วันแรงงานแห่งชาติ การต่อสู้จากคนทำงาน 18 ชม. เหลือ 8 ชม./วัน

ไลฟ์สไตล์
19 เม.ย. 67
08:00
1,011
Logo Thai PBS
วันแรงงานแห่งชาติ การต่อสู้จากคนทำงาน 18 ชม. เหลือ 8 ชม./วัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้ไหมในอดีต ชนชั้นแรงงานต้องทำงานมากถึง 18 ชม./วัน จนมีการประท้วงเรียกร้องสวัสดิการที่ดีของกลุ่มแรงงาน จนกระทั่งสามารถประกาศให้วันที่ 1 พ.ค. ของทุกปีคือ "วันแรงงานสากล" และใครจะคิด "ความสบายๆ" แบบไทยสไตล์ คือเสน่ห์ที่ต่างชาติชื่นชอบแม้กระทั่งในสนามรบ

ตามหลักสากล "แรงงาน" จะถูกกำหนดให้ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมงใน 5 วัน/สัปดาห์ หรือ ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์นั่นเอง ซึ่งวิธีคิดนี้มาจากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งที่ชื่อ "โรเบิร์ต โอเวน"

Work ไร้ Balance 

ในปี พ.ศ.2353 โอเวนเสนอให้แบ่งเวลา 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมงออกเป็น 3 ส่วน ส่วนละ 8 ชั่วโมง คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง เพื่อปรับปรุงสวัสดิภาพการทำงานของชนชั้นแรงงานให้ดีขึ้น เพราะเขามองเห็นคุณภาพชีวิตของชนชั้นแรงงานที่ตกต่ำลง จากการทำงานอย่างหนักช่วงยุคอุตสาหกรรมในยุโรป แรงงานจำนวนมากต้องทำงานอย่างบ้าคลั่ง สัปดาห์ละ 6 วัน วันละมากกว่า 12 ชั่วโมง บางคนทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่ได้พัก 

แต่แนวคิดของโอเวนกลับไม่ได้รับการยอมรับจากนายจ้าง เพราะเหล่านายจ้างมองว่าเสียผลประโยชน์และไม่ทันคู่แข่ง 

จนในวันที่ 1 พ.ค.2429 การประท้วงของสหภาพแรงงานกว่า 500,000 คน ที่จัตุรัสเฮย์มาเก็ต เมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ เรียกร้องให้กำหนดเพดานชั่วโมงทำงานเป็น วันละ 8 ชั่วโมง ถือเป็นการแสดงพลังของชนชั้นแรงงานที่มากที่สุดในขณะนั้น การประท้วงครั้งนั้นปิดฉากลงด้วย "กระสุนปืน" เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องยิงเพื่อยุติความโกลาหล 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

3 ปีต่อมาหลังจากการประท้วง ในปี 2432 สหพันธ์กลุ่มสังคมนิยมและสหภาพแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดให้ วันที่ 1 พ.ค. เป็นวันแรงงานสากล (May Day) เพื่อรำลึกถึงการจลาจลในตลาดเฮย์มาร์เก็ตในชิคาโก

ต่อมาวันแรงงานสากลมักถูกนำไปผูกติดกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มซ้ายจัด จน ปธน.สหรัฐฯ โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ต้องการให้มี "วันแรงงานสหรัฐฯ" จึงตัดสินใจเลือกวันจันทร์แรกของเดือน ก.ย. แทนวันที่ 1 พ.ค. เพราะไม่ต้องการยึดโยงถึงการเมือง

วันแรงงานสากลที่หลายประเทศทั่วโลกใช้คือ 1 พ.ค.
วันแรงงานของสหรัฐฯ และ แคนาดา คือ วันจันทร์แรกของเดือน ก.ย.
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งที่นับเป็นต้นแบบของหลักแรงงานสากลเกิดขึ้นเมื่อปี 2469 เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ จัดสรรเวลาทำงานให้แก่พนักงานเป็น วันละ 8 ชั่วโมง และทำงาน 5 วัน/สัปดาห์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตอบแทนพนักงาน เพื่อต้องการให้พนักงานได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ และจะได้มีกำลังใจในการทำงานวันถัดไป 

ช่วงแรกเขาได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบ เพราะหลายคนมองว่าเป็นผลเสียต่อบริษัท แต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น พนักงานมีกำลังใจมากขึ้น และสามารถทำผลงานได้ดี เพิ่มยอดขายให้บริษัทได้มาก จึงให้หลายบริษัทนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย จนรัฐบาลสหรัฐฯ ออก "กฏหมายคุ้มครองแรงงาน" ประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2481

กำหนดให้แรงงานทุกภาคส่วนทำงานวันละ 8 ชั่วโมง/วัน รวมเป็น 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หากทำงานเกินเวลาที่กำหนดต้องมีการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ส่วนในประเทศไทย "วันแรงงานแห่งชาติ" ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 2475 สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ แต่ถูกรับรองวันที่ 1 พ.ค. เป็นวันแรงงานแห่งชาติในปี 2500 เพื่อระลึกถึงแรงงานไทย 

อ่านข่าวอื่น :

ใครหยุดบ้าง "วันแรงงาน"

  • วันแรงงานแห่งชาติไม่เป็นวันหยุดราชการ หน่วยงานราชการยังคงเปิดทำงานและให้บริการตามปกติ

  • วันแรงงานแห่งชาติเป็นวันหยุดของสถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะปิดทำการ แต่ธนาคารสาขาที่เปิดทำการในห้างสรรพสินค้า อาจมีการเปิดทำการบ้าง

  • วันแรงงานแห่งชาติเป็นวันหยุดตามกฎหมายแรงงาน บริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจต่างๆ หรือนายจ้าง ต้องให้สิทธิแก่ลูกจ้างเพื่อหยุดงาน แต่หากในปีใดที่วันแรงงานแห่งชาติตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ลูกจ้างบริษัทจะได้รับสิทธิชดเชยวันหยุดในวันทำงานถัดไปแทน
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

โครงสร้างกำลังแรงงาน 2566

ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลโครงสร้างกำลังแรงงานปี 2566 พบว่าประเทศไทยมีประชากรวัยทำงาน (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป) ทั้งหมด 58.92 ล้านคน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ผู้กำลังอยู่ในกำลังแรงงาน 40.45 ล้านคน
    • ผู้มีงานทำ 39.91 ล้านคน
    • ผู้ว่างงาน 0.40 ล้านคน
    • ผู้รอฤดูกาล 0.14 ล้านคน
  2. ผู้อยู่นอกกำลังแรงงาน 18.47 ล้านคน
    • ทำงานบ้าน 5.09 ล้านคน
    • เรียนหนังสือ 4.55 ล้านคน
    • เด็ก/คนชรา/คนที่ไม่สามารถทำงานได้ 6.99 ล้านคน
    • อื่นๆ 1.85 ล้านคน
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อ่านข่าวอื่น :

"ไทยสไตล์" วัฒนธรรมสบายๆ 

"ไท" คือความเป็นอิสระ นิสัยที่เรียกว่าอยู่ใน DNA คือความเรียบง่าย สบายๆ หรือ "อะไรก็ได้" คนไทยไม่ชอบการถูกบังคับ ไม่ชอบการอยู่ในกฎระเบียบ เข้างานไม่ตรงเวลา อาจจะสายบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่กี่นาที แต่ถ้าจะสายเป็นชั่วโมงก็เลือกไม่มาเลยดีกว่า แล้วใช้สิทธิลาป่วยที่มีอยู่ตามกฎหมายชดเชยกันไป ประเด็นนี้ก็เป็นสิ่งที่ Surprise ชาวต่างชาติมากว่า ทำไมคนไมลาป่วยบ่อยจัง แถมยังไม่ถูกหักค่าแรงอีกด้วย 

คนไทยมักจะชอบทำตัวให้ดูยุ่งตลอดเวลา เสมือนกับว่ามีงานล้นมือ แต่อันที่จริงคือ คนไทยไม่ชอบทำอะไรให้เสร็จเร็วๆ เพราะกลัวว่าหากทำงานเสร็จไว ผู้ใหญ่ใจดีอาจมองเห็นศักยภาพแล้วเพิ่มงานให้อีก "กลัวเหนื่อย" ก็เลยเลือกขอทำงานแบบสบายๆ ไม่รีบร้อน แต่ก็ให้ดูยุ่งๆ วุ่นๆ เจ้านายจะได้เห็นว่ามีลูกน้องขยัน

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

เขียนมาซะขนาดนี้ อ่านแล้วเป็นใครก็คงตกใจ 

แต่สิ่งที่คนไทยกันเองมองว่าเป็นความเฉยชา ความไม่เอาไหน ความอะลุ่มอะหล่วย เออๆ อะไรก็ได้ แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง วัฒนธรรม "ไทยสไตล์" กลับเป็นเสน่ห์ เป็นสิ่งที่ขาดหายไปของชาติตะวันตก ที่เคร่งครัดกับกฎระเบียบการทำงาน 

เพราะความ "อะไรก็ได้" หรือความ "สบายๆ" ของนิสัยในการทำงานของคนไทย แต่แฝงด้วยยีนความจริงใจในเส้นสาย DNA จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ชาวต่างชาติอยากทำงานร่วมกับคนไทย และต้องในประเทศไทยด้วย จากสายตาคนต่างชาติหลายคนที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย เขาบอกว่า เพราะความ "ชิลเวอร์" ของคนไทยทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน อาจจะใช้เวลาทำงานที่นานขึ้น แต่สุดท้ายก็ได้ผลลัพธ์ตามต้องการและยังแฝงด้วยความละเอียดที่เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ดีของคนไทย 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด

แม้กระทั่งในแวดวงทหารที่ต้องใช้ความมีระเบียบวินัยสูง แต่ในหลายๆ สนามรบ "ทหารไทย" ก็เป็นที่รักของชาวบ้านหรือแม้กระทั่งทหารชาติอื่นๆ ที่ต้องเข้าร่วมรบด้วยกัน มีเรื่องเล่าในยุคที่ไทยส่งทหารไปเพื่อรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก สิ่งที่น่าตกใจและสร้างความประหลาดใจเป็นอย่างมากให้กับทหารสหรัฐฯ หรือชาติอื่นๆ ที่ร่วมรบคือ "ทหารไทยเข้าครัวคนติมอร์ได้"

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ในประเทศติมอร์ เป็นที่รู้กันว่า "ห้องครัว" ที่สิ่งที่คนติมอร์หวงยิ่งกว่าห้องนอน แต่ทหารไทยหลายนายกลับถูกเชิญเข้าไปในห้องครัวเพื่อสอนตำส้มตำให้คนติมอร์กิน สิ่งเหล่านี้ถูกมองออกมาว่า เพราะความสบายๆ ความจริงใจ ความเอื้อเฟื้อ ของคนไทยนี่เอง ที่เอาชนะใจคนพื้นถิ่นได้ และหลังจากนั้น การทหารต่างๆ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี 

หรือแม้ในยุคโซเชียลแบบนี้ ความชิลเวอร์ของทหารไทยก็ยังดังไกลไปทั่วโลก อย่างเช่น กรณีทหารไทย "ส.บอล ภูไท" ที่ทำคลิปสอน "เซบี้" เด็กชายชาวซูดานพูดภาษาอีสาน จนเป็นที่โด่งดังในโลกโซเชียล มีแฟนคลับติดตามจำนวนมาก 

แต่เมื่อถึงเวลาต้องจับอาวุธรบ ทหารไทยก็ทำได้ดีไม่แพ้ชาติใดเช่นกัน

อ่านข่าวอื่น :

เปลี่ยนวันที่แสนจะน่าเบื่อ ให้มีความหมาย

ยุคนี้จะมีคำศัพท์ในโลกการทำงานเพิ่มขึ้นอีกคำคือ "Burnout" หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน ต้องบอกว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดอะไร ทุกคน ทุกตำแหน่ง สามารถมีความรู้สึกอ่อนล้า เบื่อ เหนื่อย กับการทำงานได้ทั้งนั้น เพียงแต่ขอให้รู้ตัว ณ ขณะนั้นว่า กำลังเผชิญกับภาวะอะไรอยู่

เมื่อไฟในการทำงานดับลง ขอเพียงอย่าปล่อยให้มอดไป ค่อยๆ หาวิธีฮีลใจ เติมเชื้อไฟให้ไฟค่อยๆ ติดขึ้นมาก็พอแล้ว
  1. ตั้งเป้าหมายภาพรวมในชีวิต เพื่อให้มีแรงจูงใจกับงานตรงหน้า จะสร้างอนาคตที่ดีได้ ก็เริ่มจากงานปัจจุบันตรงหน้า
  2. หาแรงบันดาลใจ หาหนังสือ ฟังคลิปดีๆ หรือพูดคุยกับคนที่ทำให้รู้สึกดี มีพลังบวก
  3. ให้คะแนนตัวเองในทุกๆ วัน คะแนนก็เป็นเครื่องชี้วัดว่าวันนี้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน 
  4. ให้รางวัลตัวเอง ไม่ต้องถึงกับซื้อของแพงๆ หรือเสียเงินมากมายอะไร แค่กล่าวชมตัวเองกับความสำเร็จเล็กๆ ที่ทำได้ มันก็ที่สุดเลยเว้ยแก! 
  5. รักษาสุขภาพจิต นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายที่ต้องทำสม่ำเสมอแล้ว การหาเวลาว่าง พักใจเบาๆ ฮีลใจเล็กๆ ในแบบที่ตัวเองชอบ ก็ช่วยให้เราผ่อนคลายความเครียดลงไปได้บ้างแล้ว  
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง