ภาคประชาสังคม แนะควรมี “สันติภาพคู่ขนาน” หลัง “พูดคุยสันติสุข”

ต่างประเทศ
8 ก.พ. 67
11:28
259
Logo Thai PBS
ภาคประชาสังคม แนะควรมี “สันติภาพคู่ขนาน” หลัง “พูดคุยสันติสุข”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ภาคประชาสังคมแนะไม่ควรจบแค่การเจรจาของส่วนบน อย่างเวที “พูดคุยสันติสุข” แต่ควรเกิด "สันติภาพคู่ขนาน" ในพื้นที่ ทั้งระหว่างรัฐกับประชาชน และประชาชนกับประชาชน

แม้ในที่สุดการพูดคุยสันติสุข ครั้งที่ 7 ระหว่างกลุ่มบีอาร์เอ็น และคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทย จะเห็นชอบร่วมกันใน 3 หลักการ ตามแผนปฏิบัติการร่วม เพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม หรือ JCPP คือ การลดความรุนแรง การปรึกษาหารือกับประชาชน และการแสวงหาทางออกทางการเมือง

และเจ้าหน้าที่ระดับเทคนิค จะประชุมร่วมกันอีก 2 ครั้ง ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนมีนาคม แต่การลงนามที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหลายคนคาดหวังจะเห็นในการพบปะครั้งนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น

มุมมองของ นายรักชาติ สุวรรณ อดีตประธานเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ กล่าวว่า สิ่งจำเป็นที่ต้องหารือร่วมกัน เพื่อให้ได้ข้อยุติคือ การออกแบบวิธีการลดความรุนแรง

การแถลงข่าวภายหลังการพูดคุยสันติสุข ของฝ่ายไทย และบีอาร์เอ็น ที่กรุงกลัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

การแถลงข่าวภายหลังการพูดคุยสันติสุข ของฝ่ายไทย และบีอาร์เอ็น ที่กรุงกลัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

การแถลงข่าวภายหลังการพูดคุยสันติสุข ของฝ่ายไทย และบีอาร์เอ็น ที่กรุงกลัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ส่วนเยาวชนที่เติบโตมากับความขัดแย้งรุนแรงตลอด 20 ปี อย่าง นายฟาอิก กระสี สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชายแดนใต้ มองว่า เมื่อการพูดคุยเริ่มขึ้น ก็มักจะมีเหตุรุนแรงเพิ่มขึ้นก่อนเสมอ

ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมทั้งสองฝ่ายจึงไม่ลดเงื่อนไข ที่สามารถลดได้ในพื้นที่ก่อน และเห็นว่า กระบวนการสร้างสันติภาพ เกิดขึ้นเพียงส่วนบนคือคู่ขัดแย้ง ทั้งที่ในพื้นที่ก็ควรสร้างสันติภาพคู่ขนานกันไป เพราะวันนี้รัฐกับประชาชน หรือประชาชนกับประชาชน ก็ยังขัดแย้งกัน

การฟื้นฟูสันติภาพเกิดขึ้นเพียงทางเดียวคือ ปาร์ตี้เอ และปาร์ตี้บี แต่มองไม่เห็นการสร้างสันติภาพคู่ขนาน ที่หมายถึงประชาชนกันเอง หรือประชาชนกับรัฐ ที่ไม่มีความสมานฉันท์ หรือมีเงื่อนไขบางอย่าง ที่ทำให้ความสงบสุขไม่กลับมา หรือการกระทำอะไรบางอย่างในอดีต ที่ทำให้เป็นเงื่อนไข ระหว่างประชาชนกับประชาชน หรือการกระทำของรัฐเอง ที่ทำให้เกิดเงื่อนไขระหว่างประชาชนกับรัฐ

นายฟาอิก กล่าว

ด้าน น.ส.รุจิรดา วงศ์แก้ว ประธานกลุ่มต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้ มองว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่เกิดความรุนแรง อาจมาจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน ของคนที่คิดต่าง ทำให้เยาวชนต้องเติบโต หรือใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความขัดแย้ง แต่หากก้าวข้ามความไม่เข้าใจกันในการสื่อสาร มีทัศนะและสื่อสารเชิงบวก เข้าใจถึงความแตกต่างที่มี เชื่อว่าจะลดความรุนแรงได้

การจัดเวที หรือกิจกรรมของเยาวชนที่เป็นเพียงแต่ลานสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่กลาง แต่ก็ยังมีมุมมองจากผู้ใหญ่หลานคน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง หรือเป็นแนวร่วม เป็นการมองแบบตีตรา ไม่ได้มองแบบวิเคราะห์ หรือ ความจริง แต่เป็นการมองแบบเหมารวม ว่าคนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ มันก็ไม่เป็นธรรม กับการที่ถูกมองแบบนั้น

น.ส.รุจิรดา กล่าว

เวทีพูดคุยสันติสุขจบลงแล้ว เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่ภาคประชาสังคมมองว่า ควรมีการดำเนินการ

เวทีพูดคุยสันติสุขจบลงแล้ว เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่ภาคประชาสังคมมองว่า ควรมีการดำเนินการ

เวทีพูดคุยสันติสุขจบลงแล้ว เมื่อวันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่ภาคประชาสังคมมองว่า ควรมีการดำเนินการ "สันติภาพคู่ขนาน" ในพื้นที่ด้วย

สิ่งที่เยาวชนหลายคนเห็นตรงกันต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ คือ ควรเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ อย่าตีตรา หรือ เหมารวมว่าการรวมตัวของเยาวชนเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง

ซึ่งประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ที่ถูกพูดถึงในการพูดคุยสันติสุขครั้งนี้ โดยทางฝ่ายบีอาร์เอ็นได้แสดงความกังวลว่า การดำเนินคดีกับนักกิจกรรม อาจสุ่มเสี่ยงที่จะสร้างเงื่อนไขใหม่ในพื้นที่

ขณะที่หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายไทย ก็ยืนยันว่า ไม่ได้ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องเป็นการแสดงออกในเวทีที่เหมาะสม โดยเฉพาะการแสดงออกผ่านสื่อออนไลน์ ที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย

แต่หลังจากนี้ เวทีของการพูดคุยสันติสุขที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ก็จะเปิดช่องให้ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

รายงาน : ติชิลา พุทธสาระพันธ์ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคใต้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง