"สิงโต" ไม่ใช่สัตว์ป่าที่ทุกคนจะเลี้ยงได้

สิ่งแวดล้อม
28 ม.ค. 67
16:06
1,012
Logo Thai PBS
"สิงโต" ไม่ใช่สัตว์ป่าที่ทุกคนจะเลี้ยงได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ย้อนระเบียบกรมอุทยานฯ ปลดล็อกเลี้ยง "สิงโต" ถูกกฎหมายก่อนทบทวนระเบียบใหม่ หลังเริ่มพบพาสิงโตนั่งรถหรู สิงโตหลุด เจ้าของฟาร์ม ยันสัตว์ป่าไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน นิยมอายุช่วง 45 วันถึง 1 เดือน ยันไม่ควรพาออกนอกบ้าน มีพื้นที่กรงเหมาะสม

ปัจจุบันสิงโตกลายเป็นสัตว์ป่าที่เข้าถึงได้ง่าย ประชาชนสามารถครอบครองได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต มีคำแนะนำจากเจ้าของฟาร์มสิงโต ว่าแม้จะเลี้ยงตั้งแต่ตัวเล็กๆ จดจำเจ้าของได้ แต่เจ้าของต้องระมัดระวัง ไม่นำออกไปเดินเล่น เพราะเขาอาจไม่ได้คุ้นเคยกับคนอื่น

ปัทมาวดี จันทร์พิทักษ์ เจ้าของฟาร์ม ไลออน เฮาส์ บอกว่า สิงโตตัวเต็มวัย ในฟาร์ม แม้อดีตช่วงที่ยังตัวเล็ก เจ้าของเคยเลี้ยงอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อโตขึ้นพวกมันก็ถูกเลี้ยงในกรงปิด เพื่อความปลอดภัยไม่ต่างจากสัตว์ป่าทั่วไป 

โดยกรงจะมีขนาดความกว้างเพียงพอ ที่จะให้สิงโตตัวใหญ่อาศัยได้ 2-3 ตัว มีที่หลบฝน ที่บังแดด และมีสนามให้วิ่งเล่น เลียนแบบป่าธรรมชาติ

ปัทมาวดี จันทร์พิทักษ์ เจ้าของฟาร์ม ไลออน เฮาส์ จ.ฉะเชิงเทรา

ปัทมาวดี จันทร์พิทักษ์ เจ้าของฟาร์ม ไลออน เฮาส์ จ.ฉะเชิงเทรา

ปัทมาวดี จันทร์พิทักษ์ เจ้าของฟาร์ม ไลออน เฮาส์ จ.ฉะเชิงเทรา

จากสิงโต 1 คู่ ที่ซื้อมาเพราะความชอบ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา นำมาขยายพันธุ์ จนขณะนี้ มีสิงโตที่ตัวเต็มวัย และลูกสิงโตในครอบครอง 35 ตัว ทั้งหมดมีใบอนุญาตครอบครอง ส่วนลูกสิงโต แม้จะถูกนำไปขายให้คนที่ชื่นชอบ แต่ไม่ใช่ทุกคน ที่จะซื้อสิงโตไปเลี้ยงได้

อ่านข่าว ผิดชัด! กรมอุทยานฯ ตามเจ้าของ "สิงโตขาว" นั่งรถชิลพัทยา

สิงโตไม่ใช่สัตว์เลี้ยงแบบแมว-หมา

ลูกสิงโตอายุ 1 เดือน–45 วัน มีสีน้ำตาล และสีขาว โดยตัวสีขาวจะมีราคาสูงกว่าเท่าตัว ลูกสิงโตอายุ 5 เดือน เจ้าของนำมาอนุบาลในกรงชั่วคราว เพื่อรอปล่อยในกรงขนาดใหญ่ตามมาตรฐาน 

แม้จะเป็นลูกสิงโต แต่เป็นช่วงอายุที่ห้ามนำออกมาเดินเล่น เพราะเริ่มแสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณสัตว์ป่า  คนที่นำไปเลี้ยง ไม่ควรนำออกไปในพื้นที่สาธารณะ

ลูกสิงโตสีน้ำตาลอายุ 45 วันถึง 1 เดือน

ลูกสิงโตสีน้ำตาลอายุ 45 วันถึง 1 เดือน

ลูกสิงโตสีน้ำตาลอายุ 45 วันถึง 1 เดือน

การเลี้ยงต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวม เพราะสิงโตไม่รักทุกคน และบางคนแค่คิดว่าเป็นสิงโตก็กลัวแล้ว เหมือนไปเจอหมาตัวใหญ่ก็ยังกังวล ใจเขาใจเรา เพราะไม่ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กต้องห้ามนำออกนอกสถานที่เพราะเป็นสัตว์ดุร้าย

นอกจากนี้ เจ้าของฟาร์ม ไลออน เฮาส์ ยังบอกว่า สิงโตเป็นสัตว์ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ทำให้กลุ่มเป้าหมาย ที่จะซื้อสิงโตไปเลี้ยง ต้องมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ และ พื้นที่เลี้ยงโดยเฉพาะกรงที่เหมาะสม

ถ้ามีกำลังซื้อ แต่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมต่อคนอื่น ไม่มีกรงที่เหมาะสม ก็จะไม่ขายให้ เหมือนแค่ซื้อไปอยู่ในบ้าน ในคอนโด เลี้ยงเหมือนหมา-แมว ไม่ได้เลี้ยงให้เป็นสัตว์ป่า ส่วนตัวถ้าจะขายก็อยากให้เจอเจ้าของที่ดูแลได้ดี

อ่านข่าว พิกัด "สิงโต" ทั่วไทย 223 ตัว แจ้งครอบครอง 8 สัตว์ดุร้าย 444 ตัว

สิงโตขาว ในกรงเลี้ยงต้องมีพื้นที่กว้างและแข็งแรง

สิงโตขาว ในกรงเลี้ยงต้องมีพื้นที่กว้างและแข็งแรง

สิงโตขาว ในกรงเลี้ยงต้องมีพื้นที่กว้างและแข็งแรง

ย้อนระเบียบกรมอุทยานฯ ปลดล็อกเลี้ยงสิงโต

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.2565-16 มี.ค.2566  หลังจากระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชว่าด้วยการแจ้งและการรับแจ้ง และการครอบครอง ซึ่งสัตว์ป่าควบคุมและซากสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ.2565 ประ กาศใช้อย่างเป็นทางการ เปิดทางให้บุคคลทั่วไปสามารถครอบครองสิงโตได้ โดยให้นำมาแจ้งครอบครองกับกรมอุทยานฯ 

สิงโต ถูกจัดไว้ในกลุ่ม สัตว์ป่าควบคุม” ชนิด ก หมายถึงสัตว์สายพันธุ์ที่มีลักษณะนิสัยดุร้าย มีพฤติกรรมที่อาจสร้างความหวาดกลัว หรือเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของมนุษย์

จากนั้นเมื่อระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ ก็ทำให้การเลี้ยงสิงโต ถูกยกขึ้นมาอยู่บนดิน  กรมอุทยานฯ สามารถควบคุมดูแลได้อย่างเป็นระบบ ทั้งคนที่มีสิงโตอยู่ในครอบครองอยู่ก่อนแล้ว

รวมถึงคนที่อยากเลี้ยงสิงโต ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ เช่น ต้องนำส่งหลักฐานการได้มาอย่างถูกกฎหมาย เช่น ใบนำเข้า หรือ ใบเสร็จจากฟาร์ม เพื่อขอใบรับแจ้งการครอบครองอย่างถูกต้อง และข้อมูลการครอบครองก็จะไปอยู่ในฐานข้อมูลของกรมอุทยานฯ

ระเบียบนี้เปิดทางให้บุคคลทั่วไปครอบครองสิงโตได้ เพราะกำหนดประเภทของการครอบครองไว้ 5 ประเภท ในจำนวนนี้ มี 2 ประเภทที่เอื้อให้บุคคลทั่วไปสามารถเลี้ยงสิงโตได้  ในลักษณะสัตว์เลี้ยง และเพื่องานอดิเรก 

แต่ทั้ง 2 ประเภท ต้องการมีการดูแลและจัดสวัสดิภาพสัตว์ป่าตามที่กำหนดไว้ เช่น จัดสถานที่ครอบครองให้มั่นคงแข็งแรงป้องกันสัตว์ป่าควบคุมหลุดไปทำร้ายผู้อื่น ทำป้ายเตือนอย่างชัดเจน ต้องเคลื่อนย้ายอย่างเหมาะสม ปลอดภัยภัย ไม่ก่ออันตรายแก่ผู้อื่น ซึ่งเหล่านี้กำหนดไว้อย่างชัดเจน

แต่กรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงนี้ อาจทำให้กรมอุทยานฯ ต้องทบทวนว่าจะปรับเปลี่ยน ระเบียบการแจ้งครอบครองสัตว์ป่าควบคุมชนิด ก หรือไม่ หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา พบพฤติกรรมการลักลอบเลี้ยงสิงโตเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน 2 แห่งที่จ.ชลบุรี

หลังเรื่องแดงขึ้น เนื่องจากสิงโตตัวแรกที่ชาวศรีลังกาพานั่งรถเปิดประทุนกลางเมืองพัทยา ส่วนสิงโต 1 ใน 2 ตัวที่มีคลิปภาพหลุดจากบ้านออกมาเดินบนถนน ถูกซื้อมาจากฟาร์มเพาะพันธุ์เดียวกันใน จ.นครปฐม ตอนนี้ถูกอายัดไว้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตครอบครอง 

สำหรับการครอบครองสัตว์ป่า เช่นกรณีสิงโต หากไม่แจ้งครอบครองให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี เดือนปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านข่าว  

ขีดเส้น 16 มี.ค. แจ้งครอบครองสัตว์ป่าควบคุม 10 ชนิดแรก "สิงโต-กอริลล่า-อนาคอนดา"

"เสือดาว" 2 ตัวเดินชิลกลางป่าทางขึ้นพะเนินทุ่ง 

อุเทนถวาย" ให้นศ.เรียนออนไลน์ 28-30 ม.ค.-ห้ามเข้าพื้นที่ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง