"ปฏิบัติการแมวบิน" เหมียวโดดร่มจับหนูที่เกาะบอร์เนียว

ไลฟ์สไตล์
5 ก.พ. 67
16:18
265
Logo Thai PBS
"ปฏิบัติการแมวบิน" เหมียวโดดร่มจับหนูที่เกาะบอร์เนียว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มนุษย์มีเจตนาดี แต่วิธีแก้ปัญหาอาจได้ผลลัพธ์ไม่เป็นตามคาด จากความพยายามกำจัดโรคมาลาเรีย กลายเป็นจุดเปลี่ยนทำลาย "ห่วงโซ่อาหาร" ระบบนิเวศบนเกาะบอร์เนียว นำไปสู่ "ปฏิบัติการแมวบิน" ทีมเหมียวที่มาเพื่อแก้ปัญหาหนูล้นเกาะ เพื่อขจัดพาหะโรคไข้รากสาดใหญ่และกาฬโรค

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 มีการระบาดของโรคมาลาเรียอย่างรุนแรงในกลุ่มชาวดายัก ชนพื้นเมืองที่อาศัยบนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก พื้นที่ของประเทศมาเลเซีย เพื่อช่วยชีวิตคนเหล่านั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือด้วยการใช้สารเคมีที่เรียกว่า "ดีดีที" ฉีดไปทั่วพื้นที่เกาะบอร์เนียว เพื่อฆ่ายุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีที่มีพิษรุนแรง ชนพื้นเมืองดายักประสบความสำเร็จในการฆ่ายุงจำนวนมาก และสามารถจำกัดการระบาดของโรคมาลาเรียได้ในที่สุด

ภาพประกอบข่าว : การพ่นดีดีทีในแปลงเกษตรโดยเครื่องบินในอดีต

ภาพประกอบข่าว : การพ่นดีดีทีในแปลงเกษตรโดยเครื่องบินในอดีต

ภาพประกอบข่าว : การพ่นดีดีทีในแปลงเกษตรโดยเครื่องบินในอดีต

ดีดีที ลุกลาม "ห่วงโซ่อาหาร"

แต่ความสำเร็จของ WHO กลับกลายเป็นความล้มเหลว เมื่อฤทธิ์ของดีดีทีไม่ได้ทำให้วงจรการระบาดของโรคมาลาเรียสิ้นสุด แต่กลับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายห่วงโซ่อาหารทั้งหมดบนเกาะบอร์เนียว 

ฤทธิ์จากดีดีทีโจมตีเหล่าหนอนตัวต่อ ทำให้พวกมันไม่สามารถเจริญเติบโตเป็น "ต่อ" ได้ ต่อเป็นสัตว์นักล่าของผีเสื้อ เมื่อไม่มีต่อคอยควบคุมจำนวนประชากร "หนอนผีเสื้อ" จึงเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว เพราะอาหารของพวกหนอนผีเสื้อบนเกาะนี้คือ "หลังคาที่ทำมาจากใบไม้" ของชาวบ้าน 

ภาพประกอบข่าว : ต่อ แมลงนักล่าหนอนผีเสื้อ

ภาพประกอบข่าว : ต่อ แมลงนักล่าหนอนผีเสื้อ

ภาพประกอบข่าว : ต่อ แมลงนักล่าหนอนผีเสื้อ

ชาวบ้านก็ได้รับความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยถูกทำลายแล้วด้านหนึ่ง

อีกความล้มเหลวคือ เหล่าแมลงตัวเล็กๆ ก็ตายเพราะฤทธิ์ดีดีที "ตุ๊กแก-กิ้งก่า" หรือสัตว์เลื้อยคลานที่กินแมลงเหล่านี้ก็รับเอาสารพิษในตัวแมลงเข้าไปสะสมในร่างกาย "แมว" หรือนักล่าที่อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารระดับชุมชนนี้ ก็กินตุ๊กแก กิ้งก่า แล้วก็ตายเป็นจำนวนมาก 

ภาพประกอบข่าว : กิ้งก่าจับแมลงกิน

ภาพประกอบข่าว : กิ้งก่าจับแมลงกิน

ภาพประกอบข่าว : กิ้งก่าจับแมลงกิน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ "หนู" มีโอกาสขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก พวกมันเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน และทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้รากสาดใหญ่ และ กาฬโรค

ความตั้งใจดีของ WHO กลายเป็นการทำลายห่วงโซ่อาหารทางธรรมชาติ
และสร้างความเดือดร้อนให้ประชากรมนุษย์

เมื่อการใช้สารเคมีกลับสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง WHO ขอแก้ตัวอีกครั้ง ด้วยใช้สิ่งมีชีวิตควบคุมกันเอง Operation Cat Drop "ปฏิบัติการแมวบิน" หรือบางแห่งเรียก "ปฏิบัติการแมวโดดร่ม" จึงเกิดขึ้น  

ภารกิจหย่อนแมวลงเกาะ

เพื่อจัดการปัญหาหนูประชากรล้น กองทัพอากาศของอังกฤษ (ขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ) จึงเริ่มปฏิบัติการแมวโดดร่ม ข้อมูลจากเว็บไซต์ Yourstory ระบุว่าในเวลานั้นมีแมวอย่างน้อย 20 ตัวบรรจุอยู่ในกล่อง และอาจมากถึง 14,000 ตัวตามรายงานบางฉบับ ถูกทิ้งทางอากาศลงในรัฐซาราวัก นอกจากแมวแล้ว ยังส่งอุปกรณ์และเสบียง น้ำหนักกว่า 3,000 กิโลกรัมลงในพื้นที่อีกด้วย การดำเนินการดังกล่าวมีการวางแผนที่พิถีพิถันและการทดสอบหลายครั้งก่อนที่จะดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

เช่นเดียวกับ 17 มี.ค.1960 หนังสือพิมพ์ของสิงคโปร์พาดหัวข่าวว่า "It 'rained cats in Sarawak" หรือ ฝนแมวตกที่ซาราวัก เนื้อข่าวว่าชาวสิงคโปร์จำนวนมากได้เห็นปฏิบัติการนี้ 

"Operation Cat Drop" มักถูกอ้างเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ซับซ้อนและความผิดพลาดจากการแทรกแซงของมนุษย์ต่อธรรมชาติ ถือเป็นเครื่องเตือนใจถึงการรักษาสมดุลระบบนิเวศของธรรมชาติเอง การตัดสินใจที่ผิดพลาดขององค์ประกอบหนึ่ง สามารถก่อให้เกิดตามมาที่ไม่คาดคิดเป็นวงกว้าง

ภาพประกอบข่าว : แมวจับหนู

ภาพประกอบข่าว : แมวจับหนู

ภาพประกอบข่าว : แมวจับหนู

"ดีดีที" ยาฆ่าแมลงฤทธิ์แรงจนฆ่ามนุษย์

ข้อมูลจากเว็บไซต์ หาหมอ ระบุว่า ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน (Dichlorodiphenyltrichloroethane) หรือ ดีดีที (DDT) ถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่ได้ผลดี แต่ก็สร้างมลพิษกับสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมากด้วย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีดีที ถูกนำมาใช้ในกองทัพเพื่อกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย และ โรคไข้รากสาดใหญ่ ต่อมาพัฒนามาใช้ในแปลงเกษตรกรรมและในครัวเรือน ผลเสียของ ดีดีที คือก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การปนเปื้อนในธรรมชาติ และสัตว์ป่าหลายประเภทตายลง 

ภาพประกอบข่าว : สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ภาพประกอบข่าว : สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ภาพประกอบข่าว : สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 2535 กำหนดให้ ดีดีที เป็นวัตถุอันตรายประเภท 4 หมายถึงกลุ่มวัตถุมีพิษ ห้ามการผลิตหรือนำเข้าและส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง ทำให้ปัจจุบันไม่พบการใช้ดีดีทีในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว

ภาพประกอบข่าว : การใช้สารเคมีในแปลงเกษตร

ภาพประกอบข่าว : การใช้สารเคมีในแปลงเกษตร

ภาพประกอบข่าว : การใช้สารเคมีในแปลงเกษตร

อ่านข่าวอื่น :

กรมทรัพย์สินฯชี้“กางเกงช้าง” สิขสิทธิ์ไทย"ภูมิธรรม"สั่งเบรกนำเข้า

"ไชยา" ใช้กรมชลฯ ทำงานชั่วคราว โฆษกเกษตร แจงไฟไหม้อย่าโยงการเมือง

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง