ม.เกษตร-จับมือ 10 ร.ร.มัธยม เดินหน้าแก้ “PM 2.5-ไข้เลือดออก” กระทบการเรียน

สังคม
13 มี.ค. 67
11:17
150
Logo Thai PBS
ม.เกษตร-จับมือ 10 ร.ร.มัธยม เดินหน้าแก้ “PM 2.5-ไข้เลือดออก” กระทบการเรียน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-เชฟรอน-ซีโอฮุน ลงนาม MOU ร่วมกับ 10 โรงเรียนมัธยม เดินหน้าโมเดล “สุขภาพหนึ่งเดียว” สร้างองค์ความรู้รับมือโรคระบาด พร้อมตั้งเป้าขยายหลักสูตรไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันนี้ (13 มี.ค.2567) ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม ผู้อำนวยการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโอฮุน) เปิดเผยภายหลังลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ 10 โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ภายใต้โครงการ Piloting the One Health Core Competency Course for High School Students ว่า

โครงการนี้ต้องการพัฒนาบุคลากรและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการยับยั้งโรคระบาด ภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ที่ต้องอาศัยความรู้และความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสภาวะสุขภาพของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน
ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม ผอ.เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโอฮุน)

ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม ผอ.เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโอฮุน)

ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม ผอ.เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโอฮุน)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ต่อยอดการเรียนรู้ภายใต้หลัก “สุขภาพหนึ่งเดียว” ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.พัฒนาครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำ ผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์และการฝึกปฏิบัติจริง 3.สร้าง Best Practice ที่เหมาะสม 4.ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ หน่วยงานระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการหาทางออกให้กับวิกฤตด้านสาธารณสุข ที่ประเทศกำลังเผชิญ

ปัจจุบันซีโอฮุนพัฒนาบุคลากรด้าน “สุขภาพหนึ่งเดียว” มาแล้วกว่า 12 ปี ใน 8 ประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ครอบคลุมทั้งในระดับนักเรียน นักศึกษา และอาจารย์ รวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุข ปศุสัตว์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม รวมแล้วกว่า 50,000 ราย

ด้าน รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า บทบาทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในโครงการนี้ คือ การออกแบบโมเดลการเรียนการสอน และแพลตฟอร์มด้านการฝึกอบรม ที่เข้าถึงง่าย สำหรับครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของคณะศึกษาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะวนศาสตร์ และคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เนื้อหาหลักสูตรจะเป็นการผสมผสานความรู้และทักษะด้าน Hard Skill และ Soft Skill เข้าด้วยกัน ซึ่งจะครอบคลุมความรู้ทางด้านสุขภาพหนึ่งเดียว สมรรถนะหลักทั้ง 7 โมดูล การบูรณาการด้านการดูแลสุขอนามัยเบื้องต้นที่ประยุกต์เข้ากับโรคประจำถิ่น โรคตามฤดูกาล รวมถึงวิธีรับมือโรคระบาดต่าง ๆ

สำหรับ 10 โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี, โรงเรียนสารวิทยา, โรงเรียนสงวนหญิง, โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์, โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร , โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา

ผลการสำรวจเบื้องต้นจาก 10 โรงเรียนแกนนำในภาคกลาง ที่เข้าร่วมโครงการพบว่า โรคจากระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 และโรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อการเรียนรู้และสุขภาพของนักเรียน

ด้าน นายภาณุ บุญวัฒโนภาส รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากโครงการสร้างเสริมองค์ความรู้สุขภาพหนึ่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เชฟรอนร่วมจัดทำมาตั้งแต่ปี 2564 เพื่อให้ความรู้แก่ครูระดับอนุบาลและประถมศึกษา

นายภาณุ บุญวัฒโนภาส รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

นายภาณุ บุญวัฒโนภาส รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

นายภาณุ บุญวัฒโนภาส รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

โดยโครงการ Piloting the One Health Core Competency Course for High School Students จะมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเติมช่องว่างด้าน Soft Skill เกี่ยวกับสุขภาวะให้เด็กและเยาวชนได้ครอบคลุมมากขึ้น เพราะเด็กกลุ่มนี้จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งด้านการรักษาและป้องกันไปเผยแพร่ต่อให้พ่อแม่ เพื่อน และคนใกล้ตัวรับรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ต่อไป

อ่านข่าว : "พะยูน" ตรัง ลดฮวบเหลือ 36 ตัว ส่อสูญพันธุ์ หลังหญ้าทะเลเสื่อมโทรม

สานฝันให้น้อง! พาเด็กพิการทางสายตาศึกษาธรรมชาติ "เขาใหญ่"

ครูอึ้ง! เจอพอตบุหรี่ไฟฟ้า กระเป๋า ป.1 เด็กตอบ "พี่ให้มา"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง