ปวดท้องบ่อย อย่านิ่งนอนใจ สัญญาณเตือน "มะเร็งกระเพาะอาหาร"

ไลฟ์สไตล์
15 มี.ค. 67
15:25
422
Logo Thai PBS
ปวดท้องบ่อย อย่านิ่งนอนใจ สัญญาณเตือน "มะเร็งกระเพาะอาหาร"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"มะเร็งกระเพาะอาหาร" ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 จากการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก ในไทยเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับที่ 6 ในผู้ชาย และอันดับที่ 9 ในผู้หญิง แม้จะพบได้ไม่บ่อยในคนไทย แต่มักพบในระยะท้ายของโรค และมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer หรือ Gastric cancer) เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้น อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และอาจมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุช่องท้อง และอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น ปอด ตับ กระดูก จากสถิติ

ทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารประมาณ 1,000,000 คน ส่วนประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ประมาณปีละ 3,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตปีละ 2,000 คน มะเร็งกระเพาะอาหารมักพบเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การติดเชื้อไวรัส Helicobactor Pylori (H. Pylori)
    ภาพประกอบข่าว : เชื้อไวรัส Helicobactor Pylori (H. Pylori)

    ภาพประกอบข่าว : เชื้อไวรัส Helicobactor Pylori (H. Pylori)

    ภาพประกอบข่าว : เชื้อไวรัส Helicobactor Pylori (H. Pylori)

  • โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
  • อาหารหมักดอง รมควัน
  • ประวัติโรคมะเร็งในครอบครัว

สัญญาณเตือนมะเร็งกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรก มักไม่แสดงอาการหรือมีอาการคล้ายโรคแผลในกระเพาะอาหาร เช่น ท้องอืด คลื่นไส้ เบื่ออาหาร หากโรคลุกลามมากขึ้นอาจมีอาการปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด แต่บางรายอาจมาด้วยอาการของโรคมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก ทำให้มีอาการไอ เหนื่อย ปวดท้อง ปวดหลัง เป็นต้น

ภาพประกอบข่าว : อาหารปวดท้อง อาเจียน

ภาพประกอบข่าว : อาหารปวดท้อง อาเจียน

ภาพประกอบข่าว : อาหารปวดท้อง อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรค

ถ้ามีการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ต้องแยกก่อนว่าเป็นชนิดไหน ถ้าเป็นมะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร ต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ดูการแพร่กระจายว่ามีการแพร่กระจายไปที่ไหนหรือไม่ ถ้าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระเพาะอาหาร ต้องดูว่าเป็นระยะไหน โดยส่วนใหญ่มักจะได้รับยาเคมีบำบัดจะช่วยได้ ถ้าเป็นมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและมีการแพร่กระจาย การผ่าตัดจะทำให้หายขาดได้ ส่วนยาเคมีบำบัดในมะเร็งเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มักจะไม่ค่อยได้ผล

มะเร็งชนิดนี้จะตอบสนองได้ค่อนข้างดีกับยาพุ่งเป้า ซึ่งมักจะมีราคาแพง ถ้าให้แล้วมันจะยุบลง ค่อนข้างดี แต่ยาพุ่งเป้าเหล่านี้ จะใช้ได้ช่วงประมาณ 1-2 ปี หลังจากนั้นมะเร็งจะปรับตัวเพื่อต่อต้านกับยา เราอาจจะต้องเพิ่มปริมาณยาหรือเปลี่ยนชนิดของยาไปเรื่อยๆ

ภาพประกอบข่าว : ควรให้แพทย์วินิจฉัยโรคเบื้องต้น

ภาพประกอบข่าว : ควรให้แพทย์วินิจฉัยโรคเบื้องต้น

ภาพประกอบข่าว : ควรให้แพทย์วินิจฉัยโรคเบื้องต้น

การรักษา

  1. มะเร็งระยะเริ่มแรก (Early gastric cancer) หมายถึง มะเร็งที่อยู่เฉพาะชั้นเยื่อบุส่วนบนของกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปมักจะไม่มีอาการ แต่ตรวจพบจากการทำการตรวจส่องกล้องสำหรับการตรวจสุขภาพ สามารถทำการรักษาด้วยการตัดผ่านกล้องส่องตรวจทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียวได้ เนื่องจากโอกาสที่มะเร็งจะกระจายไปต่อมน้ำเหลืองน้อย อัตราการอยู่รอดที่ 10 ปีมากกว่าร้อยละ 80
    ภาพประกอบข่าว : การส่องกล้องดูความผิดปกติในช่องท้อง

    ภาพประกอบข่าว : การส่องกล้องดูความผิดปกติในช่องท้อง

    ภาพประกอบข่าว : การส่องกล้องดูความผิดปกติในช่องท้อง



  2. มะเร็งระยะลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง (Locally advance gastric cancer) ก้อนมะเร็งจะมีขนาดใหญ่กว่าระยะเริ่มแรก และกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง ผู้ป่วยระยะนี้จะปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน รับประทานอาหารได้ลดลง บางรายอาเจียนเป็นเลือดได้ มะเร็งในระยะนี้ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการผ่าตัดกระเพาะ ร่วมกับการผ่าตัดเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองโดยรอบออก และให้การรักษาเสริมหลังผ่าตัดด้วยยาเคมีบัด เพื่อลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง 

  3. มะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastatic gastric cancer) เป็นระยะที่มีการกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ช่องท้อง ปอด หรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป การรักษาของระยะนี้คือ การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ไม่นิยมผ่าตัด การผ่าตัดจะทำในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งเท่านั้น ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี แต่ก็ยังมีผู้ป่วยบางรายที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด จนสามารถกลับมาทำการผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งออกได้
    ภาพประกอบข่าว : การผ่าตัด

    ภาพประกอบข่าว : การผ่าตัด

    ภาพประกอบข่าว : การผ่าตัด

สุขภาพดีเราเลือกได้

สาเหตุสำคัญการเกิดโรคมะเร็งมาจากพฤติกรรมเสี่ยงและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ การป้องกันโรคจึงถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาโรคมะเร็ง ที่ทุกคนควรให้ความสนใจเรียนรู้ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น

  • ปฏิบัติตนตามหลัก "5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง"
  • หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  • การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก

โดยมีข้อมูลว่าการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือปรับพฤติกรรมจะทำให้ลดโอกาสการเกิดโรคได้ถึงร้อยละ 30 

หลัก "5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง"

5 ทำ ได้แก่ 

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด
  3. ทานผักผลไม้
  4. ทานอาหารหลากหลาย
  5. ตรวจร่างกายเป็นประจำ
    ภาพประกอบข่าว : ออกกำลังกายต้านมะเร็ง

    ภาพประกอบข่าว : ออกกำลังกายต้านมะเร็ง

    ภาพประกอบข่าว : ออกกำลังกายต้านมะเร็ง

5 ไม่ ได้แก่

  1. ไม่สูบบุหรี่หรือสูดดม ควันบุหรี่
  2. ไม่มั่วเซ็กซ์
  3. ไม่ดื่มสุรา
  4. ไม่ตากแดดจ้า
  5. ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ
    ภาพประกอบข่าว : ไม่ควรสูบบุหรี่

    ภาพประกอบข่าว : ไม่ควรสูบบุหรี่

    ภาพประกอบข่าว : ไม่ควรสูบบุหรี่

เคล็ดลับป้องกันมะเร็ง

กินผักหลากสีทุกวัน ขยันหาผลไม้เป็นประจำ
ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร
เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ อย่าละลืมปรุงอาหารถูกวิธี
หลีกหนีอาหารไขมัน หมั่นลดบริโภคเนื้อแดง เกลือแกง อาหารหมักดองต้องน้อยลง 

ภาพประกอบข่าว : กินผักช่วยต้านมะเร็งได้

ภาพประกอบข่าว : กินผักช่วยต้านมะเร็งได้

ภาพประกอบข่าว : กินผักช่วยต้านมะเร็งได้

นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมเพียงพอ ช่วยคลายเครียดและลดการสะสมไขมันในร่างกายได้ ส่งผลให้ลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง 

เริ่มต้นที่ใจ ทำได้ทุกที่ ไม่มีพิธีรีตอง ลองชวนเพื่อนดู
เรียนรู้ด้วยการกระทำ จำวิธีที่สนุก ทุกๆ วันควรออกกำลังกาย 

ที่มา : สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี, ศูนย์มะเร็งตรงเป้า รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง