สำรวจพื้นที่และความคุ้มทุน สร้างสนามบินพะเยา

ภูมิภาค
20 มี.ค. 67
16:51
839
Logo Thai PBS
สำรวจพื้นที่และความคุ้มทุน สร้างสนามบินพะเยา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ช่วงที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ในจังหวัดพะเยา ก็มีประชาชนในส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ที่เห็นด้วยเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจของดีขึ้น แต่ในส่วนไม่เห็นด้วยมองว่าพะเยา เป็นเมืองขนาดเล็ก อาจไม่คุ้มกับการใช้เงินลงทุนนับพันล้านบาท

พื้นที่กว่า 2,800 ไร่ ในตำบลศรีดอนชุม และตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา แห่งนี้ ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สำหรับโครงการก่อสร้างสนามบินพะเยา ตามที่กรมท่าอากาศยาน ร่วมกับเอกชน ได้ศึกษาเอาไว้

นายธงศักดิ์ มูลเมือง ชาวจังหวัดพะเยา บอกว่า จากการรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านส่วนใหญ่และภาคธุรกิจในพื้นที่ เชื่อว่าจะส่งเสริมทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น สร้างรายได้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะจากการท่องเที่ยว อีกทั้งการเดินทางสะดวกมากขึ้นเพราะปัจจุบันผู้ที่เดินทางเครื่องบินจะต้องไปขึ้นเครื่องที่จังหวัดลำปาง หรือจังหวัดเชียงใหม่

ธงศักดิ์ มูลเมือง ชาวจังหวัดพะเยา

ธงศักดิ์ มูลเมือง ชาวจังหวัดพะเยา

ธงศักดิ์ มูลเมือง ชาวจังหวัดพะเยา

เช่นเดียวกับนายประพันธ์ เทียนวิหาร ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.พะเยา ส่วนภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดพะเยา ระบุว่า หากสนามบินเกิดขึ้นจริง เชื่อจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชานในพื้นที่ดีขึ้น เนื่องจากจังหวัดรอบข้างมีสนามบินแทบทั้งหมดแล้ว แต่จังหวัดพะเยากลับไม่มีสนามบิน แม้ช่วงแรกอาจจะยังไม่คุ้มทุน แต่เชื่อว่าในอนาคตจะค่อย ๆ ดีขึ้น โดยอยากให้รัฐบาลมองจุดแข็งของจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวและเป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และน่าน ได้โดยสะดวก

ประพันธ์ เทียนวิหาร ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.พะเยา

ประพันธ์ เทียนวิหาร ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.พะเยา

ประพันธ์ เทียนวิหาร ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.พะเยา

ขณะที่ประชาชนชาวจังหวัดพะเยาบางส่วน อย่างนางสาวชรีพร ยอดฟ้า มองว่า การใช้งบประมาณถึง 2,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างสนามบินพะเยา อาจไม่คุ้มกับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เพราะพะเยาเป็นเมืองขนาดเล็กประชากรน้อยและเป็นแค่เมืองทางผ่าน

ชรีพร ยอดฟ้า ชาวจังหวัดพะเยา

ชรีพร ยอดฟ้า ชาวจังหวัดพะเยา

ชรีพร ยอดฟ้า ชาวจังหวัดพะเยา

แม้การประชุม ครม. สัญจรที่จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2567 ไม่นำเรื่องโครงการก่อสร้างสนามบินพะเยา มาพิจารณา ทำให้ภาคธุรกิจในจังหวัดพะเยา ผิดหวัง อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา บอกว่าจะมีการผลักดันต่อไปให้เกิดขึ้น ผ่านทาง ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึง สส.ในพื้นที่

ปี 2564 กรมท่าอากาศยาน อนุมติงบประมาณเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานในพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยว่าจ้างบริษัทเอกชน วงเงิน 5,790,000 บาท ทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยานพะเยา หรือ "สนามบินพะเยา" ซึ่งผ่านขั้นตอนการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 2 แล้วเมื่อวันที่ 22 เม.ย.2565 ที่ผ่านมา หากกระทรวงคมนาคม และทุกหน่วยงานเห็นชอบ จึงจะจัดทำรายงานกระประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เออีไอ) และเสนอแบบก่อสร้างต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะอนุญาตในการสร้างสนามบิน

สำหรับพื้นที่ก่อสร้างสนามบินพะเยา สาเหตุที่เลือกบริเวณ ต.ดอนศรีชุม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เพราะช่วยประหยัดค่าเวนคืนที่ดิน รวมถึงงบประมาณในการก่อสร้างและห่างจากตัว อ.เมืองพะเยา แค่ประมาณ 20 กิโลเมตร รวมใช้พื้นที่ในการก่อสร้างรวม 2,812 ไร่ แบ่งเป็น Landside 1,862 ไร่ และ Airside 1,350 ไร่ โดยมีทางวิ่ง หรือรันเวย์ กว้าง 45 เมตร ยาว 2,500 เมตร มีหลุมจอด 2 หลุม อนาคตสามารถขยายได้ถึง 3 หลุม พร้อมรองรับการติดสะพานเทียบเครื่องบินการคาดหวังผล รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 80,000 คน/ปี โดยมีมูลค่าโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท หากโครงการผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาลและอนุมัติให้ก่อสร้าง จะสามารถดำเนินการก่อสร้างเสร็จภายใน 4 ปี

เกษม แซ่กือ ผู้สื่อข่าวอาวุโสไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง