รับเทรนด์โลกยุคใหม่ สนค.ดัน Event Tourism ชูวัฒนธรรมย้อนยุค

เศรษฐกิจ
28 ก.พ. 67
13:00
345
Logo Thai PBS
รับเทรนด์โลกยุคใหม่ สนค.ดัน Event Tourism ชูวัฒนธรรมย้อนยุค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สนค. หนุน ท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม ดันวัฒนธรรม สินค้า ย้อยรอยประวัติศาสตร์ Soft Power ไทย คาดชี้ปี 67 ตลาดทั่วโลกโต1.63 ล้านล้านดอลลาร์ รับพฤติกรรมผู้บริโภคตามเทรนด์โลกยุคใหม่

วันนี้ (28 ก.พ.2567) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวถึง การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม หรือ Event Tourism กำลังได้รับความสนใจของนักท่องเที่ยวซึ่งมีศักยภาพในการเติบโตสูง เนื่องจากการจัดกิจกรรมจะส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรม และยังเป็นการประชาสัมพันธ์ Soft Power ได้เป็นอย่างดี

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและภาครัฐในการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้าง Soft Power ไทย ให้สามารถต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และนำไปสู่การจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจอื่น ๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม (Event Tourism) เป็นการท่องเที่ยวที่มีพื้นที่กิจกรรมเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวกันของชุมชนที่มีความสนใจเดียวกัน ส่งผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชน รวมไปถึงบริเวณโดยรอบ ขนาดกิจกรรมมีตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค ระดับประเทศ ไปจนถึงการจัดกิจกรรมในต่างประเทศ

นักท่องเที่ยวต่างชาติ

นักท่องเที่ยวต่างชาติ

นักท่องเที่ยวต่างชาติ

แต่ละกิจกรรมจะมีลักษณะเฉพาะของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สำหรับประเภทของกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น งานแสดงดนตรี/คอนเสิร์ต งานเทศกาล การแข่งขันกีฬา การประชุม กิจกรรมองค์กร และงานแสดงสินค้า (MICE)

ผอ. สนค. กล่าวเพิ่มเติมว่า รายงาน Event Tourism Market Outlook from 2024 to 2034 ระบุว่า ปี 2566 มูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมทั่วโลกอยู่ที่ 1.56 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.1 คาดว่ามูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมทั่วโลกในปี 2567 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.63 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นักท่องเที่ยวนั่งช้างไทยชมธรรมชาติ

นักท่องเที่ยวนั่งช้างไทยชมธรรมชาติ

นักท่องเที่ยวนั่งช้างไทยชมธรรมชาติ

สำหรับความต้องการในการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมทั่วโลก คาดว่าในช่วง 10 ปี (ปี 2567-2577) จะเติบโตร้อยละ 4.3 ต่อปี และจะมีมูลค่าสูงถึง 2.38 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2577

พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับชุมชนที่ตนมีความสนใจ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความชื่นชอบระหว่างกัน
นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว

เนื่องจากก่อนหน้านี้ ผู้บริโภคขาดประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปัจจุบันหลายประเทศให้ความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมเพื่อรองรับความสนใจใหม่ ๆ ของผู้บริโภค

นายพูนพงษ์ กล่าวอีกว่า การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมในการเผยแพร่วัฒนธรรม เช่น เกาหลีใต้ โด่งดังในเรื่องการเผยแพร่ Soft Power จนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดนโยบายให้ปี 2566 เป็น ปีแห่งการมาเยือนเกาหลี

โดยมุ่งมั่นให้เกาหลีใต้ เป็นมหาอำนาจด้านการท่องเที่ยวผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลี (K-Culture) ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนำยุทธศาสตร์สำคัญอย่าง Soft Power มาช่วยขับเคลื่อนประเทศ ส่งผ่านกระแสเกาหลี (K-Wave) ไปยังทุกภาคส่วนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

เทศกาลสงกรานต์ไทย

เทศกาลสงกรานต์ไทย

เทศกาลสงกรานต์ไทย

หรือ ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม รัฐบาลญี่ปุ่นความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ สถาบันวัฒนธรรม หน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานเอกชน จัดมหกรรม Japan Cultural Expo 2.0 เพื่อใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยครั้งนี้ได้นำเสนอในรูปแบบของ Japan Beauty เพื่อดึงดูดผู้ชมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เช่นเดียวกับ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีความโดดเด่นทางธุรกิจและการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬา ในปี 2566 รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดทำโครงการ Singapore Sports Hub ที่มุ่งมั่นให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาของเอเชีย

นอกจากการแข่งขันดังกล่าวยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำคัญ สำหรับธุรกิจ MICE และการประชุมระดับโลก ส่งผลต่อการสร้างแบรนด์สิงคโปร์ให้ก้าวไปสู่ระดับโลก รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและธุรกิจในท้องถิ่นโดยรอบด้วยการสร้างรายได้และการจ้างงานให้กับชาวสิงคโปร์

นักท่องเที่ยวทำบุญตักบาตร

นักท่องเที่ยวทำบุญตักบาตร

นักท่องเที่ยวทำบุญตักบาตร

สำหรับประเทศไทย มีจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวที่สามารถต่อยอดได้ ปี 2566 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทย 28.04 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 151 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 2 ล้านล้านบาท

จากตัวเลขการท่องเที่ยวที่เติบโต แสดงให้เห็นถึงความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว และไทยเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกเลือกเป็นจุดหมายปลายทาง

สำหรับธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในไทย พบว่า มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจบริการอาหาร/เครื่องดื่ม ,ที่พักแรมระยะสั้น ,ธุรกิจการจัดการประชุมและการแสดงสินค้า หรือแม้แต่ธุรกิจด้านการกีฬา ความบันเทิง และนันทนาการที่มีการจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อรองรังการท่องเที่ยวของไทยที่ขยายตัวในปีนี้

ผอ.สนค.กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีจุดแข็งด้านวัฒนธรรมและประเพณีที่สามารถต่อยอดและผสมผสานไปกับการท่องเที่ยวได้ โดยเฉพาะกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทยได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน งานแสดงสินค้าโอท็อป การแข่งขันกีฬามวยไทย เป็นต้น

ทะเลไทย

ทะเลไทย

ทะเลไทย

“ การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม จึงเป็นอีกหนี่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่ควรส่งเสริม เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการแต่ละชุมชนได้ อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะธุรกิจการจัดงาน (Event Business) และเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ Soft Powerของไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตามภาครัฐควรรสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม เช่น พิจารณาจัดการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม 1 งาน 1 จังหวัด เพื่อชูเอกลักษณ์และนำเสนอจุดเด่นของแต่ละจังหวัด การบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานส่วนกลางกับภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ไม่วาจะเป็น ถนน รถไฟฟ้า ให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและประชาชน ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดให้เดินทางสะดวก สามารถเข้าถึงกิจกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ครอบคลุมมากขึ้น

อยากให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจบริการที่มีบทบาทสำคัญมากในด้านการท่องเที่ยวเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม ตลอดจนปรับตัวและปรับแผนธุรกิจให้สอดรับกับแนวโน้มและความต้องการของผู้บริโภค

 อ่านข่าวอื่นๆ:

ไม่พร้อมเปย์! ค่าครองชีพพุ่งก่อนไม่รอค่าแรง (ไม่)ดีเดย์ 1 มี.ค.

บอร์ดค่าจ้างเคาะสูตรคำนวณใหม่ นำร่อง 10 จว.ขึ้นค่าแรงรอบ 2

"เครดิตบูโร" ชี้หนี้บ้านค้างชำระ 6.1 แสนล้านบาท หวั่นหนี้เสียพุ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง