แนะเส้นทาง - วางแผนก่อนเดินทาง จากกรุงเทพฯ สู่ทุกภูมิภาค ช่วงสงกรานต์ 2567

สังคม
10 เม.ย. 67
16:29
2,649
Logo Thai PBS
แนะเส้นทาง - วางแผนก่อนเดินทาง จากกรุงเทพฯ สู่ทุกภูมิภาค ช่วงสงกรานต์ 2567
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทางหลวงแนะนำเส้นทางเลือกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 เพื่อให้ผู้ใช้ทางได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง

เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2567 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11 -17 เม.ย. นี้ มีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางและหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด ทล. แนะนำเส้นทางเลือกบนทางหลวงสายหลักและสายรอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี ดังนี้

เส้นทางเลือกการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางเลือกการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางเลือกการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

กรุงเทพฯ – ภาคเหนือ

เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไปรังสิต (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.พระนครศรีอยุธยา – จ.อ่างทอง – จ.สิงห์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย) – อ.มโนรมย์ (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป จ.นนทบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง – สุพรรณบุรี) –จ.สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 สุพรรณบุรี – ชัยนาท) – จ.ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้า สู่จังหวัดนครสวรรค์

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป รังสิต – อ.วังน้อย – จ.สระบุรี – จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – อ.ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลก

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไปรังสิต – ต่างระดับคลองหลวง (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – ทางหลวงหมายเลข 347 – ทางหลวงหมายเลข 32 จากนั้นมุ่งหน้าเข้าสู่ภาคเหนือ

เส้นทางที่ 5 จากกรุงเทพฯไปวงแหวนตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9) – ต่างระดับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) – อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้า สู่ทางหลวงหมายเลข 32 จากนั้นมุ่งหน้าเข้าสู่ภาคเหนือ

เส้นทางการเดินทางภาคเหนือช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคเหนือช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคเหนือช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

กรุงเทพฯ – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – ต.ม่วงค่อม จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 21) – ต.ห้วยบง (ทางหลวงหมายเลข 2256) – อ.ด่านขุนทด – ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.สระบุรี – อ.ปากช่อง – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป จ.นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) – อ.บ้านนา (ทางหลวงหมายเลข 3051) – อ.แก่งคอย (ทางหลวงหมายเลข 3222) – อ.ปากช่อง (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา หรือ จากอ.บ้านนา ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 - อ.กบินทร์บุรี มุ่งหน้าสู่อ.อรัญประเทศ

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไป จ.ฉะเชิงเทรา (ทางหลวงหมายเลข 304) – อ.พนมสารคาม – อ.กบินทร์บุรี – อ.วังน้ำเขียว – อ.ปักธงชัย (ทางหลวงหมายเลข 304) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางที่ 5 จากกรุงเทพฯไป อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.สระบุรี – อ.ปากช่อง – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) – ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (ทางเบี่ยงที่กม.65 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางการเดินทางภาคอีสานช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคอีสานช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคอีสานช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

กรุงเทพฯ – ภาคตะวันออก

เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.ชลบุรี (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สาย กรุงเทพฯ – ชลบุรี – พัทยา – มาบตาพุด)

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.บางปะกง (ทางหลวงหมายเลข 34 ถนนเทพรัตน) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป อ.พนัสนิคม – จ.ชลบุรี (ทางหลวงหมายเลข 304)

เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไปทางหลวงหมายเลข 34 ถนนเทพรัตน – ทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา – ชลบุรี)จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท

เส้นทางการเดินทางภาคตะวันออกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคตะวันออกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคตะวันออกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

กรุงเทพฯ – ภาคใต้

เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สมุทรสาคร – จ.สมุทรสงคราม (ทางหลวงหมายเลข 35 ถนนพระราม 2) – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.สามพราน – อ.นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338) – จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป ถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี) – อ.นคร ชัยศรี –จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้า สู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เส้นทางการเดินทางภาคใต้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคใต้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคใต้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

กรุงเทพฯ – ภาคตะวันตก

เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.นครปฐม (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี (ทางหลวงหมายเลข 324 กาญจนบุรี - จระเข้สามพัน)

เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไปถนนตลิ่งชัน - อ.ลาดหลุมแก้ว (ทล.9 ถนนกาญจนาภิเษก) จากนั้นมุ่งหน้า สู่จังหวัดกาญจนบุรี (ทางหลวงหมายเลข 346 ต่างระดับรังสิต - พนมทวน)

เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป จ.นครปฐม (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) – มุ่งหน้าด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก (ทล.321 นครปฐม – สุพรรณบุรี ที่กม.45+350) เพื่อเข้าสู่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81

ทั้งนี้ กรมทางหลวงขอความร่วมมือผู้ใช้ทางขับขี่ด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด หากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมหรือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายระหว่างเดินทาง สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) สายด่วนมอเตอร์เวย์ 1586 กด 7 และตำรวจทางหลวง 1193

เส้นทางการเดินทางภาคตะวันตกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคตะวันตกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

เส้นทางการเดินทางภาคตะวันตกช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567

อย่าลืมเช็กรถยนต์ก่อนเดินทางไกล

1. แบตเตอรี่รถยนต์
ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรจะดูว่า ขั้วแบตและฉนวนสายไฟมีการเชื่อมต่อดีหรือไม่ หมั่นตรวจเช็กทำความสะอาดคราบขี้เกลือบริเวณขั้วแบตเตอรี่ และเช็กระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่กำหนดเสมอ

2. ยางรถยนต์ และช่วงล่างของรถ
เช็กความลึกร่องดอกยางให้ไม่น้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร และตรวจดูว่ายางรถมีรอยเจาะ ยางแตกลายงา ยางบวม ดอกยางหมดหรือไม่ หากเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็ควรเปลี่ยนยางใหม่ รวมทั้งตรวจเช็กดูช่วงล่างด้วย เช่น ลูกหมาก โช้ครถ เป็นต้น

3. น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก และระบบเบรก
ควรตรวจเช็กระดับน้ำมันเบรก และน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และอย่าลืมเช็กผ้าเบรกรวมถึงระบบเบรกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากพบความผิกปกติน้ำมันเบรก น้ำมันเครื่อง ลดลงต่ำกว่าระดับ Min หรือมีการลดลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดการรั่วไหลในระบบได้ ควรนำรถเข้าตรวจเช็กโดยช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งเพื่อความปลอดภัย

4. เช็กหม้อน้ำ ท่อยาง และระบบหล่อเย็น
ควรเช็กระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพัก และหม้อน้ำ รวมไปถึงการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ มอเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ หากพบความผิดปกติควรนำรถไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญ

10 จุดสำคัญของรถ ที่ควรเช็กก่อนออกเดินทางไกล

10 จุดสำคัญของรถ ที่ควรเช็กก่อนออกเดินทางไกล

10 จุดสำคัญของรถ ที่ควรเช็กก่อนออกเดินทางไกล

5. ระบบไฟส่องสว่าง
ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก ไฟฉุกเฉิน ควรใช้งานได้ตามปกติ ส่องสว่างได้ดี เพื่อความปลอดภัยในการขับรถเวลากลางคืน

6. ที่ปัดน้ำฝน
ในระหว่างการเดินทางอาจเจอฝนตกจากพายุฤดูร้อน อย่าลืมเช็กว่าที่ปัดน้ำฝนรีดน้ำได้ดี มีอาการเปื่อย ยุ่ย หรือเสื่อมสภาพหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวควรเปลี่ยนใหม่ทันที หรือควรเปลี่ยนที่ปัดน้ำฝนทุก ๆ 6-12 เดือน

7. น้ำมันเกียร์และน้ำมันคลัตช์
สิ่งแรกที่ผู้ขับขี่ต้องทำก็คือ การจอดรถบนทางราบและใส่เบรกมือ จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วเปลี่ยนเกียร์ ไล่ไปตั้งแต่ P จนถึง L เมื่อเปลี่ยนเกียร์ควรค้างไว้ที่ตำแหน่งนั้น ๆ สักครู่ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นเกียร์ถัดไป เมื่อครบทุกเกียร์แล้วจึงเลื่อนมาเป็นเกียร์ P หรือ N และดึงก้านวัดระดับเกียร์ออกมาทำความสะอาด จากนั้นใส่ก้านวัดกลับเข้าไปแล้วดึงออกมาใหม่ ให้สังเกตดูว่าระดับน้ำมันที่ติดออกมาอยู่ตรงตำแหน่งไหน หากยังอยู่ตรง H แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติปกติ หรืออยู่ระหว่างกลาง Min กับ Max แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ธรรมดาปกติ หากน้ำมันคลัตช์หายมากจนผิดปกติ แนะนำให้นำรถไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุและแก้ไขทันที

8. แผ่นกรองอากาศ
เปิดตู้แอร์แล้วนำตัวกรองอากาศออกมาตรวจดู ทำการดูดสิ่งสกปรกออก หรือจะเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศใหม่ในกรณีที่จำเป็น

9. ระบบแตรรถยนต์
คนส่วนใหญ่มักไม่คิดว่าจะต้องตรวจระบบแตรด้วย ในความเป็นจริงแล้วแตรรถมีความสำคัญอย่างมาก เพราะในขณะขับขี่เราอาจจำเป็นต้องใช้แตรเพื่อสื่อสารและส่งสัญญาณกับรถคันอื่น ดังนั้น อย่าลืมเช็กระบบแตรว่ายังเสียงดังและลมแตรยังดีอยู่หรือไม่ด้วย

10. แผงควบคุมและหน้าปัด
ควรตรวจสอบแผงควบคุมและหน้าปัดภายในรถว่าทำงานปกติหรือไม่ แสงไฟ ตัวเลขบนหน้าปัดและปุ่มควบคุมต่าง ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเปล่า เพื่อจะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ระยะไกล

อย่าลืมเช็กรถก่อนเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์

อย่าลืมเช็กรถก่อนเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์

อย่าลืมเช็กรถก่อนเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์

                                 "สงกรานต์นี้ ขอให้ทุกครอบครัวเดินทางด้วยความปลอดภัย ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ"

ข้อมูลจาก : กรมทางหลวง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง