเกล้า ครั้งแรก เนื่องจากมาทำธุระที่ตลาดและเกิดอาการปวดขาปวดเข่าจากการทำงาน จึงถือโอกาสนี้ใช้สิทธิบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

จากเดิมมีสิทธิรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพที่ รพ.บ้านลาด เนื่องจากระยะทางระหว่างบ้านกับ รพ.พระจอมเกล้า ใกล้กว่า เดินทางไป รพ.บ้านลาด จึงมีความสะดวกมากกว่า

ระยะทางจากบ้านมาที่ รพ.พระจอมเกล้า สะดวกกว่าไป รพ.บ้านลาด ทราบข่าวการรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการระบบ 30 บาท จากโทรทัศน์ และวันนี้ ไหน ๆ ก็มาตลาดใกล้รพ.จึงเลือกมาใช้บริการที่นี่ แทนการกลับไปรับบริการที่รพ.บ้านลาด
นพ.อมรเทพ บุตรกตัญญู รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

นพ.อมรเทพ บุตรกตัญญู รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

นพ.อมรเทพ บุตรกตัญญู รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

ความสะดวกสบายที่ประชาชน ได้รับจากการนำเพียงบัตรประชาชนใบเดียว เข้ารับรักษาทุกที นับเป็นจุดเด่น แต่ นพ.อมรเทพ บุตรกตัญญู รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี รักษาการ ผอ.รพ.บ้านแหลม ระบุว่า ระยะทางของพื้นที่ 3 อำเภอ ทั้งบ้านแหลม ,บ้านลาด และ อำเภอเมือง มีความใกล้กัน การเดินทางระหว่าง อ.บ้านแหลม มาถึง อ.เมือง เพียง 14 กิโลเมตร และ ระยะห่างระหว่าง อ.บ้านลาด กับ อ.เมืองเพียง 4-5 กิโลเมตร

ไม่แปลกเลย ที่คน 2 พื้นที่นี้ จะมารับบริการที่ รพ.พระจอมเกล้า ซึ่งเดิมปกติการเดินทางมารับบริการแบบข้ามเขต ข้าม รพ.ต้องอาศัยใบส่งตัว แต่เมื่อระบบหลักประกันสุขภาพ ปรับระบบใหม่ ก็สะดวกมาง่ายมากขึ้น

คนบ้านแหลมมักมาใช้บริการที่รพ.พระจอมเกล้า ในช่วงโควิด-19 ทำให้การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลรพ.พระจอมเกล้า มียอดเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล จาก รพ.บ้านแหลม ถึง 20 ล้านบาท จากเดิมได้รับการจัดสรรงบฯ จาก สปสช. 21 ล้านบาท

นพ.อมรเทพ กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล มาจากข้ามเขต มารับบริการจำนวนมาก และส่งให้ รพ.ชุมชนในพื้นที่ แม้มีแพทย์แต่ก็ว่างงาน ไม่มีการตรวจรักษา ทำให้ระบบสาธารณสุขใน จ.เพชรบุรี

มีวางแผนดำเนินเกลี่ยแพทย์ของโรงพยาบาล ที่มีผู้รับบริการน้อยไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ขณะเดียวกันการจัดสรรบริการ การแพทย์ที่ รพ.พระจอมเกล้า ในส่วนของผู้ป่วยทั่วไปที่ข้ามเขตมาใช้บริการ

หากอยู่ในภาวะปกติ จะให้รับบริการแบบทั่วไปก่อน ได้พบแพทย์อายุรกรรม หากสามารถรับการตรวจได้รักษาก็จ่ายยากลับบ้าน แต่หากต้องการพบแพทย์เฉพาะทางก็จะทำนัดหมายในครั้งถัดไป

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือระบบเบิกจ่ายหลังบ้าน แต่สิ่งที่ต้องธำรงไว้ ซึ่งระบบบริการ ทั้งปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เพื่อให้กระบวนการรักษาเป็นไปตามขั้นตอน และเพื่อความเข้าใจของประชาชน และมองว่าขณะนี้ ปัญหาจากการดำเนินงานยังไม่ปรากฎ เนื่องจากมีงบประมาณมาสนับสนุน 300 ล้านบาท แต่หากขาดงบฯ คาดว่าอีก 3 ปี อาจส่งผลกระทบได้

ความแออัดของโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ทุกฝ่าย พยายามแก้ไข และปัญหาการรอคิวนานมักเกิดขึ้นที่ห้องยา ทุกโรงพยาบาลจึงมีบริการรับยาทางไปรษณีย์ เมื่อพบแพทย์เสร็จ ผู้ป่วยและญาติกลับไปรอยาที่บ้านได้

health rider

health rider

health rider

ซึ่งที่ รพ.พระจอมเกล้า มีบริการ Health Rider ส่งยาถึงบ้านผู้ป่วย ภายใต้การดำเนินการบัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที คิดตามระยะทางความห่างไกล จากโรงพยาบาลถึงบ้านแบบเหมาะจ่าย 55 บาท

ภญ.น้ำฝน แสวงภาค ผู้ช่วย ผอ.ด้านบริการด่านหน้า รพ.พระจอมเกล้า กล่าวว่า เดิมมีการจ้างไรท์เดอร์คนนอก และอสม. ในละแวกพื้นที่ใกล้เคียงมาส่งยา แต่ภายหลัง ได้สอบถามความสมัครใจของเจ้าหน้าที่พัสดุของโรงพยาบาล ให้มารับงานแบบพาสไทม์ ส่งยาในช่วงเย็น หลังเลิกงานช่วยให้เจ้าหน้าที่มีรายได้เสริม 

บริการส่งยาถึงบ้านนี้ ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเรื่องการจ่ายยา หรือ อธิบายบ้าน เพราะจะมีเจ้าหน้าที่โทรศัพท์ ไปอธิบายการรับประทานยาถึงบ้าน หรือ กรณีเป็นยาเร่งด่วนหรือปฏิชีวนะ ก็รอรับยาได้ทันที
health rider

health rider

health rider

ซึ่งการดำเนินงาน บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที ผ่านมา 1 สัปดาห์แล้ว นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พอใจกับการดำเนินในจังหวัดนำร่อง 80 % พบปัญหาประชาชนยังไม่ได้ยืนยันตนก็ใช้สิทธิ์ และความล่าช้าแค่ ร้อยละ 20 เท่านั้น

ส่วนความกังวลเรื่องงบอุดหนุน ให้กับสถานพยาบาลในนำร่องนั้น เพื่อให้การดำเนินงานไม่สะดุด เบื้องต้นได้จัดสรรงบให้ 300 ล้านบาท และในการดำเนินการขยายไปอีก 8 จังหวัดจะจัดงบประมาณสนับสนุนเช่นกัน

ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยภาพรวมการใช้บริการ ของบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ใน 4 จังหวัดนำร่อง ตั้งแต่ เริ่มดำเนินโครงการ 8 -11 ม.ค.2567

จ.แพร่ มีหน่วยบริการ 179 แห่ง มีผู้รับบริการ 13,816 คน ให้บริการ 17,342 ครั้ง จ่ายเงินชดเชย 9,580 บาท

จ.เพชรบุรี มีหน่วยบริการ 136 แห่ง ผู้รับบริการ 10,571 คน ให้บริการ14,149 ครั้ง จ่ายเงินชดเชย 14,705 บาท

จ.ร้อยเอ็ด มีหน่วยบริการ 355 แห่ง ผู้รับบริการ 29,598 คน ให้บริการ 41,451 ครั้ง จ่ายเงินชดเชย 819,150 บาท

จ.นราธิวาส มีหน่วยบริการ 93 แห่ง ผู้รับบริการ 15,182คน ให้บริการ 20,243 ครั้ง จ่ายเงินชดเชย 30,070 บาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณรวมไปแล้วกว่า 3,161,685 บาท

อ่านข่าวอื่นๆ

จับกระแสการเมือง: วันที่ 16 ม.ค.2567 เปิดศึกเดือด 3 พรรค เผือกร้อนการเมืองเบื้องหลัง “หมูเถื่อน”

เปิดช่องขึ้นราคานม UHT กล่องละ 50 สตางค์ ตามมติ Milk Board

พ่อแม่เด็ก 3 เดือน ร้อง รพ.ดังนนทบุรีวินิจฉัยผิด-รอรักษาช้า จนเสียชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง