ชงรัฐบาล ดันอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย ขึ้นแท่นศูนย์กลางอาหารโลก

เศรษฐกิจ
22 มี.ค. 67
16:54
749
Logo Thai PBS
ชงรัฐบาล ดันอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย ขึ้นแท่นศูนย์กลางอาหารโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หอการค้าฯ เดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทย ขึ้นแท่นศูนย์กลางอาหารของโลก ด้านก.เกษตรฯ ชี้ปี 67 สินค้าปศุสัตว์โต 2.7% เหตุความต้องการในและต่างประเทศ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

วันนี้ (22 มี.ค.2567) นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปี 2566 ไทยมีการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ปริมาณจำนวน 2.07 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.37 แสนล้านบาท โดย 3 สินค้าอันดับแรก คือ สินค้ากลุ่มเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ สินค้ากลุ่มน้ำผึ้ง ไข่ นม อื่นๆ และ สินค้ากลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง

ส่วน ปี 2567 คาดว่า สถานการณ์การผลิตสินค้าปศุสัตว์จะขยายตัวถึงร้อยละ 1.7 - 2.7 จากปัจจัยสนับสนุนของเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นในภาคบริการและภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ทั้งในและต่างประเทศยังมีความต้องการต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าสุกร ไก่เนื้อ และโคเนื้อ 

โดยรัฐบาลตั้งใจที่จะช่วยเกษตรกรไทย ผลักดันอุตสาหกรรมปศุสัตว์ให้มีศักยภาพ มีมาตรฐาน และมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหาร (Agriculture and Food Hub) ของโลกต่อไป
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีการนำร่องส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ของเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ใน 8 จังหวัด คือ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโคเนื้อสำคัญของประเทศกว่า 3.23 ล้านตัว และมีเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกว่า 1 ล้านราย

โดยได้ยื่น Concept Paper การส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ให้กับรมช.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นแนวทางและรูปแบบสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและผู้ประกอบการไทยซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตนำไปสู่การยกระดับรายได้ของเกษตรกรอย่างยั่งยืน

สำหรับข้อเสนอสำคัญ เช่น ยกระดับมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ไทย โดยภาครัฐต้องกำหนดเป้าหมายให้ปศุสัตว์จังหวัดในการเพิ่มจำนวนฟาร์มโคเนื้อให้ได้มาตรฐาน GFM ไม่น้อยกว่า 60% รวมถึงพิจารณาส่งเสริมฟาร์มที่มีโอกาสยกระดับฟาร์มสู่มาตรฐาน GAP

การเพิ่มจำนวนโรงฆ่าสัตว์ โรงตัดแต่งเนื้อสัตว์ โรงคัดบรรจุที่มีมาตรฐาน ในจังหวัดที่เลี้ยงโคเนื้อจำนวนมาก เพื่ออำนวยความสะดวกการขนย้ายและลดต้นทุนเกษตรกรรวมไปถึงสร้างจังหวัดที่มีศักยภาพเป็น HUB โคเนื้อของประเทศ และส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชอาหารสัตว์ทดแทนพืชรายได้ต่ำ ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเป็นพืชอาหารสัตว์

หอการค้าฯ ยังได้มีการศึกษาการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ แพะนม ในจ.กระบี่และจ.ภูเก็ต ให้สามารถขยายผลเป็น Role Model ขยายผลสัตว์เศรษฐกิจในกลุ่มภาคใต้อันดามันในอนาคต

อ่านข่าว : ชาวนาเป๋าตุง ธ.ก.ส.โอนจ่ายไร่ละ 1,000 อีก 1.5 หมื่นครัวเรือน

ทองปลอมระบาดหนัก มิจฉาชีพใช้เทคนิคใหม่ยัดไส้โลหะ ยากตรวจสอบ

ลูกหนี้บ้านยิ้ม ! ธอส.ขานรับนโยบายคลัง ลดดอกเบี้ยช่วยประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง