คนไร้บ้าน กรณี “ป้าบัวผัน” สะท้อนสังคมไทย หลากความเห็นจากนักวิชาการ เพื่อหาทางออก

อาชญากรรม
28 ม.ค. 67
07:54
5,909
Logo Thai PBS
คนไร้บ้าน กรณี “ป้าบัวผัน” สะท้อนสังคมไทย หลากความเห็นจากนักวิชาการ เพื่อหาทางออก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จากเหตุการณ์ที่ นางบัวผัน ตันสุ หรือ ป้ากบ อายุ 47 ปี หญิงคนไร้บ้าน ที่คนในพื้นที่ยืนยันตรงกันว่าเธอ มีหลักฐานอยู่ในสถานะเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช เคยเข้ารับการรักษา แต่ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนรำคาญ

เธออยู่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเพียงลำพัง ไร้การปรนนิบัติจากลูกหลาน กลับถูกกลุ่มเยาวชน อายุเพียงแค่ 13 -16 ปี รวม 5 คน หยอกเย้า กลั่นแกล้ง บานปลายจนถึงขั้นรุมทำร้ายจนเสียชีวิตก่อนนำร่างของเธอไปโยนทิ้งน้ำเพื่ออำพราง เหตุเกิดในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว

จึงทำให้กลุ่มเยาวชน ที่ร่วมกันวางแผนก่อเหตุ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการกระทำที่โหดเหี้ยม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สิทธิพล ชูประจง หน.โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา

สิทธิพล ชูประจง หน.โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา

สิทธิพล ชูประจง หน.โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา

นายสิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา สะท้อนถึงกรณีของนางบัวผัน ไม่ใช่เหตุการณ์แรกๆ ที่คนไร้บ้านที่มีอาการป่วยจิตเวชถูกภัยสังคม ยั่วยุ กลั่นแกล้ง และรุมรังแก หากเป็นผู้หญิงไร้บ้าน จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ จนตั้งครรภ์ก็มี ซึ่งมักจะพบบ่อยครั้ง และอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่เนื่องจาก ที่ผ่านมามักไม่ค่อยเป็นข่าว หรืออยู่ในกระแสเท่าไหร่นัก

ผู้ก่อเหตุส่วนมาก เป็นกลุ่มวัยรุ่น ชอบก่อความรุนแรง ต่อคนไร้บ้าน ตั้งแต่อายุ 10 - 20 ปีขึ้นไป มีสิ่งเร้าทั้งเรื่องยาเสพติด ดื่มสุรา เป็นตัวผลักดันยุยงส่งเสริม สร้างความคึกคะนอง อยากระบายออกมา เพื่อสร้างการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่ม

อ่านข่าว : คุม 5 วัยรุ่นฆ่า "ป้าบัวผัน" ส่งสถานพินิจฯ - ยื่นศาลปล่อยตัว "ลุงเปี๊ยก"

ที่ผ่านมากลุ่มคนไร้บ้าน ยังขาดมาตรการดูแล โดยเฉพาะคนไร้บ้านมีป่วยจิตเวชใช้ชีวิตอยู่ข้างถนน จากหน่วยงานภาครัฐอย่างทั่วถึง แต่จะเห็นเพียงการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช ที่มีอาการคุ้มคลั่ง ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ที่ได้รับการรักษา แต่ความเป็นจริงคนกลุ่มนี้จะต้องอยู่ในการดูแลอย่างเท่าเทียม

จึงเห็นว่าสิ่งที่เหมาะสมคือ ต้องกำหนดให้คนกลุ่มนี้เป็นผู้ป่วย จากนั้นทำการฟื้นฟู มันคือสิ่งที่ถูกต้องจะเป็นตัวปกป้องคุ้มครอง จากภัยอันตรายในสังคม ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือถูกปล่อยไว้นาน ๆ คนไร้บ้าน อาจถูกทำลายศักยภาพของสมอง และการที่จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมเป็นเรื่องยาก

การเป็นผู้ป่วย บ่งบอกถึงสถานะชัดเจน เพราะจะเป็นตัวป้องกันทั้งสวัสดิภาพ ของคนกลุ่มเปราะบาง ประกอบกับไม่ทำให้พวกเขามีสภาพชีวิตที่ย่ำแย่ หนักลงไปอีก

โครงการผู้ป่วยข้างถนน ของมูลนิธิกระจกเงา ทำหน้าที่ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือคนไร้บ้าน ให้เข้าสู่การฟื้นฟู ปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านกว่า 10 คน โดยได้ร่วมกัน กับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา นำคนที่ได้รับการรักษา และสิ้นสุดการรักษา อยู่ในกระบวนการฟื้นฟู กลับเข้ามาทำงานที่มูลนิธิกระจกเงา บางคนสามารถหารายได้ ออกไปเช่าบ้านอยู่ หรือบางคนสามารถสร้างรายได้ เลี้ยงดูพ่อแม่ แต่ยังอาจอยู่ในการเฝ้าดูของเจ้าหน้าที่

อ่านข่าว : "บิ๊กต่อ" ชง ป.ป.ช.ฟัน ตร.จับแพะคดี "ป้าบัวผัน" ห้ามเด็กออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม

รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต สะท้อนถึงเหตุการณ์ ตำรวจคุมตัว นายปัญญา หรือลุงเปียก สามีของนางบัวผัน มาสอบปากคำ ก่อนจะตกเป็นแพะในคดีการเสียชีวิตของภรรยาตัวเอง ว่าตำรวจชุดจำกุม อาจไม่ได้มีการตรวจสอบพยานหลักฐานอื่น ๆ ประกอบ

จะต้องมีหลักฐานที่แน่นหนา หากดูแค่พยานบุคคล หรือคำบอกเล่า เช่น พบประวัติว่า ทั้ง 2 คน เคยทะเลาะกัน หรือดูแค่คราบเลือดที่กางเกง ได้มีการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ หรือไม่ เหตุใดถึงรีบปิดคดี การจับแพะจึงกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของลุงเปี๊ยก เพราะถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ทั้งที่ไม่ใช่ผู้กระทำผิดตัวจริง

และยังมีเหตุการณ์ที่ลุงเปี๊ยก ถูกใช้ถุงดำคลุมศีรษะ ขณะสอบสวน อาจเป็นลักษณะข่มขู่ หรือยังไม่ได้คลุมจริง ๆ ก็อาจเป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง เพื่อเตือนว่า ถ้าไม่ทำตามหรือไม่พูดตามนี้ อาจจะต้องถูกถุงดำคลุมหัว

รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานคณะอาชญาฯ ม.รังสิต

รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานคณะอาชญาฯ ม.รังสิต

รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล รองอธิการบดี และประธานคณะอาชญาฯ ม.รังสิต

สังคมของความเป็นจริง คนรากหญ้า คนที่ไม่มีโอกาส ไปต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้หรอก ลุงเปี๊ยกอาจไม่ได้ผิดอะไร ผิดอย่างเดียว คือผิดที่เกิดมาจน จนหนทางในการต่อสู้ จนที่ไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ที่จะจ้างทนายความดี ๆ มาพิสูจน์ข้อเท็จจริง

พฤติการณ์ตำรวจเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.อุ้มหาย

ในมุมมองฐานะอาชญาวิทยา มองถึงพฤติกรรมของเยาวชนที่ก่อเหตุทำร้ายบางบัวผัน บางคนมีพ่อเป็นตำรวจ ปฏิเสธไม่ได้ มีความเกี่ยวข้อง เรื่องของพลังอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง ในการกระทำ เป็นที่รู้อยู่แล้วในสังคมว่า ตำรวจมีหน้าที่การบังคับใช้กฎหมาย

อ่านข่าว : จ่อแจ้งข้อหาเพิ่ม 2 เยาวชนสระแก้ว คดีข่มขืน-ทำร้ายร่างกาย

จากข้อมูลการวิจัยพบว่า การดำเนินคดี มักจะขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคม ถ้าผู้กระทำผิดมีฐานะ การบังคับใช้กฎหมายก็จะเป็นอีกแบบ ในทางกลับกับหากคนรากหญ้าไม่มีสถานภาพทางสังคม ก็จะบังคับใช้กฎหมายอีกแบบ

ก่อนหน้านี้ พบว่ากลุ่มเยาวชน กระทำความผิดกับผู้เสียหาย หลายเหตุการณ์ มีทั้งเป็นคดีและไม่เป็นคดี จะต้องย้อนกลับไปดูว่า ที่ผ่านมามีการดำเนินกี่คดี เพราะการลงโทษผู้กระทำความผิดมีผลพฤติกรรมมนุษย์ ทำให้เกิดความเกรงกลัว และถ้าไม่เคยถูกลงโทษ เท่ากับทำให้รู้สึกย่ามใจ และก่อการกระทำความผิดในครั้งต่อ ๆ ไป

ส่วนแนวทางการแก้ไขเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด มีหลายมิติ ทั้งปรับเกณฑ์อายุ แก้กฎหมาย บทลงโทษ แต่ตามหลักสากล เด็กและเยาวชนเป็นวัยที่ควรได้รับโอกาส ในการกลับตัวกลับใจ

นักอาชญาวิทยามองว่า อาจจะต้องดูพฤติการณ์แห่งคดี ความร้ายแรงของการก่อเหตุ เช่น โหดเหี้ยม ทารุณ ควรจะลงโทษแบบผู้ใหญ่ เหมือนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เด็กชายคนหนึ่งนำอาวุธไปกราดยิง เพื่อนและครู ในโรงเรียน

ประการต่อมา การขัดเกลาทางสังคม จากครอบครัว สถาบันการศึกษา คนในชุมชน สภาพแวดล้อม การเลือกคบเพื่อน ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อเด็กมาก โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครอง

อย่างกรณีเยาวชนการทำร้ายนางบัวผัน ถูกตั้งคำถามว่า พ่อแม่ของเยาวชนที่ก่อเหตุ ปล่อยปละละเลยการเลี้ยงดูลูกหรือไม่ ปล่อยให้รวมตัวกัน หลัง 4 ทุ่มได้อย่างไร หรือเป็นเพราะว่าเตือนแล้วแต่ไม่ฟัง ประเด็นนี้น่าสนใจ
และควรเป็นกรณีศึกษา

สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ อดีตกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ

สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ อดีตกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ

สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ อดีตกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ

สะท้อนชัดเจนว่าวิธีการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ไม่ได้สนใจในเรื่องของการชี้แนะแนวทางชีวิตหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนา หรือการปฏิบัติต่อเด็กอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะของการดูแลจิตใจ และการดูแลพฤติกรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาเด็กเติบโตมา เขาจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างตั้งแต่เล็ก ๆ โดยปกติผู้ปกครองจะดูแลเอาใจใส่ พยายามปรับแก้ไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมแบบนั้นสะสมมา

อ่านข่าว : ตร.เชิญผู้ปกครอง 5 เยาวชน สอบปากคำคดีทำร้าย "ป้าบัวผัน" จนเสียชีวิต

การที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรก ตั้งแต่เด็กอาจถูกเลี้ยงดูโดยไม่กระทำตอบสนองความต้องการของเด็กได้อย่างทันท่วงที และสม่ำเสมอ ทำให้เด็กเหล่านี้เกิดความรู้สึกที่มีความทุกข์ และก็มีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งทำให้เขากลายเป็นคนก้าวร้าว

ถ้ายังเป็นเด็กเล็กก็จะรังแกเพื่อน รังแกสัตว์ พอเติบโต และเข้มแข็ง โดยมีฮอร์โมนเพศทำงานด้วย เขาก็จะกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรง แล้วทำอะไรก็ได้โดยที่ไม่ยั้งคิด

ส่วนที่สอง ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ มักมีความเป็นศูนย์กลางของโลกจักรวาล คิดว่าทำอะไรก็ได้ เพื่อสนองความต้องการของตัวเอง ซึ่งตรงนี้จะเห็นชัดว่า

กลุ่มพวกนี้จะเริ่มต้นด้วยการไปรังแก กลั่นแกล้งผู้หญิง คิดว่าเป็นเรื่องสนุก ไปรังแกกลุ่มเปราะบาง อย่างเช่นกรณีของป้าบัวผัน

กรณีนี้ผู้ปกครอง ควรจะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ปี 2546 มาตรา 26 (3) ที่ระบุว่า บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร หรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด

เพราะพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง อาจเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เช่น ให้เด็กอายุ 2 ขวบ เล่นโทรศัพท์มือถือ เพื่อจะให้ตัวเองมีเวลาไปทำอย่างอื่น เมื่อทำแบบนี้ก็จะเกิดปัญหา เนื่องจากเด็กในช่วง 2 ขวบ จนถึง 6 ขวบ มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง เรียกร้องความสนใจ แต่ไม่ร้ายแรง เช่น หิว ปวดท้อง และจะร้องเรียกให้ผู้ดูแลเข้ามาแก้ปัญหา

แต่หากผู้ปกครองไม่เข้าไปช่วยเหลือ ก็จะรู้สึกทรมานทุกข์ใจ ซึ่งความทุกข์ตรงนี้ จะทำให้เขามีอารมณ์แปรปรวน และมีแนวโน้มที่จะอาละวาด

ประเด็นสำคัญ กฎหมายคุ้มครองเด็ก ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเด็กกระทำความผิด

กรณีการทำร้ายป้าบัวผัน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน กระบวนการยุติธรรมจะมีการใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ด้วยวิธีการที่ถูกวางไว้ในกฎหมาย แม้ว่าจะอายุน้อยกว่า 18 ปี หากศาลเห็นว่าเยาวชนอาจมีอันตราย ก็สามารถที่จะส่งไปจำคุกได้

อ่านข่าว : ญาติร้อง "บิ๊กโจ๊ก" ขอความเป็นธรรม คดี 5 เยาวชนทำร้าย "ป้าบัวผัน" เสียชีวิต

เช่น อยู่ในสถานพินิจครบ 18 ปี และมีพฤติกรรมร้ายแรง กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน มีอำนาจในการส่งตัวเข้าเรือนจำ และไม่จำเป็นต้องมีความกังวล เรื่องการลดอายุ หรือปรับกฎหมาย โดยมองว่าไม่ได้เกี่ยวกัน

แต่ปัญหาก็คือคุณไม่ยอมส่งเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ถ้าเด็กอยู่ในกระบวนการของศาล และได้ฟังหรือรับรู้ ว่ามีผลกระทบกับบุคคลใดบ้าง หลังก่อเหตุ แต่ถ้ามีการพยายามล้มคดีตั้งแต่แรก ก็อาจทำให้เด็ก ไม่มีโอกาสได้เข้าใจ ถึงผลกระทบที่กระทำลงไป


รายงาน : ชาติชาย ถุงเงิน ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง