ทนายความอาสา 1 ตำบล 1 ทนายความ นำร่อง 14 แห่ง เริ่ม พ.ค.นี้

สังคม
4 เม.ย. 67
06:47
468
Logo Thai PBS
ทนายความอาสา 1 ตำบล 1 ทนายความ นำร่อง 14 แห่ง เริ่ม พ.ค.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาทนายความจับมือสมาคม อบต. แห่งประเทศไทยเปิดตัว "โครงการทนายความอาสา ให้คำปรึกษาประชาชน 1 ตำบล 1 ทนายความ" นำร่อง 14 แห่ง อำนวยความยุติธรรมสู่ชุมชน เริ่มเดือน พ.ค.นี้

วันที่ 3 เม.ย.2567 เวลา 13.00 น. สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ใน “โครงการทนายความอาสา ให้คำปรึกษาประชาชน 1 ตำบล 1 ทนายความ”

เพื่อจัดส่งทนายความอาสาของสภาทนายความฯ ให้บริการปรึกษาแนะนำกฎหมายแก่ประชาชนที่มาติดต่อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีการเริ่มนำร่อง โครงการ 1 ตำบล 1 ทนายความ ในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 14 แห่ง เพื่อทดลองและประเมินผลการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนสู่ชุมชน

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการเริ่มนำร่อง โครงการ 1 ตำบล 1 ทนายความ ในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 14 แห่ง เพื่อทดลองและประเมินผลการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนสู่ชุมชน เราต้องการที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์เช่นการให้คำปรึกษาความช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะประชาชนรากหญ้าอยู่ในถิ่นทุรกันดาร

ซึ่งทางนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสภาทนายความได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดให้มีทนายความอาสาที่ให้คำปรึกษากฎหมาย 1 ตำบล 1 ทนายความ ซึ่งสภาทนายความได้เคยมีข้อตกลงหรือแนวคิดดังกล่าวมาแล้ว จึงได้นำมาสู่การเริ่มต้น โดยจะมีการนำร่อง 14 อบต. โดยเริ่มจาก จ.ลพบุรี และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

“ในระยะยาวเรา ตั้งใจจะให้มีทนายความทุก อบต.แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถทำได้เพราะยังติดขัดปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งเราก็ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าสู่ กมธ.ยุติธรรมของวุฒิสภา ซึ่งจะได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยในเรื่องนี้ว่าจะสามารถจ่ายงบประมาณในส่วนนี้ได้หรือไม่ คาดว่าไม่ช้าก็จะเรียบร้อย ดีแต่ในตอนนี้เรารอช้าไม่ได้เพราะมีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก เพราะผู้เสียหายจะได้มาปรึกษากับทนายความเบื้องต้นเพื่อไม่ให้ความเดือดร้อนเสียหายลุกลาม และเป็นการป้องกันการก่อเหตุจากความไม่รู้ และป้องกันประชาชนถูกหลอกจากมิจฉาชีพ”

สำหรับโครงการนำร่อง จะมีทนายอาสาไปนั่งให้คำปรึกษาเดือนละ 2 ครั้ง โดยมีค่าตอบแทนต่อครั้ง เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง 1,000 บาท และค่าพาหนะ 1,000 บาท โดยเป็นเงินส่วนตัวของนายก อบต.ต่างๆ ที่พร้อมโดยจะเริ่มครั้งแรกในเดือน  พ.ค. ที่ จ.ลพบุรี 10 อบต.ทดลองก่อน 1 ปี แต่ถ้าต่อไปมีการเเก้ระเบียบให้งบประมาณตอนจ่ายเงินได้เมื่อไหร่ก็จะเป็นโครงการระยะยาวต่อไป

รศ.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สภาทนายความได้จัดส่งทนายความไปให้ความช่วยเหลือ สมาคม อบต. แห่งประเทศไทย จนเคยทำ MOU เอ็มโอยู ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน จึงเริ่มทำโครงการดังกล่าว

ส่วนงบประมาณทางท้องถิ่นจะหาเอง แต่ถ้าเป็นไปได้จะประสานงานหน่วยงานของรัฐ เพื่อจะมาเป็นค่าดำเนินการของตัวแทนทนายความอาสา ซึ่งนับว่าเป็นงบประมาณที่น้อยมาก กับประโยชน์ เพราะถ้าเรามีทนายความไปประจำอยู่ที่ อบต.ต่อไปก็จะช่วยแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายให้ประชาชนได้

สำหรับขอบเขตการให้บริการของทนายอาสา จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1.ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางกฎหมายแก้ประชาชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2.หากประชาชนได้รับคดีความและต้องการความช่วยเหลือ หากเข้าเงื่อนไข ยากไร้ ยากจน ไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงๆ ทางสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ จะดำเนินการช่วยเหลือต่อโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ต้องผ่านการประเมินจากทางสภาก่อน โดยจะให้ทนายความอาสาเป็นผู้จัดส่งรายละเอียดเข้าทางสถาทนายความฯ

โดยทนายอาสาที่จะมาประจำแต่ละตำบล จะเป็นทนายในพื้นที่ที่ได้รับการอบรมตามเกณฑ์ของสภาทนายความฯ ซึ่งทนายอาสาในตอนนี้มีอยู่ 9,400 กว่าคน ทั่วประเทศ

อ่านข่าว : ยื่นภาษี 2566 วันสุดท้ายวันไหน หากไม่ทันต้องทำอย่างไร

อัปเดต 2567 ปรับขึ้น "เงินเดือนข้าราชการ" เริ่ม 1 พ.ค.

เตรียมร้อนสุดขีด 4-8 เม.ย.นี้ เช็กท็อป 5 จังหวัดแดงเดือด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง