ทรายกำจัด "ลูกน้ำยุงลาย" คุมกำเนิดเพชฌฆาตจิ๋ว

สังคม
14 มี.ค. 67
09:00
252
Logo Thai PBS
ทรายกำจัด "ลูกน้ำยุงลาย" คุมกำเนิดเพชฌฆาตจิ๋ว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้จักทรายกำจัด "ลูกน้ำ" อาวุธสำคัญในการตัดตอนวงจรชีวิต "เพชฌฆาตจิ๋ว" ก่อนกลายเป็น "ยุงลาย"

ทั่วโลกมี "ยุง" 3,582 ชนิด อยู่ในประเทศไทย 23 สกุล ทั้งหมด 436 ชนิด โดยมี "ยุง" ที่เป็นพาหะทั้ง "ยุงลายบ้านและยุงลายสวน" พาหะนำโรค ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า, "ยุงก้นปล่อง" พาหะนำโรค ไข้มาลาเรีย, "ยุงเสือ" พาหะนำ "โรคเท้าช้าง" และ "ยุงรำคาญ" พาหะนำ โรคไข้สมองอักเสบ

ไทยพีบีเอสออนไลน์ คุยกับ ดร.ปิติ มงคลางกูร นักกีฏวิทยา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ถึง ประสิทธิภาพของการใช้ "ทรายกำจัดน้ำยุง" อาวุธสำคัญในการตัดตอนวงจรชีวิต "เพชฌฆาตจิ๋ว" ตั้งแต่ยังเป็น "ลูกน้ำ" ก่อนกลายเป็น "ยุงลาย" ตัวเต็มวัย ที่คอยคร่าชีวิตมนุษย์ไม่น้อยในแต่ละปี

อ่าน : รียูเนียน "ทำหมันยุงลาย" ยิงรังสีคุมจุดเพาะพันธุ์ "ไข้เลือดออก"

อ่าน : งบคุมไข้เลือดออก “ตัดวงจรยุงลาย” ฤาโครงการถมทรายลงทะเล

ยุงลาย

ยุงลาย

ยุงลาย

ความอันตรายของ "ยุง" นำไปสู่การหาหนทางในการจำกัดและควบคุม ตั้งแต่การฉีดยาฆ่าแมลง แต่กลับพบว่าช่วงหลัง "ยุง" เริ่มมีวิวัฒนาการ ความต้านทานจน "ดื้อยาฆ่าแมลง" แล้วด้วย และยังมีความพยายามที่จะใช้วิธีที่สลับซับซ้อนกว่านั้นคือ "ทำหมันยุง" เพื่อที่จะค่อย ๆ ลดปริมาณยุงในธรรมชาติ

แต่วิธีการจำกัดการแพร่ระบาดของยุงที่ใกล้ตัว นั้นคือ การขวางวงจรชีวิตของยุงตั้งแต่ยังเป็น "ตัวอ่อน" โดยการใช้ "ทรายกำจัดลูกน้ำ" หรือรู้จักและเรียกกันจนติดปากว่า "ทรายอะเบท" เรารู้จักกันในชื่อนี้นั้นเพราะกระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาใช้กำจัดลูกน้ำของยุงลายตามบ้านเรือน  

อ่าน : เปิด 3 กลไก แปลงร่างจาก ”ยุง” เป็น ”ซูเปอร์ยุง”

ดร.ปิติ มงคลางกูร

ดร.ปิติ มงคลางกูร

ดร.ปิติ มงคลางกูร

"ทีมีฟอส" ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ดร.ปิติ อธิบายว่า "ทรายกำจัดลูกน้ำ" คือ ทรายเคลือบสาร "ทีมีฟอส" ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟส เหมาะใช้ควบคุม "ลูกน้ำของยุง" โดยสารเคมีจะถูกเคลือบไว้บนเม็ดทรายมีฤทธิ์นาน 3-6 เดือน แล้วแต่ละยี่ห้อ ต่อการใช้ 1 ครั้ง ทรายที่ใช้เป็นทราย "ซีโอไลท์" หรือ ทรายแมว ที่เรารู้จักซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่นำมาบดเป็นเม็ดเล็ก ๆ เคลือบด้วย "สารทีมีฟอส"

การใช้ทรายกำจัดลูกน้ำหนึ่งในวิธีป้องกันไม่ให้ยุงที่เป็นพาหะนำโรคได้ แต่ต้องใช้ในอัตราส่วนที่ถูกต้อง จึงจะได้ผลและต้องใช้งานตามวิธีใช้ที่ระบุในฉลากด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ภาพ : กรมควบคุมโรค

ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ภาพ : กรมควบคุมโรค

ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ภาพ : กรมควบคุมโรค

การใช้งาน "ทรายกำจัดลูกน้ำยุง" นั้นโดยทั่วไปนิยมใช้ทรายทีมีฟอส 1% ซึ่งปัจจุบัน 1 ซอง ปริมาณจะอยู่ที่ 30 กรัม เวลาใช้จะต้องนำไปใส่ในน้ำ อัตราส่วนการใช้ คือ ทรายทีมีฟอส 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ปริมาณ 2.5 กรัม หรือ ครึ่งช้อนชา ใช้กับน้ำปริมาณ 25 ลิตร แต่หากในผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นของสารทีมีฟอส มากกว่า 1% จะต้องใช้ตามฉลากของผลิตภัณฑ์ 

ปริมาณทรายกำจัดลูกน้ำ 1 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร กรณีที่แต่ละซองทรายกำจัดลูกน้ำ ไม่ได้แถมช้อนตวงวัดปริมาณมา (ช้อนตักทราย 1 กรัม) ให้ใช้ช้อนชาสำหรับกินยาแทน และไม่ควรใช้ช้อนชาตามบ้านเพราะไม่มีสเกล และมีหลายขนาด

อ่าน : นักกีฏวิทยา ชี้ ปัจจัยโลกร้อน "ยุงเพิ่มจำนวน-โตไว-ผสมพันธุ์เร็วขึ้น"

ปัญหาของการใช้ทรายอะเบทไม่ถูกความเข้มข้น คล้าย ๆ กับการพ่นควัน พ่นยุง คือหากสารไม่พอก็จะฆ่าไม่ได้ ขณะที่การใช้ทรายกำจัดยุงลายในปริมาณที่ไม่เพียงพออาจเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้ำมีความทนทานพัฒนาเป็นดารดื้อได้ แต่ปัจจุบันยังไม่พบว่าลูกน้ำมีการดื้อ

ประสิทธิภาพของสารทีมีฟอส หากลูกน้ำโดนไปก็จะตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งกลไกลการออกฤทธิ์ คือ สารจะเข้าไปในตัวลูกน้ำจากการกินอาหาร ไปยับยั้งเอนไซม์ของสิ่งมีชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม ดร.ปิติ ระบุว่า สารนี้ไม่อันตรายกับคน หากได้รับในปริมาณน้อย ฉะนั้นไม่ต้องกลัวเรื่องความปลอดภัย  

ลูกน้ำยุงลาย

ลูกน้ำยุงลาย

ลูกน้ำยุงลาย

"ตัวอ่อน-ดักแด้"ฆ่าไม่ตายต้องฉีดพ่น

"วงจรชีวิต" ของ "ยุง" โดย "ยุง" แบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 ระยะ คือ 1. ระยะไข่ 2.ระยะลูกน้ำ 3.ระยะตัวโม่ง และ 4.ระยะตัวเต็มวัย ซึ่งระหว่างการเจริญเติบโตในแต่ละระยะจะต้องมีการลอกคราบ ขณะที่ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกัน และยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำหรือบริเวณชื้น เช่น ขอบภาชนะเหนือระดับน้ำ

ดร.ปิติ กล่าวว่า ระยะไข่ ใช้เวลา 2-3 วัน ก่อนฟักตัวออกเป็นลูกน้ำ ซึ่งจะอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งฉะนั้นการทิ้งหรือกำจัดน้ำนิ่งในและรอบ ๆ บ้าน จึงเป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมลูกน้ำ ส่วนที่ไม่สามารถทิ้งหรือระบายน้ำได้สามารถใช้ "ทรายกำจัดลูกน้ำ" เพื่อฆ่าลูกน้ำได้ 

ในระยะลูกน้ำ เป็น ดักแด้ ทรายกำจัดลูกน้ำก็ฆ่าไม่ตาย ฆ่าตัวดักแด้ของลูกน้ำไม่ได้ นั้นเพราะมีเปลือกหนา และเนื้อเยื้อต่าง ๆ จะหดสั้นลง "เหมือนมีเกาะ" หากไม่กำจัดในช่วงเวลานี้ ดักแด้ก็จะกลายมาเป็นยุงตัวเต็มวัย 
ยุงลาย

ยุงลาย

ยุงลาย

ขณะที่ทรายที่เคลือบทีมีฟอสที่มีคุณภาพจะสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานถึง 3 เดือน ตามเกณฑ์ของ องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ทรายเคลือบทีมีฟอสต้องปลดปล่อยสารทีมีฟอส แบบค่อย ๆ ปล่อยอกมา

ในประเทศไทยมีทรายกำจัดลูกน้ำของยุงในหลายยี่ห้อ ซึ่งทรายกำจัดลูกน้ำ จัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ทางสาธารณสุข ผู้ประกอบการต้องขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์และขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อนทำการผลิต ขึ้นทะเบียนที่ อย. และไปตรวจสอบคุณภาพที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

อ่าน : เปิด 3 กลไก แปลงร่างจาก ”ยุง” เป็น ”ซูเปอร์ยุง”

ยุงลาย

ยุงลาย

ยุงลาย

ขณะที่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมยุงก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การใช้สเปรย์ฆ่ายุงอย่างไม่ถูกต้อง อาจเป็นอันตรายต่อแมลงอื่น ๆ ด้วย ขณะที่หน่วยงานภาครัฐก็ยังอาศัยการทำงานของ อสม.มากเกินไป 

ดร.ปิติ กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐที่จะนำทรายกำจัดลูกน้ำยุงไปแจกจ่ายให้กับประชาชนจะต้องมีการให้ความรู้เรื่องการใช้ที่ถูกต้อง แต่ปัจจุบันยังไม่ได้เป็นอย่างนั้น การให้ความรู้ถ่ายทอดวิธีการใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม จะเป็นการช่วยให้ปัญหาถูกจัดการอย่างเหมาะสม 

การควบคุมตัวอ่อนและดักแด้ก่อนที่จะโตเต็มวัย ยังสามารถลดความจำเป็นในการใช้ยาฆ่าแมลงในวงกว้าง เพื่อฆ่ายุงตัวเต็มวัยได้

แนะประชาชนกำจัดน้ำนิ่งลดลูกน้ำยุงลาย

ยุงลาย

ยุงลาย

ยุงลาย

"ตัวอ่อน" ของยุงต้องการน้ำเพื่อความอยู่รอด ดร.ปิติ แนะนำ ประชาชนทั่วไปสามารถกำจัดน้ำนิ่งเพื่อลดลูกน้ำยุงก่อนที่จะกลายเป็นยุงบินตัวเต็มวัย เช่น ยาง ถัง จานรองกระถางดอกไม้ และถังขยะ ควรเททิ้ง พลิกกลับ คลุม หรือโยนทิ้งเป็นประจำ ยุงจะวางไข่ทุกที่ที่มีน้ำนิ่ง รวมถึงน้ำฝนที่ก้นถังขยะ และรางน้ำที่อุดตันด้วยเศษขยะ

ทรายกำจัดลูกน้ำของยุง เหมาะใช้ควบคุมลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง ๆ เนื่องจากน้ำไม่ไหลผ่านถ่ายเทไปสู่แหล่งอื่น ไม่เหมาะกับการกำจัดลูกน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำนิ่งหรือแน้ไหล เนื่องจากทรายจะจมลงในตะกอน รวมไปถึงหากเจอน้ำไหลจะทำให้สารเคมีเจือจางอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงได้ และจะเป็นการสิ้นเปลือง 

ขณะที่น้ำที่จะใช้กินใช้ดื่มหรือใช้ทำกับข้าว อาจหาวิธีอื่นในการป้องกันโดยไม่ต้องใช้ ทรายกำจัดยุง เช่น อาจจะปิดด้วยผ้าขาวบาง ก่อนครอบด้วยฝาโอ่งอีกชั้น

สุดท้าย อย่างลืมตรวจดูแหล่งน้ำขังรอบ ๆ บ้าน อย่างสม่ำเสมอ คว่ำภาชนะที่มีน้ำขังให้หมด ปิดภาชนะที่ใช้กักเก็บน้ำให้มิดชิด ที่สำคัญ คือต้องป้องกันตนเองไม่ให้ "ยุงกัด"

อ่านข่าวอื่น ๆ

ค้นพบ "เปราะนพรัตน์" พืชเฉพาะถิ่นพันธุ์ใหม่ของโลก

หนี้ครัวเรือนพุ่ง ส่งออกชะลอตัว สอท.จี้รัฐตรึงราคาดีเซล-ก๊าซหุงต้ม

พณ.โปรยยาหอมสหรัฐฯ ต่ออายุ GSP ปลดไทยพ้นบัญชี WL

ข่าวที่เกี่ยวข้อง