"ชิราคาวาโกะ" หมู่บ้านปลอดขยะเมืองมรดกโลก

ไลฟ์สไตล์
11 มี.ค. 67
16:30
712
Logo Thai PBS
"ชิราคาวาโกะ" หมู่บ้านปลอดขยะเมืองมรดกโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ไม่เพียงแต่ภูเขาไฟฟูจิ ที่กำลังเผชิญการกลับมาของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่มาพร้อมกับปัญหาการจัดการขยะ และความแออัดของนักท่องเที่ยว แต่หมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะ (Shirakawago) หนึ่งในสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกก็อยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน

ด้วยสถาปัตยกรรมบ้านหลังคาทรงมือพนมที่เรียกว่า "กัชโชสุคุริ" ที่โอบล้อมด้วยขุนเขาของจังหวัดกิฟุ แห่งภูมิภาคชูบุ ซึ่งมีมาแต่โบราณ ทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกปี 2538 แต่หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงดำรงการใช้ชีวิตที่มีมาแต่เดิมในอดีต 200-300 ปีจนถึงปัจจุบัน เพื่อต่อสู้กับความหนาวเหน็บ และหิมะในฤดูหนาว

ป้ายให้นำขยะกลับบ้าน ที่ถูกนำมาติดไว้ในบ้านย่านท่องเที่ยวของชิราคาวาโกะ ญี่ปุ่น

ป้ายให้นำขยะกลับบ้าน ที่ถูกนำมาติดไว้ในบ้านย่านท่องเที่ยวของชิราคาวาโกะ ญี่ปุ่น

ป้ายให้นำขยะกลับบ้าน ที่ถูกนำมาติดไว้ในบ้านย่านท่องเที่ยวของชิราคาวาโกะ ญี่ปุ่น

โปรดนำขยะกลับบ้าน

ゴミ禁止 ゴミは必ず持ち帰ってください。No Trash Allowed Please Take your garbage home

หรือที่แปลเป็นไทยว่า ห้ามทิ้งขยะ กรุณานำขยะของคุณกลับบ้าน เป็นข้อความที่เราพบในบ้านหลายหลังในหมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะ เนื่องจากแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมกว่า 1,000 คน

แม้จะยังไม่เกิดปัญหาขยะ ร้านขายอาหาร ปิ้งย่าง ขายของที่ระลึก รวมทั้งผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น นม ขนมจะใช้วิธีการเก็บขยะไว้ในถังคัดแยก และบางร้านจะมีจุดรวมเล็ก เช่น วางขวดนม แต่ต้องเปิดแยกฝาออกจากขวด

ตะเกียบ-ไม้เสียบเนื้อ ต้องใส่ในถังเล็กๆ จาน ชามกระดาษที่ใส่อาหาร ซึ่งมีเพียงกระบะเล็กๆ โดยจะมีป้ายติดไว้ในจุดทิ้ง

ตะเกียบ-ไม้เสียบเนื้อ ต้องใส่ในถังเล็กๆ จาน ชามกระดาษที่ใส่อาหาร ซึ่งมีเพียงกระบะเล็กๆ โดยจะมีป้ายติดไว้ในจุดทิ้ง

ตะเกียบ-ไม้เสียบเนื้อ ต้องใส่ในถังเล็กๆ จาน ชามกระดาษที่ใส่อาหาร ซึ่งมีเพียงกระบะเล็กๆ โดยจะมีป้ายติดไว้ในจุดทิ้ง

ตะเกียบ-ไม้เสียบเนื้อ ต้องใส่ในถังเล็กๆ จาน ชามกระดาษที่ใส่อาหาร ซึ่งมีเพียงกระบะเล็กๆ โดยจะมีป้ายติดไว้ในจุดทิ้ง ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้ว่ามาเที่ยวบ้านเมืองญี่ปุ่น จะไม่เจอถังขยะขนาดใหญ่วางในแหล่งสาธารณะ บางส่วนก็เลือกที่จะเก็บขยะออกไปทิ้งในที่พักและโรงแรม

นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสคนนี้ เดินทางมาหมู่บ้านชิราคาวาโกะ ยอมรับว่าญี่ปุ่นเป็นเมืองที่สะอาดมาก แทบไม่เจอถังขยะในทุกที่ แต่กลับรู้สึกว่าไม่มีขยะทิ้งเกลื่อนกลาดให้เห็น

นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ที่มาเยือนชิราคาวาโกะ บอกว่าประทับใจหมู่บ้านปลอดขยะแห่งนี้

นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ที่มาเยือนชิราคาวาโกะ บอกว่าประทับใจหมู่บ้านปลอดขยะแห่งนี้

นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ที่มาเยือนชิราคาวาโกะ บอกว่าประทับใจหมู่บ้านปลอดขยะแห่งนี้

ถือว่าประทับใจ และแปลกใจมาก ถ้าเทียบกับเมืองท่องเที่ยวหลายแห่ง รวมทั้งฝรั่งเศส มันสะอาดมากจนทึ่ง

สำหรับชิราคาวาโกะ ไม่มีโรงเผาขยะ และต้องนำขยะไปที่เมืองทาคายามะที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 35 กิโลเมตร ซึ่งแม้ว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ความร่วมมือ แต่ก็ยังคงพบขยะที่ถูกทิ้ง หรือพบเห็นได้จากความไม่ตั้งใจ เช่น ก้นบุหรี่ หน้ากากอนามัย หรือแม้แต่ถุงมือที่หล่นหาย เป็นต้น

ชิราคาวาโกะ หมู่บ้านปลอดขยะและควันบุหรี่

ชิราคาวาโกะ หมู่บ้านปลอดขยะและควันบุหรี่

ชิราคาวาโกะ หมู่บ้านปลอดขยะและควันบุหรี่

ไกด์ไทยยอมรับมึนแยกขยะแบบไทย

แต่หากถามในมุมมองของคนไทยในญี่ปุ่น "อุ้ม" ไกด์คนไทย มองเรื่องการจัดการขยะของญี่ปุ่นค่อนข้างดี และเข้มงวดมาก เพราะกำหนดให้แต่ละบ้านคัดแยกขยะจากต้นทาง และกำหนดวันเก็บขยะเป็นรายวัน บางจุดมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด ทำให้ญี่ปุ่นสามารถแยกขยะเข้าสู่โรงเผาขยะ และนำไปรีไซเคิลได้ดี แม้จะไม่มีค่าปรับแต่จะมีการทำใบเตือนไปถึงบ้าน

จะมีถุงมาให้ เพื่อคัดแยกใส่ขยะให้ เช่น เก็บขวด กระดาษ ต้องเอาขยะมาวางตามวันที่กำหนด ถ้าผิดประเภทตามวันที่กำหนดรถก็จะไม่เก็บ และจะมีกระดาษมาแปะไว้ แต่ถ้าจะทำบ่อยๆ จะดูวงจรปิดและเตือนถึงบ้าน
ถุงมือของนักท่องเที่ยวที่หล่นในหมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะ กลายเป็นขยะอย่างไม่ตั้งใจ

ถุงมือของนักท่องเที่ยวที่หล่นในหมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะ กลายเป็นขยะอย่างไม่ตั้งใจ

ถุงมือของนักท่องเที่ยวที่หล่นในหมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะ กลายเป็นขยะอย่างไม่ตั้งใจ

ส่วนตัวยอมรับว่า ถ้าเทียบกับประเทศไทย มองเรื่องความต่างทางวัฒนธรรมและความมีระเบียบ และรู้สึกเครียด เพราะขยะทุกชนิดถูกทิ้งรวมในถังเดียวกันจนไม่กล้าทิ้ง เพราะเวลาอยู่ที่ญี่ปุ่นจะต้องแยกขยะเผาได้ เผาไม่ได้ และขวดพลาสติก กระดาษ และจะแยกกองไว้ แต่สุดท้ายเวลามีคนมาเก็บก็ยังเก็บไปรวมกัน และเสียดายที่ไม่นำขยะไปรีไซเคิลได้เท่าไหร่

การแยกขยะเศษอาหารในโรมแรม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องนำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้

การแยกขยะเศษอาหารในโรมแรม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องนำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้

การแยกขยะเศษอาหารในโรมแรม ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องนำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้

วัน-ขยะ-คัดแยกการจัดเก็บ 

จากการสำรวจพบว่าถังขยะส่วนใหญ่ จะถูกวางในจุดพักรถที่ให้บริการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และพักเข้าห้องน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถนำขวดพลาสติก ขวดแก้ว ถุงหูหิ้วพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม โดยจะมีป้ายให้แยกชัดเจน ที่สำคัญจะมีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นขยะที่รีไซเคิลได้

สำหรับการคัดแยกขยะทั่วไปในเมืองโอซาก้า จะถูกเก็บในวันต่างๆ ของสัปดาห์ขึ้นอยู่กับพื้นที่ และชนิดของสิ่งของที่เป็นขยะและนำไปรีไซเคิล

  • จันทร์-พุธ-ศุกร์  ขยะเผาไหม้ได้ อาหารสด กระดาษ โดยจะต้องแยกขยะใส่ในถุงแล้วนำมาทิ้ง
  • อังคาร จะทิ้งขยะที่ชิ้นใหญ่ เช่น จักรยาน ที่มีขนาดไม่เกิน 1.5 เมตร น้ำหนักไม่เกิน 10 กก. รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนขยะพวกแบตเตอรี่ ถ่านให้แยกใส่ถุงและเขียนกำกับที่หน้าถุง
จุดทิ้งขยะในเมืองโอซาก้า ซึ่งแต่ละวันจุดทิ้งขยะตามวัน และแต่ละประเภท มีกล้องวจรปิด

จุดทิ้งขยะในเมืองโอซาก้า ซึ่งแต่ละวันจุดทิ้งขยะตามวัน และแต่ละประเภท มีกล้องวจรปิด

จุดทิ้งขยะในเมืองโอซาก้า ซึ่งแต่ละวันจุดทิ้งขยะตามวัน และแต่ละประเภท มีกล้องวจรปิด

  • วันพุธ จะเก็บขยะที่เป็นภาชนะบรรจุ เช่น กล่องนม กล่องกระดาษนม ก่อนทิ้งต้องล้างทำความสะอาด และตัดเป็นแผ่นแบนๆ และมัดรวมกันใส่ถุง ส่วนขวดน้ำพลาสติกต้องล้างและนำฝาออก นำเฉพาะขวดใส่ถุง หนังสือพิมพ์ ต้องรวบรวมและมัดเชือกแล้วทิ้ง
  • ศุกร์ เป็นวันทิ้งกระป๋องน้ำดื่มต่างๆ หรือกระป๋องอาหาร โดยต้องล้างทำความสะอาดข้างใน และไซต์ต้องไม่เกิน 3 ลิตร และทั้งหมดต้องใส่ถุงระบุว่าเป็นกระป๋องน้ำ

ส่วนฟูก ที่นอน ทีวี และเครื่องซักผ้า แอร์ ตู้เย็นให้นำไปส่งที่โรงงานคัดแยกโดยตรง กล่าวสรุปก็คือ ต้องคัดแยกแล้วก็ทำตามระเบียบของเมือง ไม่เช่นั้นเขาก็ไม่เก็บขยะให้

นักท่องเที่ยวนำขยะที่รีไซเคิลได้มาแยกในจุดพักรถที่มักจะมีถังขยะไว้ให้

นักท่องเที่ยวนำขยะที่รีไซเคิลได้มาแยกในจุดพักรถที่มักจะมีถังขยะไว้ให้

นักท่องเที่ยวนำขยะที่รีไซเคิลได้มาแยกในจุดพักรถที่มักจะมีถังขยะไว้ให้

นักท่องเที่ยวทะลักญี่ปุ่น 6 เท่าตัว

ข้อมูลจากทางการญี่ปุ่นเมื่อ 17 ม.ค.2567 พบมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นปี 2566 เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 25.07 ล้านคน ปัจจัยที่นักท่องเที่ยวทะลักญี่ปุ่น

นอกจากยกเลิกข้อจำกัดการเดินทางจากโรคโควิด-19 และเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 5.29 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยเฉียด 1.3 ล้านล้านบาท 

รถคัดแยกขยะแต่ละประเภทที่นำขยะมารีไซเคิลในโรงกำจัดขยะ “Maishima”

รถคัดแยกขยะแต่ละประเภทที่นำขยะมารีไซเคิลในโรงกำจัดขยะ “Maishima”

รถคัดแยกขยะแต่ละประเภทที่นำขยะมารีไซเคิลในโรงกำจัดขยะ “Maishima”

กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นยังไม่หยุดนิ่งในการเอาชนะกับปัญหาขยะ ในฐานะประธานอาเซียน ญี่ปุ่นแสดงความเป็นผู้นำในเวทีการประชุม G20 เมื่อปี 2023 ด้วยการออก “วิสัยทัศน์โอซากามหาสมุทรสีคราม” (Osaka Blue Ocean Vision) โดยเห็นพ้องกันว่าจะพยายามลดมลภาวะเพิ่มเติมที่เกิดจากขยะพลาสติกในทะเลให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง