วอนชาวนางดทำนาปรังรอบ 2 เกษตรฯแนะปลูกพืชทนแล้งทดแทน

เศรษฐกิจ
14 ก.พ. 67
16:01
397
Logo Thai PBS
วอนชาวนางดทำนาปรังรอบ 2 เกษตรฯแนะปลูกพืชทนแล้งทดแทน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ก.เกษตรฯ วอนเกษตรกรพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา งดทำนาปรังรอบสอง รับมือภาวะเอลนีโญ แนะปลูกมะเขือเทศ ข้าวโพดหวาน พืชทนแล้ง ใช้น้ำน้อยแทน แจง ฟักทอง แตงโม ถั่วลิสง สร้างกำไรดีกว่า

วันนี้ (14 ก.พ.2567) นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) กำลังปานกลาง ส่งผลให้ในปี พ.ศ.2566 ไทยมีปริมาณน้ำต้นทุนทั้งประเทศน้อยลงกว่าปี 2565 จำนวน 3,999 ล้านลูกบาศก์เมตร (1 พ.ย. 2566) ซึ่งส่งผลต่อน้ำต้นทุนในปี 2567 ประกอบกับที่กรมชลประทานได้ปรับแผนจัดสรรน้ำเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนพื้นที่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

ขณะนี้มีการจัดสรรน้ำทั่วประเทศแล้วประมาณ 12,627 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 51โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 4,496 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 52 ส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนอาจไม่เพียงพอต่อการทำนาปรังรอบสอง

ข้อมูลสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 11 ก.พ.2567 พบว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 53,582 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ รวมกัน

โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 15,096 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ รวมกัน

ข้าว

ข้าว

ข้าว

อย่างไรก็ตาม การทำนาปรัง พบว่า ทั้งประเทศมีการทำนาปรังเกินจากแผนการเพาะปลูก ปี 2566/2567 ไปแล้ว 10.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 126 ของแผนฯ (ในเขตชลประทาน 8.38 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 144 ของแผนฯ นอกเขตชลประทาน 1.83 คิดเป็นร้อยละ 79 ของแผนฯ

เฉพาะบริเวณ “ลุ่มเจ้าพระยา” มีการทำนาปรังไปแล้วประมาณ 6.90 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 164 ของแผนฯ ในเขตชลประทาน 5.63 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 186 ของแผนฯนอกเขตชลประทาน 1.27 คิดเป็นร้อยละ 109 ของแผนฯ จากข้อมูลดังกล่าวกรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอความร่วมมือจากเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาที่เก็บเกี่ยวนาปรังรอบแรกแล้วเสร็จ

ขอความร่วมมือชาวนางดทำนาปรังรอบที่ 2 และเลือกปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทน เพื่อลดความเสี่ยงที่ผลผลิตจะเสียหายจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
มะเขือเทศ

มะเขือเทศ

มะเขือเทศ

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ในปีการผลิต 2566/67 กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งเน้นให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนาปรังรอบสอง เพื่อลดความเสียหายจากสภาพอากาศหน้าแล้ง ลดการใช้น้ำทำการเกษตร และสร้างรายได้แก่เกษตรกร

สำหรับพืชใช้น้ำน้อยที่กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทดแทนการทำนาปรัง คือ พืชที่ใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าข้าว และมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน โดยการทำนาปรังจะใช้น้ำในการเพาะปลูกข้าวประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่พืชใช้น้ำน้อยจะใช้น้ำต่อรอบฤดูปลูกน้อยกว่าประมาณร้อยละ 30-70

ข้าวโพด

ข้าวโพด

ข้าวโพด

โดยจะปลูกในพื้นที่นาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว ช่วงเดือน พ.ย. - เม.ย. ซึ่งพืชใช้น้ำน้อยหลายชนิดมีตลาดรองรับ และช่วยสร้างกำไรเฉลี่ยได้มากกว่าการทำนาปรัง กำไรเฉลี่ย 1,572 บาทต่อไร่ เช่น มะเขือเทศ กำไรเฉลี่ย 36,800 บาทต่อไร่ ฟักทอง กำไรเฉลี่ย 34,890 บาทต่อไร่ แตงโม กำไรเฉลี่ย 16,885 บาทต่อไร่ ข้าวโพดหวาน กำไรเฉลี่ย 7,720 บาทต่อไร่ และถั่วลิสง กำไรเฉลี่ย 2,644 บาทต่อไร่

ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจสามารถขอคำปรึกษาและคำแนะนำในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนาปรังรอบสอง รวมทั้งการบริหารจัดการสินค้าเกษตร การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของตลาด และการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรกรอำเภอ

อ่านข่าวอื่นๆ:

ฟื้น ! หอการค้าชี้เศรษฐกิจขยายตัว คาดตลอดปี นทท.ทะลุ 40 ล้าน

“กอบศักดิ์ ภูตระกูล” กูรูเศรษฐกิจ ชี้ไทยเร่งสร้างเสน่ห์ดึงเงินลงทุน

ดอกไม้จากจีนตีตลาดกระทบผู้ปลูกดอกไม้ไทย "ออเดอร์หาย-ราคาตก"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง